เครียดลงกระเพาะ เกิดจากอะไร อันตรายไหม กินยาอะไรดี? (เข้าใจง่าย)

เครียดลงกระเพาะ เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายที่มีผลกระทบมาจากความเครียด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดปกติทางกระเพาะอาหาร โดยมีกลไกการทำงานของร่างกายดังนี้

เมื่อเกิดภาวะความเครียดขึ้น (stress hormones) จะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย การไหลเวียนของเลือดที่บริเวณกระเพาะอาหารจะถูกลดปริมาณลง ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารลดการใช้งานลงชั่วคราว เมื่อระบบย่อยอาหารผิดปกติ จึงทำให้แบคทีเรียในลำไส้ถูกทำลายลง ก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด และกรดไหลย้อน เป็นต้น

มักพบบ่อยในกลุ่มเสี่ยง ดังต่อไปนี้

  • กลุ่มเสี่ยงของโรคเครียดลงกระเพาะ จะมีช่วงอายุ 18-35 ปี 
  • กลุ่มคนวัยมหาลัย
  • กลุ่มคนวัยทำงาน
  • กลุ่มคนวัยสร้างครอบครัว
  • มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

อาการของเครียดลงกระเพาะ

อาการที่มักพบบ่อยในภาวะเครียดลงกระเพาะอาหาร หรือโรคลำไส้แปรปรวน มีดังต่อไปนี้

  • อาการปวดบริเวณลิ้นปี่ และมีอาการท้องอืด มวนท้องร่วมด้วย
  • อาการแน่นท้อง
  • อาการเรอ 
  • อาการคลื่นไส้หลังรับประทานอาหาร เนื่องจากกระเพาะอาหารเป็นแผล
  • อาการท้องผูก
  • อาการท้องเสีย
  • ขับถ่ายผิดปกติเกิน 3 ครั้ง หรือ เวลาขับถ่ายออกมา อุจจาระมีเลือดปะปน
  • มีไข้
  • มีน้ำหนักลดลงผิดปกติ
  • อาการนอนหลับกระสับกระส่าย ตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง หรือมีอาการนอนไม่หลับ
  • อาการปวดท้องเรื้อรังนานกว่า 1 ปี

ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย

  • ผู้ป่วยบางงรายอาจมีเลือดออกจากระเพาะอาหาร หรือ อาเจียนปนเลือด
  • ปวดท้องช่วงบนอย่างรุนแรง หน้าท้องตึง เมื่อลองกดแล้วจะเจ็บมาก
  • หากลองกดบริเวณท้องช่วงบนจะมีอาการเจ็บอย่างเห็นได้ชัด มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง รวมทั้งหน้าท้องตึง
  • ผู้ป่วยทานอาหารได้น้อยลง อิ่มเร็ว หรือ มีอาการอาเจียนหลังมื้ออาหาร ร่วมกับอาการเบื่ออาหาร

สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง เครียดลงกระเพาะ

ความเครียด (Stress) เป็นภาวะของความรู้สึก และอารมณ์ที่เกิดจากการกระทบจากสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น สถานการณ์การถูกกดดัน การบีบคั้น บีบบังคับ หรือสถานะการณ์กดดันจากเพื่อนร่วมงาน และผู้ป่วยไม่ได้ระบายออกมา เก็บไว้คนเดียวจนทำให้จิตใจป่วย ส่งผลให้ร่างกายย่ำแย่ในระยะเวลาต่อมา บางรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีภาวะอารมณ์ที่ฝังลึกลงไปในจิตใจจนเกิดอาการหูแว่ว ประสาทหลอนได้ 

ความเครียดจึงเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดภาวะเครียดลงกระเพาะ เนื่องจากความเครียดได้ก่อให้เกิดสารที่มีผลต่อการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการ เช่น ปวดท้อง ท้องอืด มวนท้อง แน่นท้อง เรอบ่อย เรอเปรี้ยว คลื่นไส้ ท้องเสีย และท้องผูก เป็นต้น 

เครียดลงกระเพาะเป็นกี่วัน

โรคเครียดลงกระเพาะอาหารจะมีอาการปวดเป็นระยะ ๆ ภายหลังเมื่อได้รับประทานยารักษาตามอาการแล้วอาการปวดท้องจะหายประมาณ 3 – 7 วัน การรักษาโรคเครียดลงกระเพาะอาหารต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องโดยใช้ระยะเวลาในการรักษาโรคเครียดลงกระเพาะอาหาร ประมาณ 4 – 8 สัปดาห์ จึงจะหายขาด

กินอะไรแก้…เมื่อเครียดลงกระเพาะอาหาร

เมื่อเกิดภาวะความตึงเครียดในร่างกาย ระบบย่อยอาหารในร่างกายจะหยุดชะลอการดูดซึมลงชั่วคราว ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การเลือกบริโภคอาหาร และเครื่องดื่ม มีข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด เช่นต้มยำกุ้ง ต้มยำปลา หมูมะนาว กุ้งแช่น้ำปลา
  • หลีกเลี่ยงของทอด ของมัน เช่น ปอเปี๊ยะทอด ทอดมันกุ้ง ทอดมันปลา เผือกทอด เต้าหู้ทอด
  • หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง เช่น แหนม มะม่วงดอง ฝรั่งดอง
  • หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีน้ำตาลมาก
  • ควรบริโภคอาหารอ่อน อาหารย่อยง่าย รสจืด เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก 
  • งดเครื่องดื่ม น้ำอัดลม และกาแฟ
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • ควรบริโภคอาหารให้ตรงต่อเวลาทุกมื้อ
  • ควรบริโภคอาหารให้ครบทั้งสามมื้อ เช้า กลางวัน เย็น

วิธีแก้ วิธีรักษาเครียดลงกระเพาะ

ความเครียดลงกระเพาะสามารถรักษาได้โดยการใช้สมุนไพรเข้าช่วย โดยสมุนไพรส่วนมากที่ใช้กันมักเป็นใบชา มีดังต่อไปนี้

  • ชากุหลาบ
  • ชามะลิ
  • ชาดอกคาโมมายล์
  • ชาดอกลาเวนเดอร์

ชาเหล่านี้มีสรรพคุณช่วยลดความเครียดจากกการทำงาน ความเคร่งเครียดจากการเรียน ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น คลายความเครียด แก้อาการซึมเศร้าได้ดี ช่วยลดความแปรปรวนทางด้านอารมณ์ และชาเหล่านี้ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย ชากุหลาบช่วยระบบขับถ่ายให้ขับถ่ายของเสียได้ดี ชามะลิมีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง บรรเทาอาการเสียดท้อง และอาการท้องเสีย เป็นต้น

กลุ่มยารักษาเครียดลงกระเพาะ

เมื่อเกิดความเครียดขึ้น สามารถรับประทานยาตามอาการได้ ดังต่อไปนี้

กรณีอาการปวดท้อง 

  • ยาเคลือบกระเพาะอาหาร
  • ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • ยาลดอาการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อในกระเพาะอาหาร

กรณีอาการท้องเสีย

  • ยาแก้ท้องเสีย
  • เกลือแร่
  • ยาดูดซึมธาตุคาร์บอน

วิธีการจัดการกับความเครียด

  1. การรู้จักปล่อยวางโดยใช้ธรรมะเข้าช่วย

การใช้หลักธรรมะเข้าช่วยส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเครียดลงกระเพาะ ผ่อนคลายในภาวะอารมณ์จากสถานการณ์ตึงเครียดที่กำลังเผชิญอยู่ ผู้ป่วยจะรู้จักการปล่อยวางได้มากขึ้น เนื่องจากไม่มีใครในโลกนี้ไม่เผชิญกับความสูญเสีย ความเครียดจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ควรกำจัดออกไป เพื่อไม่ให้ทำร้ายร่างกายของเรา การรู้จักปล่อยวางจะช่วยให้เราคลายความวิตกกังวลลงได้ เมื่อจิตใจมีสภาวะอารมณ์ดีขึ้น ร่างกายของผู้ป่วยจะดีขึ้นตามด้วย 

  1. การหาที่ปรึกษา หรือที่ระบายในการรับฟัง

การหาที่ปรึกษา หรือที่ระบายในการรับฟัง เป็นวิธีการบำบัดอย่างหนึ่ง เมื่อเราได้เล่าหรือระบายอะไรออกไป คนที่มารับฟังจะรับรู้ปัญหาของเรา และอาจได้รับคำแนะนำ ข้อคิดเห็น หรือวิธีการปรับตัว ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหานั้นต่อไปได้

  1. การผ่อนคลายอารมณ์ผ่านการทำกิจกรรมอื่น ๆ 

วิธีการนี้เป็นการทำให้สมองของเราคิดเรื่องอื่นบ้าง ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างแล้ว การผ่อนคลายอารมณ์เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง  การผ่อนคลายอารมณ์สามารถบำบัดได้ ผ่านการทำกิจกรรมอื่น เช่น ไหว้พระ ทำบุญ สวดมนต์ ฟังเพลง อ่านหนังสือ วาดรูป และท่องเที่ยว

การออกกำลังกายในผู้ป่วยเครียดลงกระเพาะอาหาร

ในขณะที่งานวิจัยของกิตติพงษ์ คงสมบูรณ์ ของคณะแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระบุว่า การออกกำลังกายด้วยวิธีการเต้นแอโรบิคมีความสัมพันธ์กับสภาวะความเครียด ซึ่งเมื่อมีการออกกำลังกายจะมีการหลั่งสารเอนโดฟินออกมาช่วยเพิ่มอารมณ์บวก และลดอารมณ์ด้านลบ อย่างอารมณ์เศร้า หดหู่ และภาวะความเครียดได้โดย

การออกกำลังกายอย่างน้อยในเวลา 30 – 45 นาทีจะช่วยทำให้ลดภาวะความเครียดลงได้

กิจกรรมการออกกำลังกายในผู้ป่วยเครียดลงกระเพาะ ดังต่อไปนี้

  • เต้นแอโรบิค
  • เต้นโคฟเวอร์
  • เต้นคาร์ดิโอ
  • โยคะ
  • ไทเก๊ก
  • มวยไทย
  • ว่ายน้ำ
  • วอลเลย์บอล
  • บาสเกตบอล
  • ฟุตบอล
  • เต้นลีลาศ
  • เต้นบัลเล่ต์
  • เล่นปิงปอง
  • ตีแบตมินตัน
  • เปตอง
  • ยูโด
  • เทควันโด
  • ตีเทนนิส

การจัดตารางเวลา

การจัดตารางเวลา คือการแบ่งเวลาให้ถูก โดยเริ่มจากการแบ่งตารางเวลางานออกมาให้เรียบร้อย โดยคำนึงถึงความสำคัญหน้าและหลังว่างานไหนด่วน งานไหนไม่ด่วน งานไหนไม่เร่ง ในการวางแผนจะต้องวางแผนให้เป็นสัดส่วน ไม่ว่าจะดึงกฎอะไรมาใช้ก็ตาม การแบ่งเวลาควรมีช่วงเวลาสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • ช่วงเวลาในการทำงาน

ในการจัดตารางงานในระยะเวลา 24 ชั่วโมง เราจะทำงาน 8 ชั่วโมงภายใน 8 ชั่วโมงระยะเวลา ขั้นตอนในการทำงาน

เป็นอย่างไร จัดเรียงลำดับความสำคัญในเนื้องานแต่ละงานที่ได้รับมอบหมายให้ได้ แล้วจึงนำมาทำตารางเวลาลงในกระดาษระบุว่าช่วงเวลาประมาณนี้ เราควรจะทำอะไร แล้วทำเป็นช่องสำหรับเขียนว่าเราได้ทำหรือไม่ได้ทำ

  • ช่วงเวลาในการพักเบรก

ในการจัดตารางเวลาทุกครั้งเราจะต้องมีช่วงพักเบรกให้ร่างกายพักประมาณ 1 ชั่วโมง หรือ 2 ชั่วโมงก็ได้ เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวปรับสมดุลได้ดี และพักเบรกตนเองจากความเหนื่อยล้า

นอนหลับให้เต็มอิ่มช่วยลดเครียดลงกระเพาะได้

การนอนหลับให้เพียงพอสามารถช่วยลดระดับความเครียดลงได้ ความเครียดและการนอนนั้นสัมพันธ์กัน หากมีภาวะเครียดมากขึ้นและพักผ่อนน้อยลง จะทำให้ระดับความเครียดยิ่งเพิ่มมากขึ้น และทำให้เราอดทนต่อความเครียดได้น้อยลง ดังนั้นควรหาเวลางีบพักผ่อนร่างกายในระหว่างวันประมาณ 10-15 นาที เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุด

พบแพทย์เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนหากผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนมีอาการเลือดออกจากกระเพาะอาหาร อาเจียนเป็นเลือดร่วมด้วย ปวดท้องช่วงบนอย่างรุนแรง หน้าท้องตึงมากเวลากดแล้วเจ็บ ผู้ป่วยเครียดลงกระเพาะรับประทานอาหารได้น้อย มีอาการอิ่มเร็ว อาเจียนหลังมื้ออาหาร หรือมีอาการร่วมกับเบื่ออาหาร หามีอาการควรรีบไปพบแพทย์ทันที เมื่อเริ่มสงสัยว่าเกิดภาวะแทรกซ้อนกับร่างกาย

ที่มา

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top