โรคไข้หวัดใหญ่ อาการไข้หวัดใหญ่ โรคติดต่อที่ต้องป้องกันด้วยวัคซีน

โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Influenza โดยเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายจากมนุษย์สู่มนุษย์ผ่านการไอ จาม หรือการสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อไวรัส โรคไข้หวัดใหญ่สามารถพบได้ตลอดทั้งปี มักระบาดในช่วงฤดูหนาว และฤดูฝน ซึ่งเอื้อต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส หรือในสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงฉับพลันทันที

การติดต่อของโรคไข้หวัดใหญ่

การติดต่อของโรคไข้หวัดใหญ่จะสามารถเกิดได้ผ่านคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งด้วยการหายใจเอาเชื้อไวรัสในละอองน้ำมูก น้ำลายเข้าไปเยื่อบุโพรงจมูกและปาก โดยสามารถติดต่อกันได้ง่ายในสถานที่แออัด หรือพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ซึ่งเชื้อโรคไวรัสจะแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้มากในช่วงระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน

อาการ ไข้หวัดใหญ่

ส่วนมากอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ มีดังต่อไปนี้

  • มีอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว
  • มีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เฉพาะที่หลัง ต้นแขน ต้นขา
  • มีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลียได้ง่าย
  • มีอาการเบื่ออาหาร
  • มีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกใส อาการไอแห้ง
  • โรคไข้หวัดใหญ่ในเด็กอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงได้

ไข้หวัดใหญ่สามารถรักษาได้ ส่วนมากมักเป็นการรักษาตามอาการ แต่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการรุนแรง แพทย์จะพิจารณาให้รับประทานยาต้านไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ ยาต้านไวรัสมีชื่อว่า ยาโอลเซลทามิเวียร์

ไข้หวัดใหญ่แบ่งเป็นกี่สายพันธุ์

องค์การอนามัยโลก WHO ได้ประกาศให้โรคไข้หวัดใหญ่แบ่งได้ 4 สายพันธุ์ ดังต่อไปนี้

  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A / H1N1 
  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/  H3N2
  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Victoria
  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata

วิธีรักษาโรคไข้หวัดใหญ่

วิธีการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สามารถรักษาผู้ป่วยได้โดยใช้ยาโอลเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) หรือยา Tamiflu ควรใช้ยากลุ่มนี้รักษาอาการไข้หวัดใหญ่ภายใน 2 วันแรก ที่ตรวจพบโรคไข้หวัดใหญ่ 

วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่สามารถแบ่งแยกออกได้ตามสายพันธุ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ได้ ดังต่อไปนี้

การฉีดวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1 หรือวัคซีน “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” รักษาโดยการใช้ยาต้าน “โอเซลตามิเวียร์”
  • วัคซีนไข้หวัดสายพันธุ์ A/H3N2 หรือวัคซีน “ไข้หวัดหมู”  
  • วัคซีนไข้หวัดสายพันธุ์ B Corolado ตระกูล Victoria
  • วัคซีนไข้หวัดสายพันธุ์ B Phuket ตระกูล Yamagata

ในวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่มีเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่ตายแล้วเป็นองค์ประกอบ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายผ่านการฉีดเข้าสู่ร่างกาย โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ถึงระยะเวลา 1 เดือน ควรฉีดวัคซีนปีละ 1 ครั้งในช่วงก่อนฤดูฝน

ใครควรได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  • ผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 19 – 64 ปีอยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจ โรคหอบหืด หรือ โรคถุงลมโป่งพอง
  • ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งจากโรคเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน โรคไต หรือ โรคเลือด
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือเป็นผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

มักเป็นอาการที่เกิดเฉพาะบริเวณที่ฉีด จะมีอาการปวด ลักษณะบวมแดง หรือมีตุ่มนูนขึ้นตามบริเวณที่ฉีดวัคซีน และมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดดข้อ ร่วมด้วย ซึ่งอาการจะมีภายในระยะเวลา 6-12 ชั่วโมง หรืออาจนานประมาณ 1-2 วัน โดยไม่ต้องรับการรักษา 

ข้อควรปฏิบัติก่อนฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  • หากมีอาการป่วย หรือมีอาการไข้สูงควรงดการฉีดวัคซีน
  • ก่อนการรับวัคซีนทุกครั้งควรมีการจดบันทึก 
  • หากมีอาการแพ้อาหารและยา หรือมีโรคประจำตัวต้องแจ้งแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน
  • หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้ในผู้ที่มีประวัติการแพ้โปรตีนจากไข่
  • หากมีอาการไข้ หรือเป็นโรคอื่นเฉียบพลันควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน
  • หากมีอาการเจ็บป่วยจากโรค Neurologic Disorders ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
  • หากผู้ป่วยมีประวัติ Guillain Barre Syndrome (GBS) ควรงดฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
  • งดฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จากกรรมพันธุ์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือกำลังทำการรักษาโรคด้วยสารกดภูมิคุ้มกันเนื่องจากอาจทำให้ไม่ได้ Antibody response 
  • หากเป็นสตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะในระยะเวลาประมาณ 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์

ข้อควรปฏิบัติหลังฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  • หลังจากการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะมีอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีดวัคซีน หากมีอาการมากควรรับประทานยาแก้ปวด 
  • ควรใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบ
  • กรณีเกิดตุ่มหนองหลังจกาได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรดูแลโดยการใช้สำลีสะอาดชุบน้ำต้มสุกเช็ดทำความสะอาด งดการบ่มหนอง
  • หากมีอาการไข้ ไม่สบายตัว ควรรับประทานยาแก้ไข้หลังจากได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 

ยารักษาอาการไข้หวัดใหญ่

กลุ่มยารักษาอาการโรคไข้หวัดใหญ่ มีดังต่อไปนี้

  • ยาลดอาการคัดจมูก ใช้สำหรับบรรเทาอาการบวมของหลอดเลือดในจมูก บรรเทาอาการคัดจมูก และลดอาการน้ำมูกไหล
  • ยาต้านฮิสตามีน เป็นยามีฤทธิ์ลดสารฮิสตามีนที่จะก่อให้เกิดการอักเสบและอาการแพ้ ใช้เพื่อรักษาอาการจาม อาการคันจมูก หรือมีน้ำตาไหล
  • ยาแก้ไอและกำจัดเสมหะ อาการไอที่เกิดจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ส่งผลให้มีเสมหะร่วมด้วย ควรใช้ยากลุ่มขับเสมหะที่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเสมหะมากขึ้น และไปกระตุ้นให้ไอเพื่อให้ร่างกายขับเสมหะออกมาจากร่างกายได้ง่ายขึ้น โดยเมื่อเสมหะถูกขับออกมาแล้วส่งผลให้อาการไอลดลง บางกรณีอาจใช้กลุ่มยาละลายเสมหะรับประทานร่วมด้วย
  • ยาต้านไวรัส มักใช้ยาโอเซลทามิเวียร์และยาซานามิเวียร์ ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ยับยั้งการกระจายตัวของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ A และ B ภายในร่างกาย โดยสามารถใช้ในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย และเสี่ยงต่อการติดเชื้อในไวรัสของโรคไข้หวัดใหญ่ในสายพันธุ์ที่รุนแรงขึ้น ซึ่งแพทย์จะจ่ายยาต้านไวรัสสำหรับรับประทานประมาณ 5 วัน และยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์สามารถใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป กรณีต้องใช้ยาซานามิเวียร์แพทย์จะใช้ในการรักษาผู้ป่วยอายุ 7 ปีขึ้นไป ควรใช้ยากลุ่มนี้ตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • กลุ่มยาปฏิชีวนะ ยาประเภทนี้จะไม่มีผลต่อการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่โดยตรง แต่แพทย์จะแนะนำให้ใช้เพื่อรักษาภาวะแทรกซ้อนอย่างปอดอักเสบจากเชื้อราที่อาจเกิดขึ้นร่วมด้วย

ไข้หวัดใหญ่กี่วันถึงจะหาย

หากมีอาการป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ในระยะเวลานานจะมีอาการไอทีเกิดขึ้นจากหลอดลมอักเสบ (post viral bronchitis) โดยอาการจะรุนแรงและป่วยได้ในระยะเวลายาวนานกว่าไข้หวัดธรรมดา (common cold) แต่ในโรคไข้หวัดใหญ่ธรรมดา ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักหายเป็นปกติภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ แต่มีบางรายที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากมีอาการของภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญเช่น ปอดบวม ซึ่งอาจนำมาสู่ภาวะการเสียชีวิตได้

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต 

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
  • เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี
  • ผู้ป่วยทีป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน และภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • เด็กที่ได้รับการรักษาด้วยยาแอสไพรินในระยะเวลายาวนาน
  • หญิงตั้งครรภ์ในช่วงระยะที่ 2 และ 3 ในฤดูกาลที่มีไข้หวัดใหญ่สูง

บทสรุป 

หลังจากการระบาดของโรคโควิด-19 อาการของโรคไข้หวัดใหญ่และโรคโควิด-19 มีอาการใกล้เคียงกันมาก แต่โรคไข้หวัดใหญ่จะไม่มีอาการไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แต่โรคโควิด-19 จะไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนแสดงออกมา ซึ่งอาการของโรคโควิดจะแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 48 ชั่วโมงก่อนมีอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีไข้ และเบี่ออาหารตามมา

ภายหลังจากการได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หากพบอาการข้างเคียงรุนแรง ซึ่งการใช้ยาต้านไวรัสอาจจะส่งผลข้างเคียงตามมาได้ อาทิ อาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการวิงเวียน ปวดศีรษะ อาการคัดจมูก อาการน้ำมูกไหล ไอ และอาการท้องร่วง เป็นต้น หากมีอาการรุนแรงควรรีบไปแจ้งพบแพทย์และเข้ารับการรักษาในขั้นตอนต่อไปทันที

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top