ยาแก้อักเสบ หรือ ยาต้านการอักเสบ ช่วยอะไร ยี่ห้อไหนดี ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง?

ยาแก้อักเสบ หรือ ยาต้านการอักเสบ เป็นตัวช่วยในการลดและบรรเทาอาการอักเสบ รวมถึงอาการปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกายดังที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ โดยยาแก้อักเสบ ในทางการแพทย์มีชื่อเรียกว่า Nonsteroidal antiinflammatory drugs หรือ NSAIDs ซึ่งก็คือยาต้านการอักเสบที่ไม่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ มีฤทธิ์ในการต้านอาการอักเสบ ช่วยระงับอาการปวด และยังสามารถช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายจึงมีผลในการลดไข้ได้ด้วย 

โดยตัวยาในกลุ่ม NSAIDs จะไปยับยั้งอาการเจ็บปวดด้วยการขัดขวางการสังเคราะห์โพรสตาแกลนดิน (prostaglandins) ซึ่งเป็นสารประกอบหนึ่งในไขมัน มีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมน โดยเนื้อเยื่อในร่างกายจะทำการสร้างขึ้นมาเมื่อเนื้อเยื่อเกิดอาการเจ็บปวดหรือติดเชื้อ ซึ่งตัวยา NSAIDs จะหยุดการเกิดสารโพรสตาแกลนดินผ่านทางการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclooxygenase (COX) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ปวด บวบ กับเนื้อเยื่อต่างๆ โดย เอนไซม์ COX แบ่งได้เป็น 2 ประเภทในทางชีวเคมี (isoform) คือ constitutional isoform (COX-1) ที่เกี่ยวข้องกับทางสรีรวิทยาในร่างกายของเรา ส่วนอีกประเภทคือ inducible isoform (COX-2) ที่จะถูกสร้างขึ้นในภาวะที่เนื้อเยื่อในร่างกายเกิดการอักเสบหรือมีการติดเชื้อเกิดขึ้น

ซึ่งการให้ยา NSAIDs นั้น จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของทั้ง เอนไซม์ COX-1 และ COX-2 ซึ่งทำให้การใช้ยาชนิดนี้อาจส่งผลต่อเรื่องของภาวะสรีรวิทยาของร่างกายของเรา ซึ่งก็คือการทำงานของระบบทางเดินอาหาร การทำงานของเกร็ดเลือด และ ไต ทำให้มีการผลิตยา NSAIDs ที่มีผลเฉพาะเจาะจงกับ เอนไซม์ COX-2 ซึ่งมีชื่อเรียกว่า COX-2 inhibitors โดยตัวยาจะไม่ไปรบกวนการทำงานของโพรสตาแกลนดินปกติ ช่วยลดการเกิดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของยาให้น้อยลง

ชนิดของยาแก้อักเสบ NSAIDs ที่มีผลยับยั้งการทำงาน เอนไซม์ COX-2

ยา COX-2 inhibitors สามารถจำแนกย่อยได้เป็น 2 ชนิด คือ Selective COX-2 inhibitors และ Specific COX-2 inhibitors

  • Selective COX-2 inhibitors 

หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า preferential COX-2 inhibitors เป็นยาในกลุ่ม NSAIDs ที่มี ประสิทธิภาพในการยับยั้ง เอนไซม์ COX-2 ได้ดีกว่า COX-1 ประมาณ 1 ถึง 100 เท่า ซึ่ง ยา Selective COX-2 inhibitors ก็มีอย่างเช่น มีล็อคซิแคม (meloxicam) ที่นิยมใช้ในการ ลดการอักเสบ และอาการปวดที่ข้อและกล้ามเนื้อ อาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อม โรค ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ฯลฯ และ นิมีซูไลด์ (nimesulide) ที่มีผลในการบรรเทาอาการปวด ชนิดเฉียบพลัน ทั้ง ปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดประจำเดือน และอาการปวดหลังการผ่าตัด โดยชื่อทางการค้าของยา meloxicam มีอย่างเช่น Movalis, Melox และ Recoxa ส่วนชื่อ ทางการค้าของ nimesulide มีอย่างเช่น nido และ nimesil 

  • Specific COX-2 inhibitors

ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ เอนไซม์ COX-2 ด้วยความเฉพาะเจาะจงสูงและมีค่าความ แตกต่างระหว่างความสามารถในการยับยั้ง COX-2 และ COX-1 มากกว่า 100 เท่า ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ เซเลค็อกซิบ (celecoxib), โรฟีค็อกซิบ (rofecoxib), พาเรค็อก ซิบ (parecoxib), วาลเดค็อกซิบ (valdecoxib) และ เอทอริค็อกซิบ (etoricoxib) เป็นต้น ซึ่งยาในกลุ่ม Specific COX-2 inhibitors น่าจะเป็นกลุ่มยาที่มี ผลข้างเคียงจากการ ใช้ น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับยาในกลุ่ม NSAIDs ชนิดอื่นๆ โดยใน สหรัฐอเมริกาที่ให้ การรับรอง ตัวยา celecoxib เป็นตัวแรกโดยองค์การอาหารและยา ได้ นำยาดังกล่าวไปใช้ในการ ยับยั้งอาการปวดของผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมและข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยมีผลการรักษาที่น่า พอใจต่อเนื่องตลอด 24 สัปดาห์ที่มีการทำการศึกษาทดลองทางคลินิก โดยพบอาการ แทรกซ้อนต่อระบบทางเดินอาหารน้อยมาก โดยชื่อทางการค้าของยาในกลุ่มนี้มีอย่างเช่น Celebrex, Vioxx, Arcoxia, Zobrex, Painex เป็นต้น

นอกจาก Selective COX-2 inhibitors และ Specific COX-2 inhibitors ยังมียาในกลุ่ม NSAIDs อีก 1 ชนิด ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีผลเฉพาะเจาะจงกับ เอนไซม์ COX-2 เท่านั้น แต่มีผลกับ เอนไซม์ COX-1 ด้วยเช่นกัน โดยยาในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า Traditional หรือ Classical NSAIDs ซึ่งการใช้งานในกลุ่มนี้เพื่อบรรเทายับยั้งอาการปวด อาจส่งผลให้ผู้ใช้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ aspirin, ibuprofen, naproxen, diclofenac, ketoprofen, indomethacin, tenoxicam, flurbiprofen เป็นต้น

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการให้งาน NSAIDs

  • ผลต่อระบบทางเดินอาหาร

อาการต่อระบบทางเดินอาหาร เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการใช้ยา NSAIDs โดยเฉพาะกับผู้ใช้ยาในกลุ่ม Traditional NSAIDs มีข้อมูลว่าหากผู้ป่วยได้รับยารักษา อาการอักเสบ Traditional NSAIDs ติดต่อกันนานมากกว่า 4 สัปดาห์ขึ้นไป จะส่งผลให้มี โอกาสเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ประมาณร้อยละ 15-30 ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของยา ที่ใช้ด้วยเช่นกัน

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ยา NSAIDs ส่งผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารเกิดจาก ยาใน กลุ่ม NSAIDs ส่วนใหญ่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ นอกจากนี้การที่ยา NSAIDs มีผลยับยั้งการ ทำงานของ เอนไซม์ COX-1 ทำให้มีการลดลงของการหลั่ง mucas gel ซึ่งก็คือน้ำเมือกที่ ทำหน้าที่เป็นสารเคลือบกระเพาะ ลดความสามารถในการต้านกรดในกระเพาะอาหาร และการใช้ยา NSAIDs โดยเฉพาะในกลุ่ม Traditional NSAIDs จะลดการทำงานของ เกร็ดเลือดทำให้เกิดภาวะแข็งตัวของเลือดบกพร่อง ส่งผลอาจเกิดเลือดออกในระบบ ทางเดินอาหาร

  • ผลต่อตับ

ยา NSAIDs ทุกกลุ่มมีฤทธิ์ทำลายเซลล์เนื้อเยื่อของตับ และอาจทำให้เกิดโรค คอเลสเตซิส (cholestasis) ซึ่งเป็นภาวะที่ทางเดินท่อน้ำดีตีบหรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่อ ร่างกายของเรา อย่างเช่น อาการคันอย่างรุนแรง ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดท้อง อาเจียน บางรายอาจไม่มีอาการผิดปกติตามที่กล่าวมาแต่จะมีค่าเอนไซม์ของตับสูงขึ้น ต่อเมื่อ หยุดใช้ยาหรือลดขนาดยาที่ใช้ลง ค่าเอนไซม์ในตับจะกลับสู่ภาวะปกติ โดยผู้ที่มีความ เสี่ยงจากการใช้ยา NSAIDs ที่ส่งผลต่อตับ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุมาก ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็น โรคตับอักเสบ ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง และผู้ที่ใช้ยา NSAIDs ในปริมาณสูงและต่อเนื่อง เป็นเวลานาน

  • ผลต่อไต

โพรสตาแกลนดิน ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นจาก เอนไซม์ COX-1 ที่ไต มีหน้าที่ขยายหลอดเลือด ที่ไต ช่วยในการขับน้ำและเกลือโซเดียมออกจากร่างกาย ซึ่งยา NSAIDs จะเข้าไปลดการ สร้างโพรสตาแกลนดิน จากการยับยั้งการทำงานของ COX-1 ในไต ส่งผลให้ประสิทธิภาพ ใน การทำงานของไตลอดลง เกิดการคั่งและการอุดตันของน้ำและเกลือโซเดียม ซึ่งอาจ ส่งผล เสียต่อการทำงานของไต อาจรุนแรงถึงขั้นไตวาย ยิ่งผู้ที่มีอาการป่วยด้วยโรคไตอยู่ แล้วยิ่งเพิ่มความเสี่ยงจากการใช้ยา NSAIDs

  • ผลต่อความดันโลหิต

ยา NSAIDs ส่งผลยับยั้งการสังเคราะห์โพรสตาแกลนดินในไต ที่มีผลต่อการขับน้ำและ เกลือโซเดียม ซึ่งส่งผลต่อไปที่ความดันโลหิต และยังมีผลต่อประสิทธิ์ภาพการทำงาน ของ ยาลดความดันโลหิต ในผู้ที่ทานยาทั้ง 2 ชนิดควบคู่กัน

ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้อักเสบ

1.ควรเลือกใช้ยากับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

2.ไม่ควรใช้ยานี้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน ผู้หญิงตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร และผู้ที่วางแผนว่าจะมีบุตร รวมทั้งผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี 

3.ไม่ควรใช้ยากับผู้ที่มีประวัติเป็นแผลหรือโรคแทรกซ้อนจากแผลในกระเพาะอาหาร

4.ไม่ควรใช้ยากับผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคตับ และ โรคไต

5.ไม่ใข้ยากลุ่ม NSAIDs ร่วมกันมากกว่า 1 ชนิด หรือในปริมาณที่สูงเกินไป

6.ไม่ใช้ยากลุ่ม NSAIDs ร่วมกับ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) ซึ่งเป็นยาแก้ อักเสบในกลุ่มสเตียรอยด์

7.ไม่ใช้ยากลุ่ม NSAIDS ร่วมกับยา แอสไพริน (aspirin) เพราะเสี่ยงต่อการเกิด ผลข้างเคียง

8.ไม่ควรหาซื้อยาแก้อักเสบ NSAIDs มารับประทานเอง ควรรับประทานยาตามคำแนะนำ ของแพทย์และในปริมาณที่แพทย์สั่งเท่านั้น

อ้างอิง

https://www.tci-thaijo.org › jmhs › article › viewFile

https://www.takeda.com/siteassets/media/th-th/gi/e-publication/pdf/pdf-ct-8.pdf

https://vet.kku.ac.th/journal/jy1_17/11_2/7%20p44-51.pdf

https://www.doctorraksa.com/th-TH/blog/non-steroidal-anti-inflammatory-drugs.html

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top