ดัชนีมวลกาย หรือ ค่า bmi (ย่อมาจาก Body Mass Index) คือ ค่าความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับส่วนสูงทั้งชายและหญิง ใช้สำหรับการประเมินภาวะต่างๆของร่างกาย เช่น ผอม ปกติหรือสมส่วน อ้วน เป็นต้น โดยค่าต่างๆเหล่านี้สามารถช่วยในเรื่องของการบ่งบอกถึงภาวะโรคอ้วนเบื้องต้นได้ ซึ่งองค์กรอนามัยโลกใช้ BMI เป็นค่าบ่งชี้แบบประเมินภาวะสุขภาพและความเสี่ยงของการเกิดโรค โดยมีเกณฑ์ที่ใช้แตกต่างกันตามชนชาติ
คำนวณ ดัชนีมวลกาย หรือ ค่า BMI (Body Mass Index)
วิธีคิดหรือวิธีคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI: Body Mass Index)
ใช้สูตร น้ำหนักตัว หน่วยเป็น กิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง หรือสามารถดูได้จากสูตรด้านล่างนี้ได้เลย
คนในแถบอเมริกาหรือยุโรปใช้ค่า BMI เกินเกณฑ์ใช้จุดตัด > 25.00 ส่วนคนเอเชียใช้จุดตัดที่ > 23.00 เป็นเกณฑ์
ค่า BMI ไม่เพียงพอสำหรับการบ่งชี้สัดส่วนสมรรถนะของร่างกาย
ลิล่า แล๊กโซ (2017) ได้อธิบายว่าค่า bmi นั้นยังมีข้อจำกัดในการใช้สำหรับคนบางกลุ่ม ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
- ไม่สามารถแยกกล้ามเนื้อกับไขมันได้ กล้ามเนื้อมีน้ำหนักมากกว่าไขมัน เมื่อมวลเท่ากันนักกีฬาจำนวนมากจะมีค่า BMI ที่เป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และในหลายงานวิจัยในต่างประเทศพบว่า นักกีฬาจะมีกล้ามเนื้อและมวลกระดูกมาก คือ Lean body mass สูง ทำให้มีน้ำหนักตัวมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นนักกีฬา
- มีรากฐานจากการคำนวนเพียง 2 ค่า คือจากส่วนสูงและน้ำหนัก ซึ่งความเป็นจริงแล้วรูปร่างของคนนั้นจะต้องมีความหนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
- ไม่สามารถบ่งชี้ถึงไขมันสะสมต่างๆในร่างกายได้ ไขมันในตำแหน่งต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) เป็นปัจจัยสำคัญของการประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน หรือภาวะพร่องอินซูลิน
- ไม่ได้นำคุณลักษณะในเรื่องเพศและอายุเข้ามาร่วมประเมิน ซึ่งลักษณะทางประชากรศาสตร์ทั้งเพศและอายุนั้นมีผลต่อรูปร่างและความเสี่ยงของการเกิดโรค เพศชายจะมีมวลกล้ามเนื้อมากกว่าเพศผู้หญิง ซึ่งหากค่า BMI ที่เท่ากันจึงอาจจะแตกต่างกันในอายุ อาทิ คนอายุ 22 ปี มีค่า BMI เท่ากันคนอายุ 72 ปี เป็นต้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงไม่ควรใช้ BMI สำหรับกลุ่มคนที่ใช้กำลังหรือออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น นักกีฬา หน่วยรบพิเศษ เป็นต้น เนื่องจากไม่สามารถบ่งบอกถึงปริมาณไขมันที่สะสมในร่างกายหรือความเสี่ยงสุขภาพอื่นๆได้