ระบบหมุนเวียนเลือด (Circulatory System) คืออะไร ทำงาน ทำหน้าที่อย่างไร

ระบบการหมุนเวียนเลือด (Circulatory System) คือเป็นระบบที่เลือดจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการลำเลียงสารอาหารต่าง ๆ เข้าไปสู่ร่างกาย เมื่ออาหารที่รับประทานเข้าไปถูกย่อยจนมีขนาดเล็กที่สุด จะกระจายออกไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย

โดยจะเข้าไปสู่ผนังลำไส้เล็ก และแพร่ขยายผ่านเข้าสู่เส้นเลือด แล้วจะเคลื่อนที่ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จะเป็นการแพร่ขยายไปพร้อมกับเลือด ระบบการหมุนเวียนเลือด จะมีอวัยวะที่สำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการทำหน้าที่เป็นตัวลำเลียงอาหาร ได้แก่ หัวใจ เส้นเลือด และเลือด โดยอาหารที่รับประทานเข้าไปเมื่ออาหารเหล่านั้นถูกผ่านกระบวนการย่อยอาหารจนได้อนุภาคที่เล็กที่สุดแล้ว ก็จะเดินทางสู่การแพร่ผ่านเข้าสู่ผนังของลำไส้เล็กได้ จากนั้นจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือด แล้วถูกนําไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยระบบหมุนเวียนของเลือด ซึ่งวิธีดังกล่าวก็เป็นวิธีเดียวกันกับการนำเอาก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งระบบการทำงานของ การหมุนเวียนของเลือด และการหมุนเวียนของก๊าซ จะต้องมีการทำงานของร่างกายที่ควบคู่กันไป

ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์

ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ เป็นระบบที่จะนำเอาสารอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ภายในร่างกาย โดยจะเป็นการนำเข้า และนำออกจากเซลล์ในส่วนต่าง ๆ สลับกันไปมา เพื่อเป็นการช่วยรักษาระดับอุณหภูมิภายในร่างกาย และให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย โดยที่ระบบการหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ จะประกอบไปด้วยอวัยวะที่สำคัญภายในร่างกาย 3 ส่วน คือ

1.เลือด (blood) : ส่วนนี้จะเป็นของเหลวชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ซึ่งจะมีส่วนประกอบไปด้วย น้ำเกลือ เกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์เม็ดเลือดขาว ส่วนประกอบของเลือด เมื่อนำไปเติมสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดเพื่อทำการแยกชั้น จะพบส่วนประกอบของเลือดต่าง ๆ ดังนี้

  • น้ำเลือด หรือ พลาสมา เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณภายในร่างกาย โดยส่วนประกอบส่วนใหญ่มีอยู่ร้อยละ 55 ของเลือดทั้งหมด จะมีค่าสภาวะออกมาเป็นเบส ค่า ph 7.4 ประกอบด้วย น้ำ 91% สารอื่น ๆ เช่น โปรตีน 7% วิตามิน เกลือแร่ เอนไซม์ ฮอร์โมน ก๊าซ 2%
  • เม็ดเลือดแดง ถูกสร้างมาจากไขกระดูก ตับ ม้าม หน้าที่ที่สำคัญของเม็ดเลือดเเดงก็คือการทำลายเชื้อโรค โดยที่เม็ดเลือดขาวจะโดนทำลายโดยเชื้อโรค 80% ที่มาจาก ไขกระดูก และ ม้าม
  • เกล็ดเลือด ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เกล็ดเลือดไม่ใช่เซลล์ แต่เป็นเพียงชิ้นส่วนหนึ่งของเซลล์ ที่เป็นการทำงานร่วมกัน รูปร่างไม่แน่นอน มีขนาดเล็ก ไม่มีนิวเคลียส มีอายุประมาณ 3-4 วัน ถูกสร้างมาจากไขกระดูก มีปริมาณประมาณ 150,000-300,000 ชิ้น/เลือด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร

2.เส้นเลือด (blood vessel) : เส้นเลือดเปรียบเหมือนเป็นท่อลำเลียง ที่ทำหน้าที่ในการให้เลือดสามารถไหลไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย โดยจะมีด้วยกัน 3 ระบบ คือ เส้นเลือดดำ เส้นเลือดแดง และเส้นเลือดฝอย

  • เส้นเลือดแดง คือ เส้นเลือดหลักที่ทำหน้าที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังอวัยวะ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยที่เลือดในเส้นเลือดแดงส่วนมากจะเป็นเลือดดี
  • เส้นเลือดดำ คือ เส้นเลือดที่มีหน้าที่ในการลำเลียงเลือดเสีย หรือเลือดดำเข้าสู่หัวใจ ยกเว้นเส้นเลือดที่ถูกส่งตรงมาจากปอด เพราะเลือดส่วนนั้นจะเป็นเลือดที่ยังแดง และบริสุทธิ์
  • เส้นเลือดฝอย  คือ หลอดเลือดที่ขนาดเล็กมากแตกแขนงจากหลอดเลือดใหญ่ไปตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย

3.หัวใจ (heart) : เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดตลอดเวลา เพื่อให้มีการหมุนเวียนภายในกระแสเลือดภายในร่างกายอยู่ตลอดเวลา เนื่องจาก หัวใจมนุษย์ถูกแบ่งออกเป็น 4 ห้อง คือ บนซ้าย ล่างซ้าย บนขวา ล่างขวา หน้าที่สำคัญของแต่ละห้องคือ

  • ห้องบนซ้าย : รับเลือดที่ฟอกแล้ว ส่งเลือดไปยังหัวใจห้องล่างซ้าย
  • ห้องล่างซ้าย : สูบเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยห้องนี้จะมีขนาดของสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุด
  • ห้องบนขวา : รับเลือดจากร่างกาย ผ่านหลอดเลือดดำ 
  • ห้องล่างขวา : ส่งเลือดไปฟอกที่ปอด ผ่านหลอดเลือดดำ 

การไหลเวียนของเลือดจะเริ่มต้นกระบวนการลำเลียงที่สำคัญ ที่ส่งผลโดยตรงต่อร่างกายทั้งหมด โดยเริ่มต้นจากห้องบนขวา โดยการรับเลือดดำที่ร่างกายใช้งานไปแล้ว ส่งต่อไปยังห้องล่างขวา โดยหน้าที่สำคัญของห้องนี้ก็คือการฉีดเลือดดำไปฟองต่อที่ปอด แต่ในขณะเดียวกัน เลือดแดงที่ได้ผ่านขั้นตอนการฟอกจากปอดมาแล้ว จะถูกลำเลียงเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย ก่อนที่จะถูกส่งต่อไปยังห้องล่างซ้าย โดยหัวใจจะทำหน้าที่หลักคือ การฉีดเลือดแดงออกจากห้องล้างซ้ายเข้าสู่เส้นเลือดใหญ่โดยตรง ซึ่งต่อมาก็จะเข้าสู่ขั้นตอนในการแยกออกมาเป็นเส้นเลือดเล็ก และเส้นเลือดฝอย เพื่อนำเอาปริมาณเลือดดีไปเลี้ยงส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในร่างกาย และเลือดที่ใช้แล้ว หรือเลือดดำ ก็จะวนกลับเข้ามาที่หัวใจห้องบนขวาเหมือนเดิม ซึ่งวงจรการไหลเวียนของเลือดจะดำเนินไปตามรูปแบบดังกล่าวเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ

ระบบไหลเวียนเลือดจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ

1. ระบบไหลเวียนเลือดแบบเปิด : 

ระบบนี้จะเป็นระบบไหลเวียนของเลือด จะทำการหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส ในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับเนื้อเยื่อภายในร่างกายโดยตรง โดยที่ระบบไหลเวียนเลือดแบบเปิดนั้นจะสามารถพบเจอได้จากกลุ่มของ ครัสตาเซีย แมลง หอย ยกเว้นหมึกและหมึกยักษ์ (Cephalopoda) เป็นต้น

2. ระบบไหลเวียนเลือดแบบปิด : 

สำหรับระบบนี้จะเป็นระบบที่เลือด จะทำการแลกเปลี่ยนแก๊ส กับเนื้อเยื่อภายในร่างกาย โดยที่เลือดจะยังคงทำหน้าที่ไหลเวียนตลอดเวลา ซึ่งจะไหลเวียนอยู่ภายในเส้นเลือดเท่านั้น โดยที่ระบบไหลเวียนเลือดแบบปิดนั้นจะสามารถพบเจอได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น กลุ่มของไส้เดือนดิน(Annelids) และกลุ่ม Chordata สัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นต้น

หน้าที่ของระบบการหมุนเวียนเลือด

หน้าที่ของระบบการหมุนเวียนเลือด ที่เป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีวิต โดยอาจแบ่งได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้ คือ

  • 1.กระจายอาหาร และสารอื่น ๆ ไปเลี้ยงเซลล์ของร่างกาย
  • 2.หายใจ นำคาร์บอนไดออกไซด์ไปขับออกทางปอดเพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจนกลับมาใช้
  • 3.ขับถ่าย นำของเสียซึ่งเกิดจากเมแทบอลิซึม เพื่อขับออกภายนอกร่างกาย
  • 4.การคงปริมาณสารน้ำของร่างกาย ช่วยควบคุมและรักษาดุลของสารน้ำภายในร่างกาย
  • 5.การควบคุมอุณหภูมิ รักษาอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ
  • 6. ปรับระดับและป้องกันเลือดที่ไหลเวียนช่วยนำสารบางอย่าง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายไปยังอวัยวะ ต่าง ๆ

การดูแลรักษาระบบไหลเวียนเลือด

ระบบการหมุนเวียนเลือดถือเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากระบบการไหลเวียนเลือดเป็นปกติ ก็เท่ากับว่าสุขภาพก็จะดีไปด้วย โดยมีปัจจัยมากมายที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบไหลเวียนเลือด โดยที่การดูแลร่างกายเบื้องต้น ก็เป็นทางเลือกในการดูแลตัวเองที่ดีเพื่อเป็นการดูแลให้ระบบไหลเวียนเลือดสามารถเป็นปกติได้ โดยมีวิธีดังนี้

1.รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ เพราะส่วนประกอบของไขมัน HDL จะช่วยป้องกันการก่อตัวของคอเลสเตอรอล โดยที่ไขมันจำเป็นนั้นจะสามารถพบเจอได้มากในปลา และน้ำมันจำพวกมะกอก, ลินสีด (Linseed), เรพสีด (rapeseed)

2.อาหารที่อุดมด้วยไบโอฟลาโวนอยด์ จะเป็นส่วนช่วยให้หลอดเลือดมีความแข็งแรง สำหรับสารอาหารประเภทนี้จะสามารถพบได้มากในผลไม้จำพวกสีแดง และสีม่วง เช่นราสเบอร์รี่ เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ และแบล็กเบอร์รี่

3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้หัวใจ และหลอดเลือดดำมีความแข็งแรง โดยเฉพาะการออกกำลังกายประเภทแอโรบิค เพราะช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ การจ็อกกิ้ง ว่ายน้ำ และเต้นรำก็ล้วนแต่ส่งผลดีต่อหัวใจเช่นกัน

4.งดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ภาวการณ์ทำงานของหลอดเลือดแดงมีอาการไหลเวียนที่ผิดปกติ โดยสาเหตุเป็นเพราะสารพิษจากบุหรี่จะเข้าไปขัดขวางไม่ให้เลือดลำเลียงสารอาหารที่จำเป็นไปเลี้ยงร่างกาย

สรุป

ระบบไหลเวียนเลือด เป็นหนึ่งในระบบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากของร่างกาย บทบาท และหน้าที่ ที่ไม่สามารถหาสิ่งใดมาทดแทนได้จากส่วนอื่น และมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ซึ่งสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิดต้องอาศัยการดำรงชีวิตด้วยระบบนี้ โดยระบบไหลเวียนเลือดของมนุษย์นั้นมีความพิเศษมากกว่าสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น เพราะถือว่ามีระบบการไหลเวียนเลือดที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก และเป็นระบบปิด

ซึ่งในส่วนนี้ก็จะเป็นข้อแตกต่างที่จะเกิดขึ้นจากสัตว์บางกลุ่ม เช่น แมลง ที่จะมีระบบไหลเวียนแบบเปิด ระบบไหลเวียนเลือด (Circulatory System) คือระบบที่อยู่ภายในร่างกายของมนุษย์ ที่มีหน้าที่ที่สำคัญในการลำเลียงสารอาหาร แร่ธาตุ และรวมไปถึงก๊าซชนิดต่าง ๆ เข้าไปล่อเลี้ยงเซลล์ และเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ภายในร่างกาย

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top