ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) เป็นระบบที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ที่มีหน้าที่ที่สำคัญต่อระบบการขับเคลื่อนภายในเซลล์ต่าง ๆ ที่อยู่ภายในร่างกาย โดยการทำงานเบื้องต้นจะประกอบไปด้วยกลุ่มเซลล์ต่าง ๆ ที่มีการผลิตอยู่ตลอดเวลาในร่างกาย โดยจะทำงานผ่านการสร้าง และหลั่งพวกฮอร์โมน (Hormones) แล้วนำฮอร์โมนจากส่วนต่าง ๆ ส่งออกนอกตัวเซลล์
สำหรับรูปแบบการส่งของระบบต่อมไร้ท่อนั้น จะทำการส่งฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ผลิตออกมาผ่านทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลือง เพื่อเดินทางไปยัง อวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยต่อมไร้ท่อบางชนิดจะสามารถสร้างฮอร์โมนออกมาในขณะที่ร่างกายกำลังทำงานอยู่ หรือถูกควบคุมการหลั่งโดยระบบประสาท หรือที่เรียกว่า neuroendocrine system เช่น ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต้น
โครงสร้างและหน้าที่ระบบต่อมไร้ท่อ
โดยทั่วไป ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ
1. Parenchyma (เนื้อต่อม) :
โครงสร้างลักษณะของ Parenchyma (เนื้อต่อม) นี้จะประกอบไปด้วย เซลล์เนื้อผิวชนิดหนึ่ง หรือภาษาทางการก็คือ secretory cells โดยจะเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สำคัญในการสร้างฮอร์โมน ซึ่งเซลล์เหล่านี้ได้ทำการผลิตออกมาจากร่างกาย โดยอาจจะเป็นรูปแบบที่ออกมาเป็นกลุ่ม (clumps) ขดเป็นกลุ่ม (cord) หรือแผ่น (plates) ก็ได้ตามแต่สถานะในการผลิตในแต่ละครั้ง โดยมีเส้นเลือดฝอยชนิด fenestrated หรือ sinusoid capillaries และเส้นน้ำเหลือง จะมาแทรกระหว่างเซลล์ต่าง ๆ จำนวนมาก โดยสาเหตุที่จำเป็นต้องมีเซลล์พวกนี้ก็เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวหล่อเลี้ยง และลำเลียงฮอร์โมน ออกจากเนื้อต่อม เพื่อที่จะเดินทางเข้าไปสู่วงจรไหลเวียนของกระแสเลือด เพื่อทำหน้าที่ไปกระตุ้นอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายที่เป็นไปตามเป้าหมาย (target organs) ที่อยู่ในร่างกาย
2. Stroma (โครงร่างพยุงเนื้อต่อม) :
โครงสร้างลักษณะของ Stroma (โครงร่างพยุงเนื้อต่อม) นี้จะประกอบไปด้วย เนื้อประสานต่าง ๆ ที่จะทำหน้าที่ในเป็นเกาะป้องกัน โดยจะทำหน้าที่เป็นเปลือกหุ้ม และโครงร่างให้เซลล์ของเนื้อต่อมเกาะ โดยความแตกต่างที่สามารถพบเจอได้ในต่อมไร้ท่อในบางชนิดก็คือ จะสามารถพบได้ว่ามีส่วนของเปลือกหุ้มยื่นเข้าไปแบ่งเนื้อต่อมออกเป็นส่วน หรือที่เรียกว่า Trabaeculae
การเคลื่อนที่ของฮอร์โมน ต่อมไร้ท่อสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.ต่อมไร้ท่อที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย (Essential Endocrine Gland) หน้าที่ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากขาดการหมุนเวียนต่าง ๆ ของเซลล์ จะทำให้เสียชีวิตได้ในทันที เช่น
- ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid) : คือต่อมไร้ท่อขนาดเล็ก ที่จะฝังอยู่ด้านหลังของเนื้อเยื่อไทรอยด์ โดยหน้าที่หลักก็คือจะทำการผลิตฮอร์โมนชนิดสำคัญที่ชื่อว่า “พาราทอร์โมน” (Parathormone) ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้ เป็นหนึ่งในประเภทที่สำคัญอย่างมาก ที่ร่างกายไม่สามารถขาดได้ โดยจะทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึมของแคลเซียม และฟอสฟอรัสในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการสร้างกระดูก และควบคุมสมดุล หรือการสลายแคลเซียมในอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะในกระดูกและฟัน
- ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) : ต่อมชนิดนี้คือก้อนเนื้อเยื่อรูปสามเหลี่ยมบริเวณด้านบนของไตทั้ง 2 ข้าง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ได้แก่
- 1.เนื้อเยื่อชั้นนอก (Adrenal Cortex) : สำหรับเนื้อเยื่อชนิดนี้จะเป็นตัวแปรหลักในการส่งออกเซลล์ต่าง ๆ สู่ร่างกาย โดยเป็นส่วนที่ได้รับการเจริญเติบโตออกมาจากเซลล์ที่ชื่อว่า มีเซนไคมาส (Mesenchymas) โดยเซลล์ชนิดนี้จะอยู่ภายในชั้น มีโซเดิร์ม (Mesoderm) ของตัวอ่อน มีหน้าที่สำคัญก็คือจะทำหน้าที่เป็นตัวผลิตฮอร์โมนที่สำคัญออกมาสู่ร่างกายถึง 3 ชนิด คือ
- 1.1.กลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid Hormone) ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
- 1.2.มินเนอราโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoid Hormone) ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่
- 1.3.ฮอร์โมนเพศ (Sex hormone) ทำหน้าที่ช่วยควบคุมลักษณะทางเพศในร่างกายทั้งเพศชายและหญิง
2. เนื้อเยื่อชั้นใน (Adrenal Medulla) : โดยเซลล์ชนิดนี้จะอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) จะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมปฏิกิริยากสนตอบสนองจากสิ่งเร้าที่เกิดจากภายนอก ที่มีผลต่อสภาพร่างกายภายใน โดยทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ อะดรีนาลีน (Adrenalin/Epinephrine Hormone) และนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenlin/Norepinephrine Hormone) ซึ่งกระตุ้นการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด
- ต่อมไอส์เลตส์ของตับอ่อน (Islets of Langerhans) : สำหรับต่อมไร้ท่อชนิดนี้ก็คือ กลุ่มเซลล์จำนวนหนึ่งที่มีการก่อตัวออกมาในรูปแบบที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ที่จะมีอยู่ราวร้อยละ 3 ที่จะสามารถพบได้ในบริเวณของตับอ่อน (Pancreas) โดยหน้าที่ที่สำคัญก็คือการสร้างฮอร์โมนออกมา 2 ชนิด ก็คือ อินซูลิน (Insulin) และกลูคากอน (Glucagon) ซึ่งหน้าที่ที่สำคัญของเซลล์เหล่านี้ก็คือทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมระดับน้ำตาลภายในเลือด
2. ต่อมไร้ท่อที่มีความจำเป็นน้อยต่อร่างกาย (Non – Essential Endocrine Gland) สำหรับต่อมไร้ท่อชนิดนี้ จะมีส่วนประกอบคล้าย ๆ กับชนิดแรก แต่ความรุนแรงน้อยกว่าต่อมไร้ท่อชนิดแรก เพราะถ้าหากขาดการหมุนเวียนของเซลล์ชนิดดังกล่าว จะไม่ทำให้เสียชีวิตในทันที ซึ่งต่างจากชนิดแรก หรือก็คือ ต่อมไร้ท่อที่ถ้าหากขาดไป อาจไม่ส่งผลให้เสียชีวิตในทันที เช่น
- ต่อมใต้สมอง (Pituitary) : คือต่อมที่มีขนาดเล็กที่จะอยู่ในส่วนใต้สมอง ทำหน้าที่ที่สำคัญคือการผลิตฮอร์โมน ซึ่งได้แก่
- โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) : ฮอร์โมนชนิดจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นในการเจริญเติบโตภายในร่างกาย โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมในการเจริญเติบโตของส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย โดยเฉพาะการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับ กระดูก และกล้ามเนื้อ
- โกนาโดโทรฟิกฮอร์โมน (Gonadotrophic Hormone) : จะทำหน้าที่หลักในการกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยที่จะเกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ทางเพศในแต่ละชนิดที่ต่างกัน โดยจะมีผลต่อเนื้อเยื่อเป้าหมายโดยตรง
- แอนติไดยูเรติกฮอร์โมน (Antidiuretic Hormone) : เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในเรื่องของการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำที่อยู่ภายในร่างกาย โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นเพื่อให้หลอดเลือดสามารถทำการบีบตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นตัวช่วยในการดูดน้ำกลับเข้าสู่เส้นเลือดต่าง ๆ
- ต่อมไทรอยด์ (Thyroid) : สำหรับต่อมชนิดนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวเสริมการเจริญเติบโตต่าง ๆ โดยจะเป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ซึ่งจะอยู่ติดกับส่วนของลำคอ โดยที่จะเป็นจุดที่อยู่ใกล้กับหลอดลมมากที่สุด โดยจะทำหน้าที่เพื่อเป็นตัวสร้าง “ไทร็อกซิน” (Thyroxin) ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะมีส่วนสำคัญที่จะทำหน้าที่ในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก สมอง และรวมไปถึงระบบประสาทภายใน ซึ่งจะเป็นผลโดยตรงต่อการควบคุม อัตราเมตาบอลิซึม ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่อยู่ภายในร่างกาย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและรูปร่างเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่
- ต่อมไพเนียล (Pineal Gland) : สำหรับต่อมชนิดนี้จะเป็นตัวการในการควบคุมระบบต่าง ๆ ที่สำคัญภายในร่างกาย โดยจะเป็นเพียงต่อมไร้ท่อที่มีขนาดเล็กเพียงเท่านั้น ซึ่งจะทำหน้าที่ในการผลิตสารเมลาโทนิน (Melatonin) หรือสารที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของต่อมเพศ ที่มักจะเกิดขึ้นมาในช่วงของวัยหนุ่มสาว โดยการทำงานของต่อมไร้ท่อชนิดนี้ก็คือการควบคุม และจำกัดช่วงเวลาในการนอนหลับที่ควรจะเป็นช่วงเวลาปกติ และจะเป็นการกระตุ้นการปรับเปลี่ยนระบบนาฬิกาชีวิตของร่างกาย
- ต่อมไทมัส (Thymus Gland) : สำหรับต่อมไร้ท่อชนิดนี้ จะทำหน้าที่หลักในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยที่ต่อมไร้ท่อชนิดนี้จะอยู่ตรงบริเวณทรวงอก ซึ่งหน้าที่ของต่อมไร้ท่อชนิดนี้ก็คือการผลิตสารฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ไทโมซิน (Thymosin) ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยที่จะมีความสำคัญกับการเจริญเติบโต โดยที่ต่อมชนิดนี้จะถูกฝั่งอยู่ภายใน โดยที่ฮอร์โมนชนิดนี้จะสามารถเจริญเติบโตเต็มที่ด้วยการฝังลึกอยู่ภายในตั้งแต่ช่วงทารก ก่อนที่จะมีการเสื่อมสภาพ และฝ่อ จนหมดในช่วงอายุประมาณ 6 ปีขึ้นไป
- ต่อมเพศ (Gonads) : สำหรับต่อมไร้ท่อชนิดนี้ จะมีหน้าที่โดยตรงกับส่วนของอัณฑะในเพศชาย และรังไข่ในเพศหญิง โดยจะมีหน้าที่สำคัญด้วยกัน 2 ประการ
- 1.สร้างเซลล์สืบพันธุ์ และสร้างฮอร์โมน ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์
- 2.ควบคุมลักษณะเด่นของเพศ และฮอร์โมนที่สำคัญ โดยจะเป็นตัวช่วยในเรื่องของการควบคุมลักษณะเด่นของเพศ ซึ่งฮอร์โมนที่สำคัญ ได้แก่ เทสทอสเตอโรน (Testosterone) ในเพศชาย เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในเพศหญิง
จะเห็นได้ว่า ต่อมไร้ท่อ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ถูกซ่อนอยู่ภายในระบบต่าง ๆ ของการทำงานภายในร่างกาย เพราะถ้าหากเกิดความผิดปกติของต่อมไร้ท่อในส่วนต่าง ๆ ก็จะทำให้ร่างกายเกิดการเสียสมดุลของฮอร์โมนในแต่ละจุด ซึ่งฮอร์โมนเหล่านั้นอาจจะทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติได้หลายอย่างเช่น โรคเบาหวาน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนในการสร้างอินซูลิน หรือโรคกระดูกพรุน ซึ่งเกิดจากรังไข่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนได้เพียงพอ เป็นต้น