อาการก่อนเมนส์มา เรียกว่า (PMS) คืออาการอะไร? มีวิธีการรับมืออย่างไรบ้าง

อาการก่อนเมนส์มา น้ันจะมีอาการผิดปกติของร่างกายที่ผู้หญิงแทบทุกคนจะต้องพบเจอ โดยอาการก่อนเป็นประจำเดือน (Premenstrual syndrome) หรือที่มักเรียกกันว่า PMS คืออาการที่มักจะส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจ โดยลักษณะอาการนั้นอาจมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคล อาทิเช่น ปวดหลัง, เจ็บหน้าอก, ปวดท้อง หรืออารมณ์แปรปรวน เป็นต้น ซึ่งนอกจากความแตกต่างของลักษณะอาการที่เกิดขึ้นแล้ว ความรุนแรงของอาการเองขึ้นอยู่กับบุคคลด้วยเช่นเดียวกัน แต่สำหรับเพศหญิงที่กำลังเผชิญกับอาการ PMS เหล่านี้อยู่ รู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้สามารถรักษาและรับมือได้

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ประจำเดือน” เพื่อรับมือกับ อาการก่อนเมนส์มา

ประจำเดือน (Menstruation หรือ Period) อาการที่เกิดขึ้นกับเพศหญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ กล่าวคือ เลือดและเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดและไหลออกจากทางช่องคลอด และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เป็นปกติเป็นประจำในทุกเดือนเมื่อไม่มีการตั้งครรภ์ ซึ่งโดยปกติร่างกายจะทำการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) หรือที่เรียกว่า ฮอร์โมนเพศ เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้รังไข่ได้มีการปล่อยไข่ออกมา ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นเพื่อพร้อมรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนที่ซึ่งเกิดเป็นการตั้งครรภ์ แต่เมื่อไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นฮอร์โมนเพศจะลดลง ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกที่ไม่มีการฝังตัวอ่อนหลุดลอกออก โดยประจำเดือนจะไหลออกมาในทุกๆ 28-30 วัน และระยะเวลาอาจแตกต่างกันออกไป อาจช้าหรือเร็วกว่านั้นขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคล

รูปภาพประกอบจาก Freepik

อาการก่อนเมนส์มา1วัน หรือ PMS คืออะไร?

อาการก่อนเมนส์มา หรืออาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) หรือที่มักเรียกกันว่า PMS คือลักษณะกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายและอารมณ์ที่มักเกิดขึ้นในช่วงไข่ตก หรือเกิดขึ้นก่อนประจำเดือนมา 1 สัปดาห์ โดยประมาณ ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้วอาการก่อนเป็นประจำเดือนมักจะหายไปเองภายในระยะเวลา 1-2 วัน หลังจากมีประจำเดือน ถึงแม้อาการก่อนมีประจำเดือน หรือ PMS จะเป็นอาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยภายในร่างกาย อย่างเช่น ความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่มีความเปลี่ยนแปลงในช่วงรอบเดือน หรืออาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยภายนอก อาทิเช่น พฤติกรรมการไม่ออกกำลังกาย, ความเครียดสะสม, พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เป็นต้น

อาการก่อนเมนส์มา อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเหล่านี้

  • ความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล จึงอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการก่อนมีประจำเดือนได้
  • การเปลี่ยนแปลงของเคมีในสมอง อย่าง เซโรโทนิน (Serotonin) สารสื่อประสาทที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญต่อสภาวะทางสมอง ซึ่งหากระดับเซโรโทนินต่ำ อาจทำให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิดได้ง่ายหรืออาจทำให้นอนไม่หลับ และเพิ่มความอยากอาหาร แต่ในกรณีที่ระดับเซโรโทนินสูง อาจทำให้เกิดอาการไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น และท้องเสียได้เช่นเดียวกัน
  • ความเครียดสะสม สภาพจิตใจและร่างกาย อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการก่อนมีประจำเดือน
  • พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ อาจทำให้มีอาการก่อนเมนส์มาได้
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน BMI หรือผู้ที่เป็น โรคอ้วน มีแนวโน้มที่อาจเจออาการก่อนมีประจำเดือนได้มากกว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานถึง 3 เท่า โดยประมาณ

สัญญาณเตือนของ อาการก่อนเมนส์มาครั้งแรก

อาการก่อนมีประจำเดือนนั้นอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคล และในบางรายอาการที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนนั้นอาจแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นเดียวกัน โดยอาการก่อนมีประจำเดือนแบ่งออกเป็น 2 ด้านหลักๆ ดังต่อไปนี้

สัญญาณเตือน อาการก่อนเมนส์มา ที่เกิดขึ้นทางด้านร่างกาย

  1. ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูกหรือท้องเสีย
  2. ปวดศีรษะ
  3. ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  4. มี สิว ขึ้น
  5. รู้สึกเจ็บที่บริเวณเต้านมหรือคัดตึงเต้านม
  6. มือและเท้าบวม
  7. ความรู้สึกอยากอาหารเพิ่ม
  8. น้ำหนักเพิ่ม
รูปภาพประกอบจาก Freepik

สัญญาณเตือน อาการก่อนเมนส์มา ที่เกิดขึ้นทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์

  1. รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลียง่าย
  2. เครียดหรือวิตกกังวลมากกว่าปกติ
  3. อารมณ์แปรปรวน ฉุนเฉียวง่าย
  4. มีความรู้สึกเหงา เศร้า ร้องไห้บ่อย
  5. อาจมีปัญหาเรื่องของการนอน เช่น นอนไม่หลับ
  6. ปลีกตัวจากผู้อื่น ไม่อยากพบเจอผู้คน
  7. ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ ได้
  8. หลงลืมง่าย
  9. รู้สึกกระวนกระวาย
  10. รู้สึกหวาดระแวง
  11. ความสนใจเรื่องเพศลดน้อยลง

อาการก่อนเมนส์มา1วัน ป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

อาการก่อนมีประจำเดือน สามารถป้องกันและบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังต่อไปนี้

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ผัก, ผลไม้ลดน้ำหนัก , ธัญพืช และการเลือกรับประทานวิตามินบี, วิตามินซี, แคลเซียม และ แมกนีเซียม เพื่อบรรเทาอาการเหนื่อยล้า อาการหงุดหงิด อาการปวดศีรษะ ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชาและกาแฟ รวมไปถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่อาจส่งผลให้ร่างกายเกิดการตื่นตัว เพื่อแก้ไขอาการ นอนไม่หลับ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่มีสารนิโคติน (Nicotine) ที่ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ที่ทำให้เกิดอาการหงุดหงิดเมื่อไม่ได้สูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์ โดยเลือกออกกำลังกายประเภทที่มีความเข้มข้นปานกลาง เช่น การเดินเร็ว, การว่ายน้ำ, เต้นแอโรบิค หรือเลือกออกกำลังกาย 75 นาทีต่อสัปดาห์ โดยเลือกออกกำลังกายประเภทที่มีความเข้มข้นสูง เช่น การกระโดดเชือกหรือการกระโดดตบ เป็นต้น
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้ได้อย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงความเครียดหรือสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย เลือกรับมือความเครียดด้วยกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การนวดผ่อนคลาย, เล่นโยคะ หรือการหากิจกรรมที่มีความสนใจ

บรรเทา อาการก่อนเมนส์มา ด้วยการรักษาทางการแพทย์

  • บำบัดด้วยการพูดคุย การพูดคุยและการปรึกษานักจิตวิทยาอาจช่วยให้รับมือกับความวิตกกังวลที่เกิดจากอาการก่อนมีประจำเดือนได้
  • ยาแก้ปวด (Painkiller) เช่น ยานาพรอกเซน (Naproxen), ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และ ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) รับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวด
  • ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ยากระตุ้นการขับปัสสาวะมีฤทธิ์ช่วยระบายของเหลวออกจากร่างกาย เพื่อลดอาการบวมน้ำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่อาจช่วยลดอาการคัดตึงเต้านมและลดอาการท้องอืดได้
  • ยาคลายวิตกกังวล (Anti-anxiety medicine) หรือยาคลายเครียด เพื่อลดความวิตกกังวล และอาจทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร และรับประทานตามเอกสารประกอบยาอย่างเคร่งครัด ไม่ควรหาซื้อยามาเพื่อรับประทานเองโดยเด็ดขาด เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ

สรุป

อาการก่อนมีประจำเดือนเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเพศหญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์หรือเพศหญิงที่โตเต็มวัย โดยอาการก่อนมีประจำเดือนเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของร่างกาย ที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม แต่โดยปกติทั่วไปอาการที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือนจะสามารถหายได้เองภายในระยะเวลา 1-2 วัน หลังจากการมีประจำเดือน โดยสามารถป้องกันและบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือนได้ง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง หรือการรับประทานยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ

แต่หากอาการที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มีอาการปวดท้องที่รุนแรงจนไม่สามารถไปทำงานหรือไปเรียนได้ มีความรู้สึกซึมเศร้าจนไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตประจำวันปกติได้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาตามแนวทางที่เหมาะสมต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้อาการมีความรุนแรงขึ้นและพัฒนาไปเป็นกลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือนที่มีความรุนแรงอย่างมาก ทั้งในด้านของอารมณ์และพฤติกรรมการแสดงออก อาทิเช่น ซึมเศร้าอย่างหนัก อาการแพนิคอย่างรุนแรง เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วน จากแหล่งที่มา

Scroll to Top