โพรพิลีนไกลคอล หรือ Propylene Glycol เกิดจากการสังเคราะห์โดยทำปฏิกิริยาระหว่างโพรพิลีนออกไซด์ (Propylene Oxide) กับน้ำ สารนี้เป็นสารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C3H8O2 ที่มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีรสหวานเล็กน้อย มีความเป็นพิษต่ำ มีคุณสมบัติหลายประการ คือ มีสามารถในการละลายน้ำ เพิ่มความชุ่มชื้น (Humectant) ดูดความชื้น เปลี่ยนจุดเยือกแข็ง และมีความสามารถของสสารในการละลายในน้ำ (Solubility) และช่วยในการเข้ากันได้ของสสาร (Compatibility) ที่หลากหลาย จึงเป็นสารที่พบได้ในสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปที่ถูกใช้อย่างแพร่ในหลายอุตสาหกรรม ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ซึ่งสารนี้มีประวัติการใช้ในหลายประเทศเป็นเวลากว่า 50 ปี มักใช้ในปริมาณ 1-20% และไม่ใช้เกิน 50%
Propylene Glycol ใช้ทําอะไร
- เป็นสารที่ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้น ลดการสูญเสียน้ำ (Humectant)
- เป็นสารช่วยหล่อลื่น (Lubricant) และลดความหนืด ของตัวผลิตภัณฑ์สกินแคร์
- เป็นตัวทำละลาย (Solvent) ช่วยเพิ่มความเสถียร (Stability) เหมาะสำหรับผสมกับสารอื่น
Propylene Glycol ในเครื่องสำอาง – สกินแคร์
โพรพิลีนไกลคอลถูกใช้เป็นสารประกอบในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง-สกินแคร์ เพื่อป็นสารกักเก็บความชุ่มชื้น ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้น และเพิ่มการดูดซับน้ำของผิวหนัง มักถูกใช้ผสมในแอลกอฮอล์ล้างมือ เพื่อป้องกันผิวแห้งตึง หยาบกร้าน รวมถึงใช้เป็นเป็นตัวทำละลาย เพื่อเจือจางน้ำหอม มักใช้เป็นอิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifie) เพื่อป้องกันการแยกชั้นของผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันเป็นองค์ประกอบ ปรับปรุงเนื้อสัมผัส (Texturizer) เพื่อทำให้เนื้อผลิตภัณฑ์น่าใช้งานมากยิ่งขึ้น อาทิ เซรั่มบำรุงผม โลชั่น เป็นต้น และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอีกหลากหลายชนิด
โดยในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้จะใช้โพรพิลีนไกลคอลในปริมาณเล็กน้อย เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ไม่ให้ละลายในความร้อนสูง สำนักงานควบคุมส่วนผสมเครื่องสำอางและกลุ่มอื่นๆ ยืนยันว่าสารชนิดนี้ปลอดภัย และไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในด้านสุขภาพของผู้บริโภค
Propylene Glycol ในอุตสาหกรรมยา
ในบทบาทอุตสาหกรรมยา โพรพิลีน ไกลคอล มักถูกใช้เป็นตัวทำละลายในผลิตภัณฑ์กลุ่มยา (Pharmaceutical) เพื่อผสมกลิ่นและสูตรยาต่างๆ อาทิ ยาแก้ไอและยาน้ำสำหรับเด็ก หรือใช้เป็น พลาสติไซเซอร์ (Plasticizer) ซึ่งเป็นสารเติมแต่ง (additive) ส่งผลให้คุณสมบัติพลาสติกเปลี่ยนไป โดยการเพิ่มความอ่อนนุ่ม ความยืดหยุ่น ทนต่อสภาวะความเป็นกรดด่าง ทนต่ออุณหภูมิสูง เพื่อนำไปทำ Film-Coating ในการผลิตยาแคปซูล
Propylene Glycol ในอุตสาหกรรมอาหาร-เครื่องดื่ม
โพรพิลีน ไกลคอล ถูกนำมาใช้หลากหลายบทบาทในอุตสาหกรรมอาหาร-เครื่องดื่ม ในปริมาณที่เล็กน้อยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค ดังนี้
- ใช้เป็นตัวทำละลายสีและกลิ่นต่างๆ
- ใช้เป็นสารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน (Anti-caking agent) ในอาหารประเภทซุป (Dried soup) และชีส (Grated cheese)
- ใช้เป็นสารต้านการเกิดออกซิเดชั่น (Antioxidant) ซึ่งช่วยยืดอายุของอาหาร
- ใช้เป็นสารประเภทอิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) เพื่อความคงตัว ไม่ให้อาหารเสียรูปร่าง และป้องกันการแยกชั้นในอาหารประเภทน้ำมัน
- ใช้เป็นสารที่ช่วยดูดซับน้ำ (Humectant) ช่วยดูดความชื้น นิยมใช้ในอาหารจำพวกอาหารแห้ง เช่น ขนมอบกรอบ เครื่องดื่มชนิดผง นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติป้องกันการจับตัวเป็นก้อน
- ใช้เป็นสารเคลือบผิวบนขนมหรืออาหาร เพื่อสร้างความมันวาว ดูน่ารับประทาน
- ใช้เป็นสารลดจุดเยือกแข็งของน้ำ (Coolant) เพื่อให้อาหารละลายได้เร็วขึ้นเมื่อออกจากจุดเยือกแข็ง
ข้อควรระวังในการใช้
- ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีโพรพิลีนไกลคอลเป็นองค์ประกอบ ตามคำแนะนำของเอกสารกำกับในผลิตภัณฑ์
- ระมัดระวังไม่ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบของโพรพิลีนไกลคอลเข้าตา
- ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีโพรพิลีนไกลคอลเป็นองค์ประกอบที่หมดอายุในผลิตภัณฑ์ทุกชนิด
- ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีโพรพิลีนไกลคอลในผู้แพ้สารประกอบนี้
- ไม่ทิ้งผลิตภัณฑ์ที่มีโพรพิลีนไกลคอลลงในแม่น้ำคูคลองตามธรรมชาติ
การเก็บรักษา Propylene Glycol
ควรเก็บผลิตภัณฑ์ที่มีโพรพิลีนไกลคอลเป็นองค์ประกอบให้ตรงตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์ ควรปิดฝาผลิตภัณฑ์ให้สนิท ก่อนเก็บในอุณหภูมิห้อง ไม่ร้อนจัด ไม่ชื้น พ้นจากแสงแดด พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ชื่ออื่นของสาร
นอกจากนี้โพรพิลีนไกลคอลยังมีชื่ออื่นๆ ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายอีกด้วย คือ
- โพรเพนไดออล (Propanediol)
- ไดไฮดร็อกซีโพรเพน (Dihydroxypropane)
- เมทิล เอทิล ไกลคอล (Methyl Ethyl Glycol)
- ไตรเมทิล ไกลคอล (Trimethyl Glycol)
Butylene Glycol สารที่มีคุณสมบัติเหมือน Propylene Glycol
บิวทิลีนไกลคอล (Butylene Glycol) เป็นสารที่ได้จากก๊าซบีเทน มีคุณสมบัติช่วยกักเก็บความชุ่มชื้น รักษากลิ่นและคงรูปผลิตภัณฑ์ รวมถึงเป็นตัวทำละลายได้เช่นเดียวกัน โพรพิลีนไกลคอล ซึ่งบิวทิลีนไกลคอลมีความอ่อนโยนมากกว่า ก่อให้เกิดการระคายเคืองได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตามบิวทิลีนไกลคอลควรใช้เฉพาะภายนอกร่างกาย เพราะหากรับประทานเข้าไปอาจทำลายระบบประสาท ทำให้ไตวาย และเสียชีวิตได้
Propylene Glycol สามารถรับประทานได้หรือไม่
โพรพิลีนไกลคอลเกรดสำหรับใช้ในอาหาร ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของอเมริกา(FDA) และอนุญาตให้นำมาใช้ผสมในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อบริโภค ซึ่งสามารถใช้ได้ในปริมาณ 34 มก./กก. ต่อวันเท่านั้น ดังนั้นแม้ว่า Propylene Glyco แบบฟู้ดเกรดจะสามารถรับประทานได้ แต่หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อด้านสุขภาพเช่นกัน
Propylene Glyco กับผลกระทบอื่นต่อมนุษย์
โพรพิลีนไกลคอลมีผลวิจัยออกมาแล้วว่ามีผลกระทบกับมนุษย์น้อยมาก หากใช้อย่างถูกวิธี ในปริมาณที่เหมาะสม คือ
- ไม่พบว่าก่อให้เกิดมะเร็ง
- ไม่ทำลายยีนและระบบพันธุกรรม
- ไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากการบริโภค
แต่ก็มีผลรายงานจาก American Contact Dermatitis Society แล้วว่าโพรพิลีนไกลคอลเป็นสารก่อภูมิแพ้แห่งปี 2018 โดยผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย อาจเกิดอาการภูมิแพ้ ผื่นผิวหนังอักเสบได้ง่ายกว่า จากผลิตภัณฑ์ที่มีโพรพิลีนไกลผสมอยู่
สารเคมีอื่นที่มักพบในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง-สกินแคร์
- ลาโนลิน หรือ Lanolin : สารสกัดจากธรรมชาติที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว
- มิเนอรัลออยล์ หรือ Mineral Oil : ใช้เป็นสารทำความหล่อลื่นในเครื่องสำอาง
- ไดเมธิโคน หรือ Dimethicone : น้ำมันซิลิโคน ใช้เป็นเบสของผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นครีม
- โพลีซอร์เบต หรือ Polysorbate : ใช้เป็นสารที่ช่วยทำให้น้ำมันหอมระเหยละลายในน้ำได้ดี และยังเป็นสารที่ช่วยลดแรงตึงผิว และค่อนข้างมีความปลอดภัย
- โคคามิโดโพรพิล บีเทน หรือ Cocamidopropyl Betaine : สารที่ได้จากน้ำมันมะพร้าว ช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำและทำให้เกิดฟอง แต่ควรในปริมาณที่เหมาะสม
- บิวไทลีน ไกลคอล หรือ Butylene Glycol : ใช้เป็นสารเก็บกักความชุ่มชื้น
- ฟีน็อกซ์ซีธานอล หรือ Phenoxyethanol : สารที่ทำให้น้ำหอมคงตัว และฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ แต่ควรในปริมาณที่เหมาะสม
- กรดสเตียริก หรือ Stearic Acid : เป็นสารที่เกิดไขมันและน้ำมันจากสัตว์ ช่วยในการสร้างความนุ่มนวล ลื่น เป็นประกายแวววาวของผลิตภัณฑ์
สรุปแล้ว
โพรพิลีนไกลคอล หรือ Propylene Glycol เป็นสารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการสังเคราะห์โดยทำปฏิกิริยาระหว่าง โพรพิลีนออกไซด์ (Propylene Oxide) กับน้ำ มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีรสหวานเล็กน้อย มีความเป็นพิษต่ำ เป็นสารที่พบได้ในสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ถูกใช้อย่างแพร่ในหลายอุตสาหกรรม ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ไม่มีอันตราย หากผสมสารโพรพิลีนไกลคอลด้วยปริมาณส่วนผสมที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
เนื่องจากมีคุณสมบัติดีหลายประการ คือ เป็นตัวทำละลาย ช่วยในการเข้ากันได้ของสสาร เพิ่มความชุ่มชื้น ดูดความชื้น เปลี่ยนจุดเยือกแข็ง เป็นสารช่วยคงรูปร่างของอาหาร มีวิธีการเก็บรักษาแบบมาตรฐานคือ เก็บผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบของโพรพิลีนไกลคอลอย่างมิดชิด ในที่ที่มีอุณหภูมิห้อง ไม่ร้อนจัด ชื้น เก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และต้องระมัดระวังอย่าให้สารนี้เข้าตา หากสารเคมีเข้าตาให้รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้น ด้วยการล้างเปลือกตาและบริเวณใกล้เคียงที่โดนสารเคมีด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ โดยการให้น้ำไหลผ่านดวงตานาน 15-20 นาที รวมถึงกลอกตาขณะล้างตาไปด้วย แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจอย่างละเอียดต่อไป ปัจจุบันสารบิวทิลีนไกลคอล เป็นสารที่ใช้ทดแทนโพรพิลีนไกลคอลได้ในภายนอก เพราะอ่อนโยนกว่า แต่ไม่สามารถนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์สำหรับรับประทานได้