ยาละลายเสมหะ กินตอนไหน เลือกแบบไหน เม็ดฟู่ แบบผง ยาพ่น ยาแบบไหนเหมาะกับเราที่สุด ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เจาะลึกทุกประเด็นของยา
เสมหะ คือ สารชนิดหนึ่งมีความเหนียวหนืด ซึ่งร่างกายผลิตออกมาเอง เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับระบบทางเดินหายใจ ทำให้กลไกการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เมื่อเกิดความผิดปกติ เช่น มีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในระบบทางเดินหายใจ ฯลฯ ร่างกายก็จะเร่งผลิตเสมหะออกมามากขึ้น เพื่อเป็นเกราะป้องกันอันตรายให้กับทางเดินหายใจ แต่การผลิตเสมหะมากเกินไปก็มีผลเสียจึงเป็นที่มาของยาละลายเสมหะ
ยาละลายเสมหะ หรือ Mucolytics เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดความเหนียวหนืดของเสมหะ การทำงานหลัก ๆ สารในตัวยาจะไปทำปฏิกิริยากับเสมหะโดยตรง ส่งผลให้เสมหะที่ยึดเกาะเหนียวแน่น เกิดการแตกตัวลดความหนืดลง ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการเสมหะเยอะ จนกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ หายใจไม่สะดวก ก็จะขับเสมหะออกมาได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งตัวยาละลายเสมหะในท้องตลาดวางจำหน่ายอยู่หลายชนิดและหลายประเภท ถ้าเริ่มรู้สึกว่าเสมหะมีผลกระทบต่อร่างกาย ควรศึกษารายละเอียดของตัวยาก่อนรับประทานเสมอ เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้ยาผิดวิธีหรือแพ้ยา
ชนิดของยาละลายเสมหะ แต่ละประเภท
ปัจจุบันยาละลายเสมหะมีหลายประเภท แต่ละประเภทถูกผลิตขึ้นมาให้เหมาะสมแต่ละบุคคลมากที่สุด แต่ตัวยาในท้องตลาดที่แพทย์และเภสัชกรแนะนำให้ใช้ได้ ปลอดภัยและผลข้างเคียงต่ำ มี 4 ชนิด ดังตารางต่อไปนี้
ชนิดยาล | กลไกการออกฤทธิ์ของตัวยาละลายเสมกะ |
อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine)คาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine) | หลักการทำงาน คือ ยาดังกล่าวจะเข้าไปทำปฏิกิริยาคลายพันธะของไดซัลไฟด์ของเสมหะ ทำให้ความเหนียวและความหนืดลงน้อยลง ร่างกายขับออกมาได้ง่าย |
แอมบรอกซอล (Ambroxol)บรอมเฮกซีน (Bromhexine) | หลักการทำงาน คือ ยาดังกล่าวจะไปกระตุ้นระบบทางเดินหายใจ ให้หลั่งสารชนิดหนึ่งออกมา โดยสารนั้น จะช่วยลดความเหนียวหนืดของเสมหะได้ และในขณะเดียวกันก็จะกระตุ้นให้ขนที่อยู่ในรูจมูก หรือ Celia พัดโบกช่วยขับเสมหะได้ง่ายมากขึ้น |
แล้วยาแต่ละชนิด ยังมีประเภทของตัวยาแยกออกมา 4 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน เพื่อช่วยให้รับประทานง่าย และเหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีอาการเสมหะระดับความรุนแรงแตกต่างกัน โดยมีรายละเอียด ดังตารางต่อไปนี้
ประเภทยาล | รายละเอียดยาแต่ละประเภท |
ยาน้ำละลายเสมหะ | รูปแบบยา คือ ยาน้ำ สามารถทานได้ง่าย จะนิยมใช้กับเด็กหรือผู้ที่มีอาการไอมีเสมหะร่วมด้วย |
เม็ดฟู่ละลายเสมหะ | รูปแบบยา คือ ยาเม็ด แต่วิธีการทานต้องนำเม็ดยาละลายเสมหะใส่ลงในน้ำดื่มสะอาด รอจนยาละลายหมดจึงจะดื่มได้ จะนิยมใช้กับผู้ที่มีอาการไอร่วมกับเสมหะที่อยู่ในหลอดลม |
ยาพ่นละลายเสมหะ | รูปแบบยา คือ ยาพ่น จะต้องมีเครื่องพ่นยา วิธีการใช้ยาประเภทนี้ ส่วนใหญ่ใช้ในสถานพยาบาล มีเจ้าหน้าที่เฉพาะทางดูแล เพราะต้องนำเครื่องพ่นครอบบริเวณปาก จมูก ให้ยาเข้าไปทางปากกับจมูกโดยตรง จะนิยมใช้กับเด็กเล็กและผู้สูงวัย |
ยาสมุนไพรละลายเสมหะ | รูปแบบยา คือ การนำสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยลดความเหนียวหนืดของเสมหะมารักษา ซึ่งไม่มีตำรับยาที่ชัดเจน และไม่นิยมทางแพทย์แผนปัจจุบัน |
โดยยาละลายเสมหะแต่ละชนิดมีกลไกการทำงานเชิงลึกแตกต่างกัน แต่ผลลัพธ์ที่ได้ คือ การลดความเหนียวของเสมหะ ให้ร่างกายกำจัดได้ง่าย สำหรับผู้ที่มีเสมหะเยอะ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทานยาทุกครั้ง เพื่อให้ได้ยาที่เหมาะสมกับอาการมากที่สุด
ประโยชน์ของยาละลายเสมหะ
การทานยาละลายเสมหะมีประโยชน์ในการรักษาอาการเสมหะมากเกินไป ซึ่งในบทความได้สืบค้น และพบข้อมูลประโยชน์ยาละลายที่น่าสนใจอื่น ๆ ดังนี้
- ช่วยละลายเสมหะที่ติดอยู่ในระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้การหายใจสะดวก และยังช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองคอที่เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ไอเรื้อรังได้
- ยาถอนพิษพาราเซตามอล ซึ่งแพทย์จะใช้สำหรับบุคคลที่ทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด แต่การใช้ถอนพิษ จะต้องควบคุมโดยแพทย์เท่านั้น ทานเองไม่ได้
- การใช้ชีวิตง่ายขึ้น หมดปัญหารำคาญใจที่ต้องกระแอมให้รู้สึกโล่งที่ลำคอตลอดเวลา จนกลายเป็นคนที่บุคคลไม่สุภาพไปได้ สร้างความมั่นใจให้ตนเองด้วย
ยาละลายเสมหะ ทานตอนไหน ได้ผลดีที่สุด
การรับประทานยาละลายเสมหะที่ถูกต้อง ควรอ่านสลากกำกับตัวยาทุกครั้ง ให้ดูที่วันหมดอายุและปริมาณการทาน หรือยึดตามที่แพทย์สั่งจ่ายยามาก็ได้ และช่วงเวลาทานที่ได้ผลลัพธ์ในการรักษาดีที่สุด ให้ทานหลังมื้ออาหารเช้า กลางวัน และเย็น ไม่เกิน 30 นาที เพราะยาบางชนิดมีผลเสียต่อกระเพาะอาหาร ไม่ควรทานตอนท้องว่าง และที่สำคัญการทานยาละลายเสมหะไม่ควรต่อเนื่องนานเกิน 14 วัน
ข้อควรระวัง/คำเตือนในการทานยาละลายเสมหะ
ยาละลายเสมหะ ขึ้นชื่อว่า “ยา” ทุกชนิด ถูกวิจัยและคิดค้นขึ้นมาเพื่อยับยั้งอาการผิดปกติของร่างกาย ซึ่งในการทดลองแค่ใช้กลุ่มคนตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้ใช้คนทั้งโลก จึงมีโอกาสที่เกิดการแพ้ได้ รวมไปถึงบางคนใช้ยาไม่ถูกต้องก็มีปัญหาสุขภาพใหม่ได้ ดังนั้นควรทราบ 7 ข้อควรระวังในการใช้ยา ดังนี้
- ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เคยมีประวัติเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ และหอบหืด
- เด็กแต่ละช่วงวัย ผู้ปกครองไม่สามารถซื้อยามาให้เด็กทานเองได้ ต้องได้รับแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น
- ชนิดยาแอมบรอกซอล (Ambroxol) จะใช้ได้กับเด็กอายุที่ต่ำกว่า 2 ปีก็ต่อเมื่อแพทย์สั่งจ่ายยามา
- เด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี ใช้ยาชนิดบรอมเฮกซีน (Bromhexine) ได้ก็ต่อเมื่อแพทย์สั่งจ่ายยามาเช่นกัน
- ยาคาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine) ไม่แนะนำให้ใช้กับเด็กที่ต่ำกว่า 15 ปี เพราะความปลอดภัยยังไม่มีหลักฐานหรืองานวิจัยชัดเจน
- หญิงให้นมบุตร และหญิงมีครรภ์ไม่ว่าจะอายุครรภ์กี่เท่าใดต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
- ไม่ควรทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลาเกิน 14 วัน
ทานยาละลายเสมหะไปแล้ว อาการแย่ลงทำยังไง
เมื่อทานยาตามที่แพทย์หรือเภสัชกรจ่ายมาครบแล้ว แต่อาการทรงตัวไม่ดีขึ้น หรือบางรายแย่ลง แนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์และทำการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยที่มีเสมหะเยอะ แพทย์จะใช้เครื่องดูดเสมหะช่วยในการรักษา ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ตรงจุด ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที และเห็นผลลัพธ์ที่ดีทันที หลังเข้ารับการรักษา
ผลข้างเคียงจากยา
ถึงแม้ว่าตัวยาจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงอยู่สำหรับบางคนที่ใช้ยาไม่ถูกต้อง ใช้ยาเกินขนาด และแพ้ยา โดยมีผลข้างเคียงต่อไปนี้
- วิงเวียนและปวดศีรษะ
- ง่วงซึมตลอดทุกวัน
- มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย
- หายใจไม่โล่ง ติดขัด
- ใบหน้าและปากบวมผิดปกติ
- ปวดท้องรุนแรง
- คลื่นไส้และอาเจียนบ่อย
อาการแพ้
หากทานยาละลายเสมหะแล้ว ร่างกายเกิดการต่อต้านหรือที่เรียกว่า “แพ้ยา” สิ่งที่ร่างกายแสดงอาการออกมา คือ รู้สึกหายใจไม่สะดวก หายใจติดขัด ไม่โล่ง วิงเวียนศีรษะ ตลอดไปจนถึงใบหน้า ปาก ลิ้น ลำคอ บวมแดง สำหรับบุคคลที่ทานยาละลายเสมหะไปแล้ว และมีอาการข้างต้น ให้สันนิษฐานว่าตนเองแพ้ยาและนำตัวยารีบไปพบแพทย์ทันที จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที
สรุปแล้ว
เสมหะ หนึ่งในสารชนิดหนึ่งที่ร่างกายมนุษย์ผลิตขึ้นมาเอง เพื่อช่วยให้ความชุ่มชื่นแก่ระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้การทำงานของระบบดังกล่าวดีขึ้น เมื่อระบบทางเดินหายใจเกิดความผิดปกติ เช่น ฝุ่นเยอะ น้ำหอมฉุน ฯลฯ ทำให้ทางเดินหายใจผิดปกติ ร่างกายก็จะผลิตเสมหะออกมาเยอะขึ้น จนทำให้รู้สึกไม่สบาย ระคายเคืองคอ หายใจไม่สะดวกและไอในที่สุด วิธีการรักษาจะใช้นิยมใช้ยาละลายเสมหะ เพราะทำปฏิกิริยากับเสมหะโดยตรงและลดอาการไอด้วย แต่การทานต้องศึกษาข้อมูลแล้วได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น จึงจะปลอดภัยต่อตนเองและคนในครอบครัว
ที่มา
https://www.verywellhealth.com/mucolytics-overview-914793