อาการคนท้อง ระยะแรก 3 วัน ไปจนถึง 1 – 2 สัปดาห์ วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่?

อาการคนท้อง ระยะแรกในแต่ละวัน สัปดาห์ หรือแต่ละเดือนนั้นจะมีการอาการที่แตกต่างกัน วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ ในช่วงแรกอาการคนท้อง 3 วัน 1 สัปดาห์ สัปดาห์แรก หรืออาการคนท้อง 1 เดือน ที่คาบเกี่ยวในช่วงเริ่มตั้งครรภ์จะมีอาการที่คล้ายๆกัน โดยสามารถตรวจสอบได้จากรายละเอียดดังต่อไปนี้

ระยะแรกๆ ของ อาการคนท้อง 3 วัน ไปจนถึง 1 – 2 สัปดาห์

อาการคนท้อง 3 วัน วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วนั้นจะไม่สามารถทราบผลได้ทันที เนื่องจากระยะเวลาในการปฏิสนธิอาจจะต้องใช้เวลา 1 – 2 สัปดาห์ จึงไม่สามารถสังเกตอาการที่ผิดปกติของร่างกายได้ ดังนั้นสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีการคุมกำเนิดนั้นสามารถตรวจครรภ์ได้ในช่วง 10 – 12 วันหลังมีเพศสัมพันธ์การตรวจครรภ์จะได้ผลลัพธ์ตรงมากที่สุด

การที่จะให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำมากขึ้นนั้น ควรตรวจในช่วง 14 – 21 วันหรือ 2 – 3 สัปดาห์ เพื่อให้ระดับฮอร์โมนเอชซีจี (HCG: Human Chorionic Gonadotropin) ที่ถูกสร้างจากรก หลังปฏิสนธิ ในปัสสาวะมากเพียงพอในการวัดผล

วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ สังเกตุอาการเบื้องต้นของคนท้องได้ดังนี้

  1. ขาดประจำเดือน หรือ ประจำเดือนนั้นไม่มาตามปกติหรือมาล่าช้า 12 – 16 วัน
  2. อาการแพ้ท้อง อาเจียน เวียนศีรษะ เป็นผลมากจากระดับฮอร์โมนเอชซีจี (HCG: Human Chorionic Gonadotropin) ในร่างกายนั้นสูงขึ้น
  3. อาการตกขาวมากผิดปกติ เกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ทำร่างกายจะมีการสร้างมูกในบริเวณปากมดลูกมากขึ้น และออกมาเป็นตกขาว
  4. ช่องคลอดมีเลือดออก โดยในช่วง 6 – 12 วันแรกของการตั้งครรภ์นั้น อาจจะมีเลือดออกลักษณะเป็นจุดเลือดเล็กๆ ซึ่งเกิดจากการที่ไข่ปฏิสนธิเข้าไปฝังตัวในผนังมดลูก และตกออกมาเป็นเลือด โดยทั่วไปเลือดลักษณะนี้จะหายไปในไม่กี่ชั่วโมงหรือ 2 – 3วัน
  5. อุณหภูมิร่างกายสูงมากขึ้น คนท้องจะมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว เกิดจากอุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้น โดยทั่วไปอาการนี้จะอยู่ติดต่อกัน 18 วัน
  6. เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ผลจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในช่วง 1 สัปดาห์แรกจะส่งผลให้ร่างกายจะเหนื่อยล้า อ่อนเพลียมากกว่าปกติ เกิดอาการหน้ามืด เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลง โดยเกิดจากการหย่อนตัวของหลอดเลือดส่งผลให้ระดับความดันโลหิตต่ำลง จึงทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง
  7. ท้องผูก ช่วง 3 เดือนแรกนั้นร่างกายคนท้องจะมีการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่มากขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อลำไส้คลายตัว ลำไส้จึงเคลื่อนไหวช้า และจะเกิดอาการท้องผูกตามมา
  8. ไวต่อกลิ่น จมูกไว ระดับฮอร์โมนเอชซีจี (HCG: Human Chorionic Gonadotropin) ในร่างกายมากขึ้น ส่งผลให้ฮอร์โมนอื่นๆนั้นมากขึ้นตามไปด้วย จึงทำให้จมูกไวต่อกลิ่นมากขึ้น จนถึงขั้นเหม็น อาเจียน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นอาการ “แพ้ท้อง” อาการเหล่านี้จะดีขึ้นภายใน 12 – 16 สัปดาห์
  9. เบื่ออาหาร สาเหตุของการเบื่ออาหารนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายที่ผิดปกติ และส่งผลให้คนท้องนั้นเกิดอาการเบื่ออาหารตามมา
  10. อยากกินของเปรี้ยว กลุ่มอาหารที่มีรสชาติอมเปรี้ยวนั้น ช่วยแก้อาการพะอืดพะอมจากการแพ้ท้อง ลดอาการอาเจียนลงได้ รสชาติเปรี้ยวจะกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย เพิ่มความอยากอาหารให้คุณแม่
  11. เจ็บหัวนม และ คัดเต้านม พบในช่วงประมาณ 2 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เป็นกลุ่มอาการแรกๆของคนท้อง ซึ่งจะรู้สึกเจ็บเต้านม คัดตึงเต้านม เสียวหัวนม
  12. หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน เพราะฮอร์โมนและร่างกายของคนท้องนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงตั้งครรภ์ คนท้องจะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์แล้วหลังจากที่ตัวอ่อนเข้าไปฝังอยู่ภายในผนังมดลูกได้สำเร็จ โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 6-12 วันหลังจากการตกไข่
  13. ความต้องการทางเพศลดลง ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เปลี่ยนแปลงอาจมีส่วนทำให้ความต้องการทางเพศลดลง
  14. ปัสสาวะถี่มากขึ้น ช่วงตั้งครรภ์ มดลูกจะเกิดการขยายตัว จนไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะรวมถึงมีเลือดไหลเวียนมายังบริเวณอุ้งเชิงกรานมากขึ้น จึงทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะถี่มากขึ้น
  15. ปวดหลัง ส่วนใหญ่พบในคนท้องที่อายุครรภ์มากขึ้น และน้ำหนักตัวลูกในครรภ์มากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังตามมา

สัปดาห์ที่ 1 – 4

เป็นระยะที่เกิดการปฏิสนธิเกิดขึ้นในร่างกาย ฮอร์โมนในร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้มีอาการต่างๆเหล่านี้

  • ประจำเดือนขาด เป็นอาการแรกๆของการตั้งครรภ์
  • มีอาการตกขาวเพิ่มมากขึ้น เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย อาการตกขาวในคนท้องเป็นเรื่องปกติเป็นกลไกของร่างกายที่สร้างมูกขาวมาเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่โพรงมดลูก ตกขาวที่ปกติจะมีลักษณะเป็นมูกใสสีขาวขุ่นเหมือนแป้งเปียก ไม่มีกลิ่น อาการตกขาวจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ 1 สัปดาห์แรกเป็นต้นไปจนกว่าจะคลอด
  • มีอาการปัสสาวะบ่อยมากขึ้น  อาการปัสสาวะบ่อยในช่วง 1 – 2 สัปดาห์ เกิดจากมดลูกที่ขยายตัวมากขึ้นเมื่อขยายตัวก็จะต้องการเลือดไปเลี้ยงที่มดลูกมาก จึงทำให้ไตทำงานมากขึ้นจึงปัสสาวะบ่อย
  • เต้านมใหญ่ คัดตึง เสียวบริเวณหัวนม และรู้สึกเจ็บ นอกจากลักษณะของเต้านมจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบริเวณลานนมจะมีสีเข้มมีนุ่มนูนเล็กๆขึ้นที่ลานนม ซึ่งอาการนี้เป็นอาการหนึ่งที่เห็นชัดเจนมากในหญิงตั้งครรภ์

สัปดาห์ที่ 5 – 8

เป็นระยะที่ทารกในครรภ์ถึงแม้จะยังมีขนาดเล็กมากแต่จะเริ่มมีการสร้างอวัยวะสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบประสาท หู ตา ปอด ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ หัวใจ กล้ามเนื้อแขน ขา นิ้วเป็นต้น อาการคนท้อง ในระยะนี้จะมีอาการดังนี้

  • มีอาการเวียนศีรษะมึน งง
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อยากนอนตลอดเวลา
  • เต้านมใหญ่ คัดตึง เสียวบริเวณหัวนม และรู้สึกเจ็บ
  • มีอาการปัสสาวะบ่อยมากขึ้น
  • น้ำหนักตัวอาจเพิ่มมากขึ้น เล็กน้อย
  • มีอาการหงุดหงิดง่าย คลื่นไส้อาเจียน เหม็นกลิ่นต่างๆ

สัปดาห์ที่ 9

ทารกในครรภ์จะเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร หัวใจงานได้ดีมากขึ้น มีการสร้างอวัยวะต่างๆเช่นอวัยวะเพศ และลิ้นฟัน ทารกเริ่มมีการขยับแขนขาบ้างแต่ยังไม่สามารถรู้สึกได้ อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 9 มีดังนี้

  • มีอาการแพ้ท้อง หนักมากยิ่งขึ้น
  • มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเทอโรนในร่างกายเพิ่มมากขึ้นเพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมผลิตน้ำนม จึงทำให้มีอาการเจ็บเต้านม และขนาดของเต้านมจะใหญ่มากขึ้น ลานนมหัวนมมีสีดำคล้ำ
  • มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย และอารมณ์อ่อนไหว อารมณ์ไม่คงที่

สัปดาห์ที่ 10

เป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงร่างกายของทารกในครรภ์หลายด้าน ทั้งทางด้านหัวใจที่เริ่มทำงานได้สมบูรณ์สามารถฟังเสียงหัวใจของทารกได้จากเครื่องมือทางการแพทย์  อวัยวะต่างๆในร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทั้งนิ้วมือนิ้วเท้ามีเล็บ มีผมอ่อนๆ มีการผลิตฮอร์โมนเพศ อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 10 มีดังนี้

  • มีอาการท้องอืดและผายลมบ่อย
  • มดลูกมีขนาดโตมากขึ้น ทำให้ท้องขยายมากขึ้น
  • มีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย อยากพักผ่อนมากขึ้น

สัปดาห์ที่ 11

ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 4 เซนติเมตรและจะมีขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆอย่างรวดเร็ว  แขน ขา มือนิ้ว ทำงานได้อย่างสมบูรณ์มีการสร้างใบหูและขนาดของศีรษะเริ่มมีขนาดใหญ่มากขึ้นเริ่มเค้าโครงของใบหน้า และอวัยวะเพศเริ่มเห็นชัดเจน อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 11 มีดังนี้

  • มีอาการท้องผูก อาหารไม่ย่อย มีกรดในกระเพราะ และมีอาการกรดไหลย้อน
  • อาการแพ้ท้องเริ่มลดลง แต่ยังคงมีอาการหงุดหงิดง่าย อารมณ์อ่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
  • มีอาการหิวบ่อย น้ำหนักตัวเริ่มมากขึ้น ท้องขยายใหญ่มากขึ้น
  • เต้านมขยายใหญ่มากขึ้น สีคล้ำมากขึ้น

สัปดาห์ที่ 12

ทารกในครรภ์ขนาดประมาณ 5 เซนติเมตรมีการพัฒนาของโครงสร้างกระดูกในร่างกาย มีการพัฒนาต่อมรับรสและไตสามารถขับของเสียได้ตามระบบ อวัยวะต่างๆเช่น นิ้วมือ แขน ขา ขยับได้มากขึ้น อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 12 มีดังนี้

  • ท้องมีขนาดใหญ่มากขึ้นทำให้ขยับร่างกายได้ลำบาก
  • ผิวหนังเริ่มแตก และมีอาการคัน  เนื่องจากร่างกายขยายมากขึ้น
  • ฮอร์โมนเริ่มคงที่อารมณ์หงุดหงิดง่าย เริ่มลดลง
  • มีอาการท้องผูกมากขึ้น เนื่องจากกระบวนการย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่เนื่องมาจากระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนรบกวนระบบย่อยอาหาร

สัปดาห์ที่ 13

ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 7 เซนติเมตร แขนขาเริ่มยาวมากขึ้น ตา หูทำงานได้ดีมากขึ้น เริ่มมีการสร้างอวัยวะเพศทั้งอัณฑะและรังไข่สามารถเห็นเพศได้ชัดเจน  อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 13 มีดังนี้

  • อาการแพ้ท้องเริ่มลดน้อยลง และสามารถปรับตัวได้ดีมากขึ้น
  • ท้องขยายใหญ่มากขึ้นทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดชายโครง
  • มีอาการเหงือกอักเสบ

สัปดาห์ที่ 14

ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 9 เซนติเมตร ทารกปัสสาวะได้เอง  อวัยวะต่างๆ และต่อมรับรสทำงานได้ดีมากขึ้น ทารกจะเริ่มแสดงสีหน้าได้ชัดเจน เส้นขนเริ่มปกคลุมร่างกายมากขึ้น อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 14 มีดังนี้

  • เห็นท้องชัดมากขึ้น ท้องขยายใหญ่จากขนาดของทารกที่เพิ่มมากขึ้นจึงทำให้มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เส้นเอ็ด เนื่องจากร่างกายต้องรองรับขนาดของท้องที่ใหญ่มากขึ้น
  • มีอาการหิวตลอดเวลา กินจุมากขึ้น อาการแพ้ท้องเริ่มหายไป

สัปดาห์ที่ 15

ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร อวัยวะต่างๆในร่างกายทำงานได้ดี สามารถกำมือได้ สะอึกได้ มีขนคิ้วและผม ขึ้น อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 15 มีดังนี้

  • มีอาการป่วยง่าย เนื่องจากภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง
  • มีเลือดกำเดาไหล และมีอาการเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากหลอดเลือดที่บางลง
  • น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น

สัปดาห์ที่ 16

ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 12 เซนติเมตร กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและหลังของทารกทำงานได้ดีจึงสามารถแสดงสีหน้าได้ชัดเจน หูเริ่มได้ยินชัดจนมากยิ่งขึ้น ตาเริ่มรับแสงได้ อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 16 มีดังนี้

  • เริ่มรู้สึกได้ถึงอาการดิ้นของทารกในครรภ์แบบเบาๆ
  • มีอาการอึดอัด หายใจไม่สะดวก เพราะมดลูกมีขนาดใหญ่จนไปเบียดบริเวณปอด
  • มีอาการท้องผูก เพราะมดลูกขยายไปกดลำไส้
  • ผิว เล็บ เส้นผม มีความเงางาม สวยงาม คุณแม่จะสวยมากในช่วงนี้

สัปดาห์ที่ 17

ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 13 เซนติเมตร รกเริ่มหนาขึ้น การหายใจเริ่มทำงานได้ดี ระบบประสาทพร้อมสำหรับการทำงานหลังคลอด ระบบกระดูกแข็งแรง อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 17 มีดังนี้

  • น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ท้องขยายมากทำให้เห็นลอยแตกที่ท้องมากขึ้น
  • มีอาการตกขาวเพิ่มมากขึ้น
  • มีเหงื่อออกมาก เนื่องจากระบบไหลเวียนในร่างกายที่ทำงานมากขึ้น

สัปดาห์ที่ 18

ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 14 เซนติเมตร คุณแม่จะสามารถรับรู้ได้ถึงอาการดิ้นของทารกในครรภ์ และสามารถเห็นเพศของทารกได้อย่างชัดเจน อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 18 มีดังนี้

  • หิวบ่อยมากขึ้น ต้องกินบ่อยๆตลอดเวลา
  • มีอาการแขน ขา มือ บวมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นอาการปกติของคนท้อง
  • มีอาการปวดหลังเนื่องจากหลังต้องรองรับท้องที่ขยายใหญ่มากขึ้น
  • มีอาการเป็นตะคริว เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น

สัปดาห์ที่ 19

ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร มีการสร้างไขมันมาคล้ายแว๊กซ์มาเคลือบที่ตัวของทารก มีเส้นผมมากขึ้น ทารกได้ยินเสียงต่างๆชัดเจนมากขึ้น ประสาทสัมผัสทำงานดีขึ้น อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 19 มีดังนี้

  •  ท้องขยายมากขึ้นทำให้อาจมีอาการปวดท้อง และมีอาการแน่นท้อง จุกเสียด
  • รู้สึกได้ถึงการดิ้นของทารก ในระยะนี้ในคุณแม่นับจำนวนครั้งในการดิ้นของทารกในแต่ละวันด้วยนะคะ

สัปดาห์ที่ 20

ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 16 เซนติเมตร ทารกสามารถลืมตาได้ ระบบย่อยอาหารเริ่มทำงาน ทารกจะกลืนน้ำคร่ำและสะสมไว้ในลำไส้หรือถ่ายออกมาปนกับน้ำคร่ำ (ขี้เทา )ทารกสามารถรับรสชาติได้แล้ว อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 20 มีดังนี้

  • น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นประมาณอาทิตย์ละครึ่งกิโล
  • มีอาการตกขาวมากขึ้น เป็นอาการปกติ
  • รู้สึกอึดอัดหายใจลำบากเวลานอน เนื่องจากระดับยอดมดลูกเคลื่อนมาอยู่ในระดับสะดือ

สัปดาห์ที่ 21

ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 26 เซนติเมตร ทารกเริ่มมีขยับตาได้ คุณแม่จะรู้สึกถึงการดิ้นของทารกได้ชัดมากยิ่งขึ้น แต่ทารกจะนอนประมาณ 14 ชั่วโมงต่อวัน มีการพัฒนาของไขกระดูก  ตับ และม้าม และต่อมรับรสสามารถรับรสชาติได้ เพราะฉะนั้นแม่ทานอะไรทารกจะได้รับรสชาติด้วย อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 21 มีดังนี้

  • ท้องจะขยายใหญ่จนเห็นเส้นเลือดใสๆ จนมีมีอาการคัน ท้องลอยมากขึ้น
  • เนื่องจากฮอร์โมนที่แปรปรวนจึงทำให้คนท้องบางคนมีสิวขึ้น
  • มีอาการเส้นเลือดขอด

สัปดาห์ที่ 22

ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 28 เซนติเมตร ใบหน้าเริ่มมีความชัดเจนเหมือนทารกมากขึ้น อวัยวะในร่างกายเริ่มมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 22 มีดังนี้

  • มีอาการอึดอัด หายใจไม่สะดวก เพราะมดลูกมีขนาดใหญ่จนไปเบียดบริเวณปอด
  • สะดือเปลี่ยนแปลงไป มีอาการสะดือปูดออกมาจนเห็นชัดเจน แต่จะหายเป็นปกติหลังคลอด

สัปดาห์ที่ 23

ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 30 เซนติเมตร ทารกที่อยู่ในสัปดาห์ที่ 23 สามารถคลอดออกมามีชีวิตได้แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เนื่องจากอวัยวะต่างๆเริ่มทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ปอดเริ่มพัฒนาเตรียมการหายใจด้วยตนเอง อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 23 มีดังนี้

  • มดลูกขยายมากขึ้นทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • มีอาการเลือดกำเดาไหล และเลือดออกตามไรฟัน

สัปดาห์ที่ 24

ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 30 เซนติเมตร ใบหน้าเริ่มชัดเจน สมองเติบโตอย่างรวดเร็ว อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 24 มีดังนี้

  • ท้องใหญ่มากขึ้น เห็นรอยเส้นตรงกลางหน้าท้องชัดเจน
  • ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลีย
  • มีอาการตกขาวมากขึ้น เป็นอาการปกติ

สัปดาห์ที่ 25

เป็นไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ซึ่งทารกจะมีขนาดใหญ่มากขึ้นผิวหนังเป็นสีชมพู คุณแม่รับรู้ได้ถึงการเคลื่อนไหวของทารก อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 25 มีดังนี้

  • มีอาการริดสีดวงทวาร เนื่องจากมดลูกมีขนาดใหญ่จนกดทับเส้นเลือดบริเวณทวาร
  • มีอาการปวดหลัง ปวดสะโพก และปวดขา
  • มีอาการท้องอืด ทานอาหารได้น้อยลง อิ่มง่าย

สัปดาห์ที่ 26

ทารกในครรภ์มีขนาดใหญ่ขึ้นมากจะมีน้ำหนักประมาณ 800 กรัม อวัยวะต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างเต็มที่ อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 26 มีดังนี้

  • นอนไม่หลับ เนื่องจากปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • รู้สึกตาพร่า ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงทำให้ตาแห้ง
  • มีอาการเท้าบวม น่องบวม เท้าชา

สัปดาห์ที่ 27 – 29

ทารกในครรภ์มีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ความยาวประมาณ 36 เซนติเมตร  อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 27 – 29  มีดังนี้

  • มีอาการเส้นเลือดขอด
  • เป็นตระคริวที่ขา
  • หายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย
  • มีอาการปวดหน่วงๆที่บริเวณมดลูก
  • มีอาการบวม ที่มือ เท้า

สัปดาห์ที่ 30 – 32

ทารกในครรภ์มีการพัฒนาการในระบบทางเดินอาหาร ปอด ไขกระดูก สมองมีการพัฒนามากขึ้น รวมถึงอวัยวะต่างๆทำงานได้ดีมากขึ้น ความยาวของทารกประมาณ 40 เซนติเมตร น้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 30 – 32  มีดังนี้

  • มีอาการแพ้ท้องคล้ายไตรมาสแรกเนื่องฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง
  • มีอาการท้องอืด จุดเสียดแน่นหน้าอก
  • มีอาการบวม ที่มือ เท้า
  • มีอาการปัสสาวะบ่อย
  • มีอาการเจ็บคัดตึงเต้านม และเริ่มมีน้ำนมไหลออกมาก

สัปดาห์ที่ 33 – 34

ทารกในครรภ์มีน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม อวัยวะต่างๆทำงานได้ดีขึ้น มีระบบภูมิคุ้มกันตัวเอง ตาสามารถรับแสงแยกกลางวันกลางคืนได้ อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 33 – 34  มีดังนี้

  • นอนไม่ค่อยหลับเนื่องจากร้อนตลอดเวลา หายใจไม่สะดวก ปัสสาวะบ่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดท้องบ่อยๆ
  • รู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของทารกมากขึ้น
  • มีอาการเวียนศีรษะมึนงง ขี้หลงขี้ลืม
  • มีอาการปวดหน่วง บริเวณหัวเหน่า บ่อยมากขึ้น
  • รู้สึกปวดเกร็งที่บริเวณยอดมดลูก เป็นพักๆ

สัปดาห์ที่ 35 – 36

ทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักประมาณ 2.4 – 2.7 กิโลกรัมและจะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยาวประมาณ 45 เซนติเมตร มีความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ  สมอง ตับ ไต พัฒนาอย่างดีขึ้นต่อเนื่อง ทารกเริ่มเคลื่อนตัวไปที่อุ้งเชิงกรานในสัปดาห์ที่ 36 อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 35 – 36  มีดังนี้

  • เริ่มมีอาการเจ็บหลอก เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก และอาจมีเลือดออกเล็กน้อยที่ช่องคลอด
  • นอนไม่ค่อยหลับเนื่องจาก ปัสสาวะบ่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การหายใจเริ่มดีขึ้นเนื่องจากมดลูกลดต่ำลง
  • มีอาการปวดหน่วง บริเวณหัวเหน่า บ่อยมากขึ้น จนเดินไม่สะดวก

สัปดาห์ที่ 37 -38

ทารกจะเริ่มกลับหัวลงมาเพื่อเตรียมตัวคลอด อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 37  มีดังนี้

  • มีอาการเจ็บท้องเตือนบ่อยมากขึ้น ต้องคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
  • มีตกขาวเพิ่มมากขึ้น คอยสังเกตตกขาวที่ออกมาว่ามีมูกเลือดออกแสดงถึงอาการใกล้คลอด
  • มีอาการกังวล นอนไม่หลับ เครียด
  • มีอาการปวดหน่วง บริเวณหัวเหน่า บ่อยมากขึ้น
  • มีน้ำนมไหลออกมา

สัปดาห์ที่ 39 – 40

อาการคนท้อง ช่วงระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์คุณแม่ควรจะช่วงนี้สัปดาห์นี้ หากไม่คลอดต้องรีบทำการปรึกษาแพทย์เพื่อทำการผ่าคลอดต่อไป อาการของคนท้องในสัปดาห์ที่ 39 – 40  มีดังนี้

  • มีอาการปวดที่บริเวณช่องคลอด ปวดปัสสาวะบ่อย
  • คอยสังเกตตกขาวที่ออกมาว่ามีมูกปนเลือดออกมาแสดงถึงอาการปากมดลูกเปิด ปวดท้องมดลูกหกรัดตัว ถี่มากขึ้น แสดงว่า ใกล้คลอด

ข้อมูลเพิ่มเติม

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top