ผ้าอนามัยแบบสอด ข้อเสีย ข้อดี มีอะไรบ้าง ใช้ได้ไหม เหมาะกับใคร ใส่ยังไง ใส่ตอนว่ายน้ำได้หรือไม่ เป็นคำถามที่ผู้หญิงหลายๆคนนั้นสงสัยกันเป็นอย่างมาก รายละเอียดมีดังต่อไปนี้
ผ้าอนามัยแบบสอด เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิงเมื่อมีประจำเดือน ปกติแล้วผู้หญิงมักจะรู้จักและคุ้นเคยกับผ้าอนามัยแบบแผ่นมากกว่า เพราะเป็นรูปแบบแรก ๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้นมา ซึ่งการใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่นมีการซึมซับที่ดีตามการพัฒนาอยู่แล้ว
ผ้าอนามัยแบบสอด คืออะไร
บางครั้งการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น ปีนเขา ว่ายน้ำ เล่นกีฬากลางแจ้ง ฯลฯ การสวมใส่ผ้าอนามัยแบบเดิมไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป จึงได้มีการคิดค้นผ้าอนามัยแบบสอดขึ้นมา ที่มีลักษณะเป็นแท่งสำลีอัดแข็ง มีขนาดของแท่งตามปริมาณวันมาน้อย วันมาปกติ และวันมามาก แล้วส่วนปลายของแท่งจะมีเชือกยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตรติดอยู่ เพื่อสะดวกในการสวมใส่และถอดเปลี่ยนระหว่างวัน ปัจจุบันยอดขายผ้าอนามัยแบบแท่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นผู้หญิงทุกคนต้องหาข้อมูลก่อนใช้งานจริง
ผ้าอนามัยแบบสอด กับ ผ้าอนามัยแบบแผ่น แตกต่างกันยังไง
เชื่อว่าผู้หญิงหลายคน อยากลองเปลี่ยนผ้าอนามัยให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของตนเอง แต่เมื่ออ่านชื่อของผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัยแบบสอดและแบบแผ่นแล้ว ไม่สามารถแยกแยะรูปแบบผลิตภัณฑ์ได้ชัดเจน เพราะมองไม่เห็นความแตกต่างในด้านอื่น ๆ จึงตัดสินใจใช้งานได้ยากและไม่กล้าเปิดใจ ซึ่งในหัวนี้ ได้แยกความแตกต่างตามตารางให้ศึกษา ดังนี้
ชนิด | ลักษณะผลิตภัณฑ์ | การใช้งาน | การรองรับเลือดประจำเดือน | ราคาต่อชิ้น |
ผ้าอนามัยแบบแผ่น | เป็นแผ่น มีทั้งแบบหนาและบาง | ติดกับกางเกงใน | 2-3 ชั่วโมงเปลี่ยนแผ่น | 5-7 บาทต่อแผ่น |
ผ้าอนามัยแบบสอด | เป็นแท่งสำลีอัดแข็ง | สอดเข้าไปในช่องคลอด | 3-4 ชั่วโมงเปลี่ยนแท่ง | 8-10 บาทต่อแท่ง |
โดยผ้าอนามัยแบบสอดมีให้เลือกหลากหลายขนาด สามารถเลือกที่เหมาะสมกับสรีระและปริมาณเลือดประจำเดือนของตนเองได้ ช่องทางการซื้อสะดวก มีวางจำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อและร้านค้าออนไลน์ทั่วไป
ข้อเสีย และ ข้อดี
แม้ว่าผ้าอนามัยแบบสอดจะเริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อผู้หญิงในช่วงที่มีรอบเดือนมากขึ้น แต่การใช้งานเหมาะสมกับบางคน และไม่เหมาะสมกับบางคน ดังนั้นควรศึกษารายละเอียด ข้อดี –ข้อเสีย ประกอบการตัดสินใจไว้ ดังนี้
ข้อดี | ข้อเสีย |
---|---|
1. คล่องตัว สามารถทำกิจกรรมโลดโผนได้หรือการเล่นกีฬากลางแจ้งสามารถทำได้ | 1. เสี่ยงต่อการติดเชื้อ Toxic Shock Syndrome: TSS ชนิดรุนแรง เมื่อใช้งานไม่ถูกวิธี |
3. สะดวกในการใช้งาน พกพาง่าย | 2. ช่องคลอดเกิดการเกร็งได้ง่าย และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เหยื่อพรหมจรรย์ของผู้หญิงฉีกขาด |
4. ราคาประหยัด เมื่อเทียบกับความถี่ในการเปลี่ยนต่อวัน | |
5. ซึมซับได้ดี มีหลายชนิดให้เลือก ทั้งวันมาน้อย วันมาปกติ และวันมามาก |
ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดบนโลก เมื่อมีข้อดีย่อมมีข้อเสีย เพราะอนาคตยังมีการพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ให้สนองความต้องการของมนุษย์ที่ไม่มีสิ้นสุด สำหรับผ้าอนามัยแบบสอด ข้อดีมีหลายข้อ แต่ข้อเสียที่เกิดขึ้น เกิดจากการไม่ดูแลรักษาความสะอาดและไม่เข้าใจวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง จึงเป็นเหตุผลที่ไม่ว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัยแบบสอดหรืออื่น ๆ จำเป็นต้องมีความรู้รอบด้านก่อนเสมอ
วิธีใส่ ผ้าอนามัยแบบสอด ที่ถูกต้อง
สำหรับการใช้งานผ้าอนามัยแบบสอดที่ถูกวิธีและปลอดภัยไม่ได้ยากอย่างที่คิดเพียงแค่สละเวลาศึกษาข้อมูลและนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเท่านั้น นอกจากไม่รู้สึกเจ็บแล้ว ยังห่างไกลการติดเชื้อในช่องคลอดอีกด้วย ซึ่งมี 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
- ทำความสะอาดมือให้เรียบร้อย ล้างด้วยสบู่และเช็ดให้แห้งทุกครั้งก่อนสอดใส่ผ้าอนามัย
- ท่าทางในการสอดใส่ผ้าอนามัยมี 2 ท่าที่สะดวก ควรสวมใส่ในห้องน้ำจะง่ายที่สุด
- ท่ายืน ให้ยกขานำเท้าไปวางที่ผ้าชักโครกข้างใดข้างหนึ่ง
- ท่านั่ง ให้ขึ้นไปนั่งบนชักโครกคล้ายกับท่าปัสสาวะ
- ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดช่วยเปิดช่องคลอด แล้วใช้มือข้างที่ถนัดสอดใส่ผ้าอนามัยเข้าไปในช่องคลอด ให้สวมใส่ด้านที่ไม่มีเชือกเข้าไป และดันให้ลึกประมาณ 4-5 เซนติเมตร สามารถใช้อุปกรณ์ช่วยดันได้หรือใช้นิ้วปกติก็ได้เช่นกัน และถ้าสวมใส่ถูกต้อง ข้อสังเกต คือ จะมีปลายเชือกห้อยระย้าอยู่ด้านนอก
ใส่ผ้าอนามัยแบบสอด ปัสสาวะยังไง
เนื่องจากระหว่างวันร่างกายจำเป็นต้องขับของเสียออกมา ซึ่งการขับของเสียในร่างกายที่ผู้หญิงกังวลมากที่สุด ในการใช้งานผ้าอนามัยแบบสอด คือ การปัสสาวะ เดิมทีการสวมใส่แบบแผ่น สามารถถอนกางเกงในและปัสสาวะได้ทันที เมื่อเป็นแบบสอด ผู้หญิงบางคนไม่กล้าทำธุระส่วนตัว กลั้นปัสสาวะจนกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ช่องคลอดกับช่องทางปัสสาวะจะอยู่คนละจุด แต่ใกล้ ๆ กัน ดังนั้นสามารถปัสสาวะได้ตามปกติ เพียงแค่ตอนปัสสาวะให้จับเชือกที่อยู่ด้านนอกหลบเล็กน้อย เพื่อป้องกันปัสสาวะกระเด็นใส่ แล้วยังทำให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะเพศลดน้อยลงด้วย
ใส่ผ้าอนามัยแบบสอด ใส่ว่ายน้ำได้ไหม
การใส่ผ้าอนามัยแบบสอดทำให้ประสิทธิภาพของการเล่นกีฬากลางแจ้งดีมากขึ้น ผู้หญิงจำนวนมากจึงเกิดความสงสัย ถ้าใส่ผ้าอนามัยแบบสอดลงเล่นน้ำทำได้หรือไม่ ตอบเลยว่า ได้! เนื่องจากการทำงานของผ้าอนามัยแบบสอด หลังจากที่สอดใส่ในช่องคลอด ประจำเดือนไม่สามารถไหลออกมาได้ และน้ำก็ไม่สามารถเข้าไปได้เช่นกัน แต่หลังจากที่ว่ายน้ำจนพอใจแล้ว ต้องรีบเปลี่ยนแท่งใหม่ทันที ไม่ควรใส่แท่งเดิมคาไว้และไปทำกิจกรรมอย่างอื่นต่อ เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
ผลข้างเคียงจากการใช้ (TTS: Toxic Shock Syndrome)
กลุ่มอาการติดเชื้อที่ช่องคลอด เมื่อใส่ผ้าอนามัยแบบสอดไม่ถูกวิธี คือ TTS: Toxic Shock Syndrome อ่านว่า ท็อก – ซิก – ช็อก เป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง ซึ่งมีอาการดังนี้
- ไข้ขึ้นสูงชนิดเฉียบพลัน ในขณะที่ทำกิจกรรมในแต่ละวันเหมือนปกติ
- ความดันในกระแสเลือดต่ำลง
- ท้องร่วง และอาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง
- มีผื่นแดงเกิดขึ้นบริเวณฝ่าเท้าและฝ่ามือ โดยไม่ทราบสาเหตุ
- ปวดหัว เวียนหัว มึนงง สมองคิดอะไรไม่ค่อยออก
- เมื่อยล้าร่างกาย ปวดตามกล้ามเนื้ออวัยวะต่าง ๆ
- ตา ปาก และคำคอแดง
- มีอาการชัก และร้ายแรงที่สุด คือ เสียชีวิต
ดังนั้นการสวมใส่ผ้าอนามัยแบบสอดหรือชนิดใดก็ตาม ถ้าไม่รักษาความสะอาด ใช้งานวิธีผิด ๆ ก็สามารถเกิดอาการข้างต้นได้เช่นกัน สำหรับผู้หญิงที่มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมาข้างต้น ให้รีบพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอให้อาการหนัก เพราะรู้สาเหตุและรักษาได้รวดเร็ว อาการก็จะไม่รุนแรง
ข้อแนะนำในการใช้
ในส่วนของข้อควรปฏิบัติ เมื่อใช้งานผ้าอนามัยแบบสอด นอกเหนือจากการสวมใส่ที่ถูกต้องแล้ว ยังมีคำแนะนำอื่น ๆ ที่รวบรวมมาได้ทั้งหมด 5 ข้อ เพื่อสุขภาพช่องคลอดที่ดี ดังนี้
- เปลี่ยนผ้าอนามัยแบบสอด ทุก ๆ 4 ชั่วโมง หรือวันไหนมีรอบเดือนมามาก ก็สามารถเปลี่ยนทุก 3 ชั่วโมงได้เช่นกัน
- เลือกใช้ผ้าอนามัยแบบสอดขนาดที่เหมาะสม เช่น วันมาน้อย ไม่ควรสวมใส่ขนาดของวันมามาก ฯลฯ เพราะไม่เกิดข้อดี แต่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
- หลังจากที่แกะผ้าอนามัยแบบสอดออกมาแล้ว อย่าวางทิ้งไว้ ให้รีบสอดใส่ทันที เพราะยิ่งตากอากาศนาน เชื้อโรคที่มองไม่เห็นก็ปนเปื้อนได้ง่าย
- ทำความสะอาดมือล้างให้เรียบร้อยทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังใส่ผ้าอนามัยแบบสอด และผ้าอนามัยที่ใช้แล้วควรห่อด้วยกระดาษหรือถุงที่มิดชิดทิ้งลงในถังขยะให้ถูกชนิด
- ขั้นตอนการสอดใส่ผ้าอนามัยแบบสอด ไม่ต้องเร่งรีบ สอดใส่อย่างเบามือที่สุด เพราะเนื้อเยื่อจุดซ่อนเร้นบอบบาง
ข้อห้ามของการใช้
การสวมใส่ผ้าอนามัยแบบสอด เมื่อมีคำแนะนำก็ต้องมีข้อควรระวังที่ไม่ควรทำเด็ดขาด หากได้กระทำลงไปแล้ว เกิดการติดเชื้อและข้อเสียอื่น ๆ ตามมาแน่นอน ดังนี้
- ผ้าอนามัยแบบสอดตกพื้น ห้ามหยิบขึ้นมาใช้ต่อ เพราะอันตรายมาก บนพื้นมีเชื้อโรคเยอะ จึงมีโอกาสติดเชื้อหลายสายพันธุ์
- ถ้าไม่ใช่วันที่ประจำเดือนมา ไม่ควรสวมใส่ผ้าอนามัยแบบสอดไว้ จะทำให้ช่องคลอดเกิดการระคายเคือง
- ไม่สวมใส่ผ้าอนามัยแบบสอด เมื่อต้องการมีเพศสัมพันธ์ เพราะผ้าอนามัยที่ใส่ไว้ จะถูกดันเข้าไปลึกมากกว่าเดิม ทำให้ไม่สามารถถอดได้ง่าย และทำให้เกิดการเสียดสีที่รุนแรง ภายในช่องคลอดมีโอกาสฉีกขาดได้
- ผ้าอนามัยแบบสอด ไม่ควรสวมใส่ตอนนอน และแต่ละแท่งสวมใส่ได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง ถ้ามากกว่านั้น เสี่ยงติดเชื้อ
สรุป
แต่ละเดือนที่ผู้หญิงมีรอบเดือนเป็นช่วงเวลาที่จุดซ่อนเร้นบอบบางมาก โดยที่กิจกรรมในแต่ละวันก็ต้องดำเนินต่อไป แล้วผ้าอนามัยที่รองรับเลือดประจำเดือนถูกพัฒนาและออกแบบมาหลากหลาย เพื่อให้ตรงกับไลฟ์สไตล์มากขึ้น ดังนั้นผู้หญิงทุกคนไม่ต้องกังวลใจช่วงรอบเดือนมาอีกต่อไป แม้การใช้ชีวิตแต่ละวันจะสุดเหวี่ยงขนาดไหน ผ้าอนามัยแบบสอดเอาอยู่ ด้วยรูปร่างและการทำงานไม่มีเลอะ เปรอะ เปื้อนให้รำคาญใจ แค่สวมใส่ให้ถูกต้องและรักษาความสะอาด ชีวิตง่ายขึ้นทันที