ยาเคลือบกระเพาะอาหาร (Stomach-lining protector) มีกี่ชนิด แต่ละชนิดเหมาะกับอาการแบบไหนบ้าง มีข้อควรระวังอย่างไร
กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบ บวม แดง ของเยื่อเมือกบุภายในกระเพาะอาหาร สามารถพบได้ในทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ สามารถพบได้ในทุกเพศทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งโรคนี้เกิดจากพฤติกรรมของการเลือกบริโภครับประทานอาหาร อาทิ การรับประทานอาหารรสจัด การรับประทานอาหารย่อยยาก รับประทานอาหารทอด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และภาวะความเครียด
อาการของโรคกระเพาะอาหาร ที่มักพบบ่อย คือ อาการปวดท้องตำแหน่งกระเพาะอาหาร หรือบริเวณใต้ลิ้นปี่จะปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อยขึ้น แน่นอึดอัดท้องทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รับประทานเข้าไป รวมถึงอาการคลื่นไส้ อาเจียน เมื่อมีอาการมากบางครั้งอาจอาเจียนเป็นเลือดได้ มีอาการเบื่ออาหาร และอาจผ่ายผอมลง นอกจากนี้ยังมีอาการเลือดออกจากเยื่อเมือกบุกระเพาะอาหาร และมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นสีดำเหมือนยางมะตอย
กลุ่มยารักษาอาการโรคกระเพาะอาหาร มีดังต่อไปนี้
ประเภทกลุ่มยารักษาโรคกระเพาะอาหาร
1. ยาปฏิชีวนะ ยาปฏิชีวนะช่วยในการการฆ่าเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ซึ่งอยู่ในระบบย่อยอาหาร เช่น ยาคลาริโธรมัยซิน (Clarithromycin) ยาอะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) หรือ ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole)
2. ยาลดกรด ยาลดกรดจะช่วยให้กรดในกระเพาะอาหารเกิดความสมดุล และช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง แต่อาจส่งผลข้างเคียงให้เกิดอาการท้องผูกหรือท้องร่วง ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวยาหลักในแต่ละชนิดยา อาทิ ยาลดกรดที่มีสารประกอบแมกนีเซียม ยาลดกรดที่มีสารประกอบอลูมิเนียม ยาลดกรดที่มีสารประกอบแคลเซียม
3. ยายับยั้งการหลั่งกรดและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นยาที่มีฤทธิ์หยุดการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
- ยากลุ่มโปรตอน ปั๊ม อินฮิบิเตอร์ (Proton Pump Inhibitors) จะมียาที่ต้องจ่ายโดยแพทย์ เช่น ยาลดกรด (Omeprazole) ยาแลนโซพราโซล (Lansoprazole) ยาราบีพราโซล (Rabeprazole) เด็กซ์แลนด์โซพราโซ(Dexlansoprazole) แพนโทพราโซล (Pantoprazole) ยา ส่วนตัวยาอีโซเมปราโซล (Esomeprazole) จะสามารถใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ หรือ หาซื้อเองได้ตามร้านขายยาทั่วไป
- ยาในกลุ่มยับยั้งฮิสทามีนชนิดที่ 2 (Histamine (H-2) Blockers) จะไปหยุดการทำงานของเซลล์ในกระเพาะอาหารทำให้ผลิตกรดลดลง ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง เช่น แรนิทิดีน (Ranitidine) ฟาโมทิดีน (Famotidine) ไซเมทิดีน (Cimetidine) นิซาติดีน (Nizatidine) เป็นต้น
4. ยาเคลือบกระเพาะอาหาร ยาเคลือบกระเพาะอาหารจะทำหน้าที่เคลือบเยื่อบุและแผลที่เกิดภายในกระเพาะอาหารจากกรด เช่น ยาซูคราลเฟต (Sucralfate) หรือยาบิสมัท (Bismuth) ที่ใช้เคลือบกระเพาะอาหารแล้วและยังช่วยป้องกันการเกิดแผลในทางเดินอาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจากการใช้ยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบร่วมด้วย
5.ยาต้านอาเจียนหรือยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
ตัวยาจะมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เป็นผลจากความผิดปกติของกระเพาะอาหารหรือลำไส้
ยาเคลือบกระเพาะช่วยอะไร
ยาเคลือบกระเพาะจะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยขับลม ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร และ ลำไส้ ไม่ทำให้เกิดความระคายเคืองต่อแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการท้องอืด อาการท้องเฟ้อ อาการจุกเสียดแน่น อาการอาหารไม่ย่อย อาการปวดท้อง อาการแน่นท้อง อาการแสบร้อนกลางอก อาการกรดไหลย้อน และกลืนลำบากอันเนื่องมาจากกรดไหลย้อน
ยาเคลือบกระเพาะควรเลือกรับประทานอย่างไรดี
ยาเคลือบกระเพาะอาหาร สามารถรับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ โดยสามารถรับประทานได้ทั้ง 2 กรณี กรณีรับประทานยาก่อนอาหารจะต้องทานยาก่อนมื้ออาหาร 1 ชั่วโมง และ หากเป็นกรณีเลือกรับประทานหลังอาหาร เลือกรับประทานหลังอาหาร 2 ชั่วโมงหลังจากมื้ออาหาร รวมทั้งยาเคลือบกระเพาะอาหารควรรับประทานยาก่อนนอนด้วย เนื่องจาก ยา sucralfate เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารซึ่งยากลุ่มนี้ควรรับประทานตอนท้องว่าง เพื่อให้ยาเคลือบแผลที่กระเพาะอาหาร นอกจากนี้แพทย์ยังสั่งให้กินยาลดกรดก่อนนอนด้วย เพราะในช่วงกลางคืนจะมีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารออกมากอีกด้วย
ยาเคลือบกระเพาะมีกี่ประเภท
ยาเคลือบกระเพาะแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. ซูคราลเฟต (Sucralfate)
ยาซูคราลเฟตจะออกฤทธิ์เป็นเมือกปกคลุมแผลในกระเพาะ และออกฤทธิ์ได้นานมากกว่า 6 ชั่วโมง ทั้งยานี้ห้ามใช้ร่วมกับยาลดกรด เนื่องจากยาลดกรด เช่น ยาแคลเซีนมคาร์บอเนต อะลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์, แมกนิเซียมไฮดรอกไซด์ จะทำให้ภาวะความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร และไส้เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ยาซูคราลเฟตไม่สามารถจับกับเยื่อเมือกของผนังกระเพาะและลำไส้ได้ จึงทำให้ลดประสิทธิภาพในการรักษาของยาซูคราลเฟต หากมีความจำเป็นต้องรับประทานร่วมกัน ควรรับประทานยาให้ห่างกันอย่างน้อย 30 นาที
2. บิสมัทซับซาลิไซเลท (Bismuth Subsalicylate)
ยาบิสมัทซับซาลิไซเลท จะออกฤทธิ์จับกับแผลในกระเพาะ และก็กระตุ้นการหลั่งเมือกเคลือบด้านในกระเพาะ ถ้าหากใช้เป็นระยะเวลาที่ยาวนานอาจจะก่อให้อุจจาระเป็นสีดำได้
ยาเคลือบกระเพาะทำปฏิกิริยากับเชื้อโรค
ยาเคลือบกระเพาะอาหาร (Stomach-lining protector) หรือเรียกกันว่า ‘ยาเคลือบกระเพาะ’ เป็นยากลุ่มที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเยื่อบุทางเดินอาหาร โดยการเคลือบอยู่บนผิวของเยื่อบุทางเดินอาหารนั้น จึงลดโอกาสที่เยื่อบุทางเดินอาหารจะสัมผัสกรดจากกระเพาะอาหาร จึงช่วยลดอาการอักเสบหรือจากแผลในกระเพาะอาหาร รวมทั้งการเกิดแผลของเยื่อบุกระเพาะอาหารที่อาจเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารได้
3. ยาซูคราลเฟต (Sucralfate) กับแผลในกระเพาะอาหาร
ยานี้มีองค์ประกอบ sulfated polysaccharide, sucrose octasulfate และ aluminum hydroxide จะออกฤทธิ์กระตุ้นการสร้าง growth factors โดยเร่งกระบวนการ angiogenesis และกระตุ้นการสร้าง PGE2, mucus-bicarbonate และ granulation tissue เพื่อซ่อมแซมแผลในกระเพาะอาหาร
นอกจากนี้ sucralfate ยังช่วยเคลือบหลุมแผลป้องกันการซึมผ่านของกรด HCL, pepsin และ oxygen free radicals เข้าสู่แผลในกระเพาะอาหาร
ข้อควรระวัง
เมื่อซื้อยานี้มารับประทานเองแล้ว อาการไม่ดีขึ้นหรือไม่ทุเลาในระยะเวลาประมาณ 7 – 10 วัน ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุเพื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสม
- ยานี้มีส่วนผสมของเกลืออลูมิเนียม (Aluminium salt) ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคไต
- ควรระวังการใช้ยาในสตรีตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- ยากลุ่มนี้รบกวนการดูดซึมยากันชัก ยาฆ่าเชื้อ/ยาปฏิชีวนะ เช่น เตตร้าซัยคลีน (Tetracycline), ไซโปรฟล๊อคซาซิน (Ciprofloxacin)
- ยาซูคราลเฟต (Sucralfate) มีผลต่อระบบประสาท (aluminium neurotoxicity) นอกจากนี้ยาซูคราลเฟต (Sucralfate) สามารถรบกวนการดูดซึมของยาหลายชนิด เช่น ยา H2RA, ยาปฏิชีวนะกลุ่ม fluoroquinolone และยากันชัก phenytoin เป็นต้น เพราะฉะนั้น ควรรับประทานยา sucralfate ภายหลังจากยาอื่น ๆ แล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
ผลข้างเคียงการใช้ยาซูคราลเฟต (Sucralfate)
- อาการท้องผูก
- อาการเวียนศีรษะ ง่วงซึม หรือบ้านหมุน
- อาการคัน และมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
- อาการริมฝีปากแห้ง
- อาการคลื่นไส้ อาเจียน
- อาการปวดศีรษะ
- อาการปวดหลัง
- อาการปวดท้อง มีลมในกระเพาะ
- อาการท้องเสีย
2. บิสมัทซับซาลิไซเลท (Bismuth Subsalicylate) กับแผลในกระเพาะอาหาร
ยานี้มีประสิทธิภาพในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี โดยเชื่อว่า bismuth จะช่วยกระตุ้นการสร้าง PGE2, ลด peptic activity, จับกับ mucus ช่วยลดการซึมผ่านของกรด HCL เข้าสู่แผลในกระเพาะอาหาร
นอกจากนี้ bismuth ยังมีฤทธิ์กำจัดเชื้อ H. pylori ได้ ยานี้ออกฤทธิ์ในทางเดินอาหารเป็นหลัก และถูกแบคทีเรียในลำไส้เปลี่ยนให้เป็น bismuth sulfide ทำให้อุจจาระมีสีดำ แต่ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย สาร bismuth สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้เล็กน้อย และจะถูกขับออกทางไตเป็นหลัก แต่ไม่ควรใช้ยานี้ในขนาดสูงเพราะจะเสี่ยงการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันช และควรระวังการใช้เป็นพิเศษในผู้ป่วยที่มีไตวายอยู่เดิมเพื่อป้องกันภาวะ bismuth inducedencephalopathy
นอกจากนี้ยังต้องระวังปฏิกิริยา DDI ระหว่างยา bismuth กับยาบางชนิดที่ต้องใช้ร่วมกัน เช่น ยา bismuth จะเพิ่มระดับยา methotrexate และ warfarin ทำให้เสี่ยงต่ออาการข้างเคียงจากยาดังกล่าว และพบว่ายา bismuth จะลดระดับยาปฏิชีวนะ tetracycline ลงได้
ข้อควรระวัง
- ยาบิสมัทซับซาลิไซเลท (Bismuth Subsalicylate) ควรรับประทานยา bismuthsubsalicylate ขนาด 524 มิลลิกรัม
วันละ 4 เวลา หรือขนาด 1,045 มิลลิกรัม วันละ 2 เวลา ติดต่อกันนาน 8-12 สัปดาห์
***หมายเหตุ การรับประทานยาบิสมัธซับซาลิไซเลท (Bismuth Subsalicylate) ไม่ปลอดภัยเมื่อใช้ในปริมาณมาก***
ผลข้างเคียงการใช้ยาบิสมัทซับซาลิไซเลท (Bismuth Subsalicylate)
- ยา Bismuth Subsalicylate อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง อาทิ บริเวณลิ้นเป็นสีดำ ท้องผูก และอุจจาระเป็นสีเข้มหรือสีดำ หากผู้ป่วยมีอาการแย่ลงหรือมีอาการเหล่านี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
- หากมีอาการแพ้ยา โดยมักจะเกิดผื่น ลมพิษ มีอาการบวมที่ริมฝีปาก ลิ้น ใบหน้าและคอ หรือหายใจลำบาก
- อาการปวดหัว เวียนหัว
- อาการอ่อนเพลีย ง่วงซึม
- อาการหูอื้อ หรือ สูญเสียการได้ยิน
- อาการหิวน้ำมากผิดปกติ
- อาการเหงื่อออกมาก
- อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ตัวสั่น หรือ ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
- อาการคลื่นไส้หรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง
- อาการท้องร่วงติดต่อกันนานกว่า 2 วัน
- อาการปวดท้องรุนแรงขึ้น
ยาเคลือบกระเพาะหาซื้อได้ที่ไหน
ยาเคลือบกระเพาะกลุ่มนี้ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป สามารถหาซื้อทานเองได้ แต่ก็ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาทุกครั้ง
อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ด้วยการรับประทานยารักษาแผลในกระเพาะอาหารจะต้องรับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 4- 8 สัปดาห์ หากยังมีอาการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอยู่นั้นให้รีบพบแพทย์ทันที ทั้งนี้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และ การเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม เช่น รับประทานอาหารอ่อน อาหารย่อยง่าย งดรับประทานอาหารรสจัด หรืออาหารประเภททอด งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงงดสูบบุหรี่ หากิจกรรมผ่อนคลายทำ ไม่เคร่งเครียดจนเกินไปจะสามารถช่วยให้โรคกระเพาะอาหารอักเสบหายได้
ที่มา