ปวดท้องข้างซ้าย เจ็บท้อง บน-ล่าง สัญญาณเตือน! เสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง?

ปวดท้องข้างซ้าย (Left Abdominal Pain) เจ็บท้องข้างซ้าย หรือ ปวดท้องน้อยด้านซ้าย เกิดได้ทั้งชายและหญิง มีอาการได้หลายรูปแบบ เช่น ปวดท้องน้อยด้านซ้ายล่าง จี๊ดๆ ใต้ซี่โครง ปวดร่วมกับอาการร้าวไปหลัง มีลมในท้อง เป็นต้น ซึ่งตำแหน่งและอาการปวดนั้นจะแตกต่างกันออกไป อาการที่มักพบบ่อยมีดังนี้

ปวดท้องข้างซ้าย จี๊ดๆ ผู้หญิง ปวดท้องน้อยด้านซ้ายล่าง

ส่วนใหญ่นั้นจะมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ถ่ายหรือปัสสาวะกะปริดกะปรอย สาเหตุอาจเกิดจากนิวในกระเพาะปัสสาวะ หรือ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือบางครั้งนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากปวดเกร็งช่วงเป็นประจำเดือน

ปวดท้องข้างซ้าย ร้าวไปหลัง

ในบริเวณนี้จะเป็นตำแหน่งของปีกมดลูก หรือลำไส้ใหญ่ กรวยไต ท่อไต ซึ่งอาจมีโอกาสเกิดโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะดังกล่าว เช่น นิ่วในไต เป็นต้น และนอกจากนั้นแล้วในบริเวณนี้เป็นตำแหน่งของกล้ามเนื้ออิลิโอโซแอส (Iliopsoas) เป็นกล้ามเนื้อมัดลึกที่เกาะบริเวณกระดูกสันหลัง มักเกิดจากการที่กล้ามเนื้อเกร็งเป็นเวลานานซึ่งผู้ป่วยควรสักเกตุอาการของตัวเองว่าระหว่างวันได้ใช้กล้ามเนื้อตรงบริเวณนี้มากเป็นพิเศษหรือไม่ เช่นอาจเกิดจากท่านั่งขณะทำงาน เป็นต้น

และหากกล่าวถึง “อาการปวดท้อง” เมื่อมีอาการ ผู้ป่วยมักจะอธิบายให้แพทย์ฟังไม่ถูก เพราะจับตำแหน่งปวดไม่ได้ ซึ่งท้องข้างซ้ายจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ดังนี้ 

  1. ท้องข้างซ้ายด้านบน จะเป็นตำแหน่งใต้ซี่โครง ซึ่งอวัยวะที่เกี่ยวข้องในตำแหน่งดังกล่าว จะประกอบไปด้วย กระเพาะอาหาร ตับ ลำไส้ ปอด ม้าม ไตด้านซ้าย และหัวใจ เป็นต้น
  2. ท้องข้างซ้ายด้านล่าง ปวดท้องน้อยด้านซ้าย จะเป็นตำแหน่งเหนือปีกมดลูกเล็กน้อย ซึ่งอวัยวะที่เกี่ยวข้องในตำแหน่งดังกล่าว จะประกอบไปด้วย ท่อไต ปีกมดลูก ลำไส้ใหญ่ รังไข่ ต่อมลูกหมาก เป็นต้น 

แล้วอาการยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในตำแหน่งข้างต้น และแต่ละชนิดมีความอันตรายแตกต่างกัน ดังนี้

  1. ชนิดเฉียบพลัน จะเป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นกะทันหัน ไม่มีสัญญาณเตือนสุขภาพใด ๆ มาก่อน ซึ่งอาการปวดชนิดนี้ ระยะแรกเริ่มจะมีอาการปวดไม่รุนแรง แต่ปวดแบบไม่ทันตั้งตัว และก็หายไปเอง หรือทานยาลดปวดก็บรรเทาอาการได้ 
  2. ชนิดเรื้อรัง จะเป็นอาการที่ต่อเนื่องจากมาชนิดแรก ถ้าไม่มีการรักษา และเป็นอาการที่แพทย์พบบ่อยที่สุด เนื่องจากผู้ป่วยคิดเสมอว่าปวดท้องธรรมดา จึงไม่ได้หาสาเหตุ ก็จะมีอาการปวด ๆ หาย ๆ มาตลอด ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่รักษายากขึ้นกว่าชนิดแรก

โดยข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น การปวดท้องข้างซ้ายเป็นสิ่งที่ควรระวังทั้งสาเหตุและชนิดของอาการ เช่น สาเหตุการปวดมาจาก ปอด อวัยวะที่ช่วยในการหายใจเข้านำออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงสมองและอวัยวะต่าง ๆ และหายใจออกขับอากาศพิษออกจากร่างกาย เมื่อปอดเกิดความผิดปกติ ส่งผลให้การนำออกซิเจนเข้าร่างกายไม่เพียงพอ อากาศเสียในร่างกายไม่ถูกจำกัด ผลข้างเคียงระยะแรก ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และเป็นลมหมดสติได้ 

รู้ได้ยังไง ปวดท้องไม่ใช่โรคกระเพาะ 

เมื่อรู้สึกว่าปวดท้อง! สิ่งแรกที่มักจะนึกถึง คือ โรคกระเพาะ ซึ่งเป็นอาการปวดท้องยอดฮิตที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศและทุกวัย แต่ถ้าลองสังเกตดี ๆ จะรู้ได้ทันที อาการปวดท้องข้างซ้ายแตกต่างกับการปวดท้องโรคกระเพาะ โดยมีรายละเอียดตามตาราง ดังนี้ 

ปวดท้องข้างซ้ายปวดท้องโรคกระเพาะ
อาการปวด จะอยู่ในบริเวณของท้องด้านซ้ายมือ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านบนและด้านล่าง ซึ่งสาเหตุมาจาก “อวัยวะใกล้เคียง” มีความผิดปกติอาการปวด จะอยู่ในบริเวณกระเพาะอาหารเท่านั้น โดยมีสาเหตุมาจาก “กรด” ในกระเพาะ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ ฯลฯ 

จากข้อมูลบนตาราง เมื่อรู้สึกว่าปวดท้อง สิ่งแรกที่ควรพิจารณา คือ ปวดท้องตำแหน่งใด ชนิดใด เพื่อจะได้ดูแลตนเองได้ถูกวิธี และบอกอาการกับแพทย์ได้ครบถ้วน การวินิจฉัยจะตรงกับโรคมากขึ้น

สาเหตุการปวดท้องซ้าย สังเกตได้ที่จุดปวด 

การค้นหาสาเหตุของอาการปวด ถ้าทางการแพทย์จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ประกอบการวินิจฉัยโรค เพื่อทำการรักษา ดังนี้

  1. โรคทางศัลยกรรม เป็นอาการที่ต้องใช้การส่องกล้องเพื่อวินิจฉัย และใช้การผ่าตัดเป็นการรักษาเท่านั้น 
  2. โรคทางอายุรกรรม เป็นอาการที่ใช้การรักษาหลากหลาย เช่น ทานยา ฉีดยา ฯลฯ 

ซึ่งผู้ป่วยทั่วไปมักจะไม่เข้าใจสาเหตุทางการแพทย์ ซึ่งในบทความยกมาอ่านให้เป็นความรู้ เพราะตอนไปรักษาจะถูกแบ่งสาเหตุตามหลักทางการแพทย์ โดยวิธีที่หาสาเหตุว่าอาการปวดท้องเกิดจากอะไรที่ง่ายที่สุด ดูจากตำแหน่งที่ปวด และมี 5 ตำแหน่งยอดนิยม ดังนี้

  1. โรคกรดไหลย้อน ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกปวดท้องข้างซ้ายด้านบน และมีอาการจุกเสียดที่หน้าอก เวลาหายใจ พูด หรือไอ จะมีกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายออกมาร่วมด้วย
  2. โรคลำไส้แปรปรวน เป็นอาการปวดท้องในตำแหน่งซ้ายบน ซึ่งเกิดจากการทำงานของลำไส้ที่ขับของเสียทำงานผิดปกติ มักจะมีอาการท้องผูก ท้องเสียร่วมด้วย 
  3. โรคตับอ่อนอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยจะมีอาการไข้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ และหลังทานอาหารเสร็จจะรู้สึกปวดท้องข้างซ้ายบนทันที 
  4. โรคไส้เลื่อน จะรู้สึกปวดท้องข้างซ้ายล่าง สามารถเป็นได้ทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใด ๆ ร่วมด้วย ดังนั้นเพศชายควรเฝ้าระวังตนเองให้ดี 
  5. โรคงูสวัด อาการทั่วไปที่เด่นชัด จะมีผื่นแดงตามร่างกายเป็นรอยยาวต่อกัน ซึ่งเกิดจากการเชื้อไวรัส Varicella-zoster virus แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะปวดท้องข้างซ้ายล่างเตือนก่อนมีผื่นขึ้น

7 วิธีป้องกันการปวดท้องข้างซ้ายทุกตำแหน่ง 

ถ้าร่างกายไม่แข็งแรง การซ่อมแซมให้อวัยวะกลับมาใช้งานได้ปกตินั้นยากมาก ต่อให้มีเงินหลายหมื่นล้าน ก็ไม่สามารถซื้อสุขภาพที่ดีกลับคืนมาได้ ยกเว้น การดูแลตนเองให้ดีแต่เนิ่น ๆ ด้วย 7 ข้อ ต่อไปนี้ 

  1. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และทานอาหารครบทุกมื้อ 
  2. ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้มากกว่า 8 แก้วต่อวัน ช่วยขับของเสียออกจากร่างกายได้ 
  3. ไม่สูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่ ซึ่งควันบุหรี่อันตรายกว่าสูบเองมาก
  4. แบ่งตารางเวลาในการออกกำลังกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ต้านโรคได้ 
  5. ล้างมือทำความสะอาดบ่อย ๆ ด้วยสบู่อ่อน แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค 
  6. งดรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนสิ่งสกปรก เช่น ตกพื้น มีแมลงวันตอม เป็นต้น 
  7. ตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำไม่ควรขาด เพื่อการดูแลสุขภาพที่ต่อเนื่อง

ปวดท้องข้างซ้ายระยะเริ่มต้น ควรรับมือยังไง 

อาการปวดไม่สามารถกำหนดเวลาปวดที่ชัดเจนได้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการช่วงกลางดึก ไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ จึงต้องเรียนรู้วิธีการรับมือ เมื่อมีอาการปวดระยะแรก สามารถดูแลตนเองได้ คือ การรับประทานยาบรรเทาอาการปวด การประคบเย็น วิธีให้นำผ้าสะอาดห่อน้ำแข็งประคบ ไม่ควรใช้น้ำแข็งแตะลงที่ผิวหนังโดยตรง เพราะจะทำให้ผิวหนังไหม้ได้ และการนอนพักผ่อนให้เพียงพอ หากทำครบทุกวิธีแล้ว อาการยังไม่มีท่าทีจะดีขึ้นเลย ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที

ปวดท้องข้างซ้ายแบบไหน ควรไปพบแพทย์ 

เนื่องจากความอดทนต่ออาการปวดของแต่ละบุคคลไม่เท่านั้น ดังนั้นจะทราบได้อย่างไร ปวดแบบไหน ต้องไปพบแพทย์ทันที มี 7 ข้อสังเกต ต่อไปนี้ 

  1. มีอาการอาเจียนติดต่อกันหลายครั้งในช่วงระยะเวลาใกล้ ๆ กัน 
  2. ปวดท้องชนิดรุนแรงและปวดหลายรูปแบบ เช่น ปวดแน่น ปวดบิด ปวดจุก ฯลฯ 
  3. อยู่ ๆ ก็มีอาการตาเหลือง แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพิ่งมาเป็นช่วงที่ปวดท้องข้างซ้าย 
  4. ไข้ต่ำตั้งแต่ 37.5 องศาขึ้นไป หากปวดท้องและมีไข้ร่วมด้วย ไม่ต้องรอไข้สูง แค่เริ่มตัวรุม ๆ รีบพบแพทย์ทันที
  5. มีอาการปวดท้องชนิดเรื้อรัง และน้ำหนักหายไปเกิน 10% ในระยะเวลาไม่กี่เดือน ทั้งที่รับประทานอาหารทุกมื้อ ไม่มีอด 
  6. รับประทานยาบรรเทาอาการปวดแล้วอาการดีขึ้น แต่ไม่หายขาดภายใน 14 วัน ต้องพบแพทย์ 
  7. เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดจางอยู่แล้ว ถ้ามีอาการปวดอีกให้เข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลทันที 

โดยสรุป

อาการปวดท้องข้างซ้าย จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ประกอบด้วยส่วนบนและส่วนล่าง และอาการปวดมีชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งอาการปวดท้องข้างซ้ายแต่ละตำแหน่งเกี่ยวข้องกับอวัยวะสำคัญภายในร่างกายหลายอย่างจึงอันตรายมาก ถ้าดูแลตนเองเบื้องต้นแล้วไม่หาย และมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาเจียน ปวดศีรษะ ท้องผูก มีไข้ ฯลฯ ต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์เท่านั้น

Scroll to Top