โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) สาเหตุ อาการ และรักษาอย่างไร?

โรคภาวะความดันโลหิตสูง อาการ สาเหตุ การป้องกัน การรักษา ซึ่งโรคนี้หากปล่อยให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะเวลานาน อาจจะส่งผลเสียต่อระบบต่างๆ ภายในร่างกาย จนนำไปสู่โรคอื่นๆอีกมากมาย เช่น หัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย  ไตวายเฉียบพลัน โรคเส้นเลือดสมองตีบหรือ แตก เป็นต้น ดังนั้นการควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

โรคความดันโลหิตสูง (HT ย่อมาจาก Hypertension) คืออะไร

โดยปกติแล้วระบบหัวใจของคนจะมีกระบวนการไหลเวียนไหลเวียนของโลหิตผ่านไปยังหลอดเลือดต่างๆ ในร่างกาย  ส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัว และความดันภายในร่างกายลดลง ในทางกลับกันหากหลอดเลือดเกิดการแข็งตัว หรือมีบางสิ่งบางอย่างอุดตันภายในหลอดเลือด ก็จะส่งผลทำให้หลอดเลือดที่ทำหน้าที่เป็นทางเดินของเลือดมีขนาดเล็กลง และความดันภายในร่างกายก็จะเพิ่มสูงขึ้นทันที รวมถึงส่งผลให้ความดันโลหิตภายในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงนั่นเอง

ซึ่งภาวะความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง โดยสามารถแบ่งประเภทของโรคได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  • เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ( Primary Hypertension ) ประเภทนี้มักจะพบในช่วงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี
  • เกิดจากโรคอื่นๆ ( Secondary Hypertension ) ประเภทนี้มักจะเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาประเภทต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเสพติด เป็นต้น

ค่าระดับของความดันโลหิตจำนวนเท่าไหร่ ที่บ่งบอกว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ค่าระดับของความดันโลหิตโดยปกติแล้วจะมี 2 ค่า ซึ่งค่าแรกจะอยู่บริเวณด้านบน เรียกว่า ค่าระดับความดันโลหิตซิสโตลิก ( Systolic Blood Pressure ) โดยจะมีความเกี่ยวข้องกับแรงดันของโลหิตเมื่อมีการบีบตัว และค่าที่สองจะอยู่บริเวณด้านล่าง เรียกว่า ค่าระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิก ( Diastolic Blood Pressure ) ค่านี้จะมีความเกี่ยวข้องกับแรงดันของโลหิตเมื่อมีการคายตัว 

ค่าความดันโลหิตระดับค่าบน SYSระดับค่าล่าง DIA
ค่าความดันพอดี เหมาะสม120  mmHg80  mmHg
ค่าความดันปกติ121 mmHg80 mmHg
ค่าความดันสูงกว่าปกติ139 mmHg89  mmHg
ค่าความดันสูงมาก140 mmHg 90 mmHg 
ค่าความดันที่อันตราย160 mmHg100 mmHg

สาเหตุและปัจจัยของโรคความดันโลหิตสูง

โดยส่วนใหญ่แล้วโรคความดันโลหิตสูงมักจะอยู่ในวัยผู้สูงอายุ เพศชายอายุ 64 ปีขึ้นไป เพศหญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป และอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับเชื้อชาติในบางประเทศ ส่วนใหญ่มักจะพบกับผู้ที่มีผิวสีมากกว่าผู้ที่มีผิวขาว โรคความดันโลหิตสูงมักไม่ค่อยเกิดขึ้นกับวัยเด็กหรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปีมากนัก แต่ถ้าหากเกิดขึ้นกับช่วงวัยเด็ก มักมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอย่างเช่น 

  • ตรวจพบเนื้องอกภายในร่างกาย 
  • ประวัติการรักษาของครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • ฮอร์โมนบางอย่างภายในร่างกายมีความผิดปกติ 
  • โรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคไต โรคเบาหวาน
  • การตั้งครรภ์ อาจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง
  • คนอ้วนที่อาจจะมีอาการนอนกรน นอนหลับไม่สนิท เมื่อตื่นเช้ามักจะไม่สดชื่น แจ่มใส ช่วงบ่ายเริ่มมีอาการง่วงนอน ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้ 

ซึ่งหากทราบว่าภาวะความดันโลหิตสูงนี้เกิดจากสาเหตุใดแล้ว จึงควรรีบรักษาโดยด่วนที่สุด เพื่อไม่ให้ก่อให้เกิดอันตราย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง 

พฤติกรรมจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง

  • การสูบบุหรี่วันละหลายมวน มีสารบางประเภทในบุหรี่อาจส่งผลให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดเกิดความเสียหาย
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความอ้วน ยาแก้ปวด อาจส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง
  • การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น เกลือ เครื่องปรุงรส และอาหารที่มีธาตุโพแทสเซียมต่ำ
  • การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ อาจส่งผลกระทบต่อระบบหัวใจ
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนหลับไม่สนิทในช่วงเวลากลางคืน อาจส่งผลให้ความดันโลหิตสูงมากกว่าการนอนหลับในช่วงกลางวัน
  • ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ผู้ป่วยนอนติดเตียง อาจส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น 
  • ความเครียด หากความเครียดสูง อาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น

อาการของโรคความดันโลหิตสูง ที่ควรรู้ก่อนถึงมือแพทย์

จากสถิติพบว่าจำนวนประมาณ 90% ของผู้ที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงนี้ มักจะไม่พบการแสดงออกของโรคแต่อย่างใด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วหากมีการแสดงออกของโรคก็จะอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างอันตราย โดยมักจะพบกับบุคคลที่มีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ เส้นเลือดสมองแตก น้ำท่วมปอด ระบบหัวใจล้มเหลว หรือไตเสื่อม เป็นต้น

ความอันตรายของโรคความดันโลหิตสูงนี้ มักจะมาจากแรงดันของโลหิตที่ไหลเวียนส่งผ่านไปยังอวัยวะส่วนปลาย ซึ่งหากมีแรงดันโลหิตเพิ่มสูง และถูกส่งผ่านไปยังอวัยวะส่วนปลายอย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้อวัยวะนั้นๆ ต้องรองรับแรงดันของเลือดที่มากเกินไป จนอาจจะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ และนั่นอาจจะหมายถึงความดันโลหิตที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว 

ผลกระทบจากการที่ร่างกายได้รับแรงดันโลหิตที่มากเกินไป

  1. ระบบสมองอาจจะเกิดอาการตีบ แตก
  2. ระบบหัวใจอาจจะส่งผลให้หัวใจพองโต และถ้าหากระบบหัวใจทำงานหนักมากขึ้น อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว น้ำท่วมปอดได้ 
  3. ดวงตามีเลือดออก มักจะเกิดจากอาการแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง 

โครงสร้างของอาหารในการรับประทาน DASH Diet สำหรับโรคความดันโลหิตสูง

การรับประทานอาหารแบบ DASH Diet ( Dietary Approaches to Stop Hypertension ) คือ การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการรูปแบบหนึ่ง โดยการลดรับประทานอาหารรสจัดจ้าน อาหารที่มีโซเดียมสูง ไขมันสูง และคอเลสเตอรอลให้น้อยลง รับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารที่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุและแคลเซียม โซเดียมต่ำ เพื่อช่วยลดความดันโลหิต และช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ 

หลักการรับประทานอาหารตามโครงสร้างแบบ DASH Diet

การรับประทานแบบ DASH Diet มักจะมีความเกี่ยวข้องกับอาการของโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งหากปรับเปลี่ยนมารับประทานอาหารประเภทนี้ก็จะส่งผลให้มีความดันโลหิตลดลง สามารถปฏิบัติตามหลักการโครงสร้างของอาหารประเภทนี้ได้ ดังนี้

  1. เน้นปริมาณผักและผลไม้ในมื้ออาหารเป็นอาหารหลัก จำนวนปริมาณของผักจะต้องมากกว่าจำนวนปริมาณของผลไม้เล็กน้อย ซึ่งผักนั้นจะมีแร่ธาตุที่สำคัญแก่ร่างกาย คือ แร่ธาตุโพแทสเซียม แมกนีเซียม และวิตามิน ที่จะช่วยในเรื่องของการลดความดันโลหิตแก่ร่างกาย ซึ่งปริมาณที่ควรรับประทานมักจะอยู่ที่ 4-5 ส่วนต่อวัน หรือประมาณ 1-2 กำมือ
  2. เลือกบริโภคข้าวกล้องหรือเลือกธัญพืชที่ไม่ผ่านขั้นตอนในการขัดสี ควรเลือกอาหารที่มีไฟเบอร์และใยอาหารที่สูง เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด ถั่วต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น ซึ่งถั่วประเภทนี้จะมีไฟเบอร์และวิตามินบางอย่างปะปนอยู่ในเมล็ดธัญพืช
  3. เลือกดื่มน้ำผักหรือน้ำผลไม้แบบไม่แยกกาก ควรเลือกดื่มน้ำผักประเภทใบ ไม่ใช้น้ำผักประเภทหัว ควรเลือกปั่นแบบไม่ต้องแยกกาก และไม่ควรเติมน้ำตาลทรายในระหว่างที่มีการปั่น หรือหากต้องการความหวานสักเล็กน้อย ควรเลือกเติมผลไม้ที่มีรสชาติหวานผสมเข้าไปด้วยกัน เพียงเท่านี้ร่างกายจึงจะได้น้ำตาลจากผลไม้ที่เพียงพอ
  4. เลือกรับประทานตามช่วง โดยช่วงแรกอาจจะเลือกรับประทานอาหารกลุ่มนี้เป็นบางมื้ออาหาร หรือเลือกรับประทานเป็นบางวันตามความสะดวกในการจัดเตรียมอาหาร โดยอาจจะเริ่มจาก 1 สัปดาห์ จัดเตรียมกลุ่มอาหาร DASH Diet อย่างน้อย 1-2 วัน และหลังจากนั้นจึงค่อยเพิ่มจำนวนวันให้มากขึ้นเรื่อยๆ
  5. เลือกบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ อย่างเช่น เนื้อปลา สัตว์ปีก อาหารทะเล และควรลดการบริโภคสัตว์เนื้อแดง เนื้อติดมัน อาหารแปรรูป เนื่องจากว่ากลุ่มอาหารประเภทนี้จะมีไขมันอิ่มตัว และยังมีโซเดียมจำนวนมากอีกด้วย
  6. งดรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ หรือไขมันอิ่มตัว ควรหลีกเลี่ยงไขมันที่เป็นก้อนหรือไข เลือกรับประทานหรือเลือกน้ำมันที่นำมาประกอบอาหารประเภทของเหลว อย่างเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง และควรหลีกเลี่ยงการประกอบอาหารประเภททอด อาหารหรือขนมที่มีเนย ครีม เป็นส่วนประกอบ รวมทั้งน้ำมันที่มีการใช้ซ้ำจำนวนหลายครั้ง 
  7. ลดปริมาณการรับประทานโซเดียม ควรรับประทานไม่เกิน 1200 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างเช่น เกลือ ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 1 ช้อนชา เครื่องปรุงรสต่างๆ อย่างเช่น ซีอิ๊ว น้ำปลา ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 3 ช้อนชา และควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทหมักดอง อาหารแปรรูป เครื่องปรุงรส สารปรุงแต่ง สารกันบูด รวมทั้งอาหารสำเร็จรูป

การจัดแบ่งมื้ออาหารในแต่ละวัน โดยการใช้ DASH Diet

หลังจากที่รับทราบเกี่ยวกับโครงสร้างของการรับประทานอาหารแบบ DASH Diet จากข้อมูลด้านบนแล้ว ผู้ป่วยหรือผู้ที่สนใจสามารถจัดแบ่งมื้ออาหารในแต่ละวันได้ง่ายๆได้ ดังนี้

  • มื้ออาหารหนึ่งมื้ออาจจะมีสลัด โดยมีส่วนประกอบหลักคือ ผัก และอาจจะมีการเพิ่มโปรตีน และเนื้อสัตว์เข้าไปเล็กน้อย เช่น ไข่ต้ม เนื้อไก่ หรือ เนื้อปลาทูน่า ซึ่งควรเลือกปลาทูน่าในน้ำแร่เพราะ ลดปริมาณโซเดียมลงได้
  • อาหารประเภทยำ อย่างเช่น ข้าวยำ ส้มตำ เมี่ยงปลาทู อาหารประเภทนี้มีส่วนช่วยในเรื่องของไขมันต่ำ และสามารถเติมโปรตีนจำพวกเนื้อสัตว์และ ไข่ต้มลงไปในอาหารสักเล็กน้อย อีกทั้งควรเลือกวิธีการปรุงรสด้วยตัวเอง

ตัวอย่างอาหาร DASH Diet

มื้ออาหารส่วนประกอบของอาหารสัดส่วนของอาหาร
อาหารมื้อเช้า ข้าวโอ๊ต โยเกิร์ตไขมันต่ำ ผลไม้ ไข่ต้มอย่างละ 1 ส่วน
อาหารมื้อกลางวัน ข้าวกล้อง ผัก เนื้อสัตว์ น้ำผักหรือน้ำผลไม้ (ไม่แยกกาก )รวมทั้งหมด 5 ส่วน
ระหว่างวันถั่วเมล็ดแห้ง เนื้อสัตว์ ไข่ต้ม ชาหรือกาแฟอย่างละ 1 ส่วน
อาหารมื้อเย็น ข้าวกล้อง ผัก เนื้อสัตว์ น้ำผักหรือน้ำผลไม้ (ไม่แยกกาก )รวมทั้งหมด 5 ส่วน

พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง หากไม่อยากเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง

มีหลากหลายวิธีที่จะสามารถปรับเปลี่ยนได้และส่วนหนึ่งนั้นมาจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง ซึ่งมีวิธีดังนี้

  1. ควรหยุดสูบบุหรี่ เพราะยิ่งสูบบุหรี่วันละหลายมวน ยิ่งส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น
  2. ควรงดการดื่มแอลกอฮอล์ หากงดไม่ได้ ควรลดการดื่มให้น้อยลง สำหรับผู้หญิงไม่ควรเกิน 1 แก้วต่อวัน และสำหรับผู้ชายไม่ควรเกิน 2 แก้วต่อวัน 
  3. ควรพักผ่อน ประมาณ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หากพักผ่อนน้อยหรืออดนอน อาจจะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นได้
  4. ควรหาเวลาผ่อนคลายความเครียด เพราะหากยิ่งมีความเครียดที่สะสมมาก อาจจะส่งผลให้อาการเจ็บป่วย รวมทั้งความดันโลหิตก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

หลักการใช้ยาสำหรับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงสำหรับผู้ป่วย

ปัจจุบันการลดความดันโลหิตสูงนั้นไม่ได้ใช้ยาในการรักษาเป็นหลัก แต่จะเป็นการรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ในบางกรณีที่ไม่สามารถควบคุมหรือปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาตามดุลยพินิจของแพทย์ 

หลักการใช้ยาในการรักษา

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วแต่ไม่สามารถทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ ผู้ป่วยจะต้องสังเกตค่าระดับความดันโลหิตว่ามีระดับที่สูงมากหรือไม่ หากมีค่าระดับความดันโลหิตที่สูงมากเกินไป และไม่สามารถควบคุมหรือปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในอยู่ในเกณฑ์ปกติได้ แพทย์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาในการรักษา
  • ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการอัมพฤกษ์ร่วมด้วย ซึ่งแพทย์อาจจะต้องมีการพิจารณาในการให้ยาสำหรับการรักษา
  • มีโรคประจำตัวมากมายหลายโรค และอาจมีโรคความดันโลหิตสูงร่วมอยู่ด้วยแล้ว แพทย์จึงจะพิจารณาในการที่จะรักษาด้วยยา ผู้ป่วยไม่สามารถจัดซื้อยารับประทานเองได้
  • อวัยวะส่วนปลายเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหาย โดยเริ่มตรวจอวัยวะส่วนปลายที่สำคัญภายในร่างกายก่อนที่อวัยวะนั้นจะเริ่มเสียหาย ซึ่งจะเริ่มตรวจการทำงานของไต หลอดเลือดส่วนปลาย หรือตรวจระบบหัวใจ หากพบว่ามีอวัยวะส่วนปลายที่ถูกทำลายบ้างแล้ว แพทย์ก็จะพิจารณาให้ยารักษาความดันโลหิตสูงต่อไป

การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ที่มีอาการด้วยโรคความดันโลหิตสูง

การออกกำลังกายแต่ละครั้ง ร่างกายมักจะหลั่งฮอร์โมนขึ้นในขณะที่ออกกำลังกาย ส่งผลให้ความเครียดและความดันภายในร่างกายลดลง อีกทั้งความยืดหยุ่นของหลอดเลือดดีขึ้นด้วย

วิธีการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ส่วนมากมักจะนิยมออกกำลังกายแบบแอโรบิก หรือออกกำลังกายแบบคาดิโอ อย่างน้อยประมาณ 30-50 นาที ต่อวัน หรือประมาณ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ อาจจะมากกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ และไม่ควรหยุดออกกำลังกายเกิน 2 วันต่อสัปดาห์  เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการบำบัด

การตรวจดัชนีมวลกายหรือ bmi นั้นสามารถบอกถึงสภาวะร่างกายในเรื่องของความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆได้ ควรตรวจ BMI อย่างเป็นระยะ เช่น ทุกๆ 3 เดือน เป็นต้น

ที่มา: https://thaicam.go.th

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top