อาหารเป็นพิษ อีกหนึ่งโรคที่อยู่ใกล้ตัว สำหรับอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) เป็นภาวะที่สามารถเกิดได้กับทุกคน โดยที่จะเกิดจากการที่เรารับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก จนทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน จนลามไปถึงมีอาการท้องเสีย ซึ่งปกติแล้ว อาการขั้นพื้นฐานจะไม่ได้มีอาการที่รุนแรงสักเท่าไหร่ แต่ถ้าหากเราไม่รีบรักษาจนเกิดอาการรุนแรง จะมีผลให้ร่างกายของเราเสียน้ำในปริมาณที่มากเกินไป จนลุกลามไปจนถึงเป็นอันตรายได้
สำหรับอาการของ อาหารเป็นพิษ ถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวเป็นอย่างมาก เพราะการรับประทานอาหารถือเป็นปัจจัยหลักในการใช้ชีวิตของคนทั่วไป เพราะฉะนั้นจึงสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ยิ่งกับประเทศไทยที่ถือว่าเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในบริเวณแทบร้อน ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวตลอดทั้งวันแบบนี้ จึงทำให้เชื้อโรคสามารถเติบโตได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราจะสามารถทำได้ก็คือ ควรที่จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันโอกาสที่จะเกิดสภาวะดังกล่าวกับตัวของเรา
สาเหตุอาหารเป็นพิษ
โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะอาหารเป็นพิษ จะเกิดขึ้นโดยตรงจากสาเหตุของการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม เพราะถ้าหากอาหารที่เราทานเข้าไปมีส่วนเจือปนของแบคทีเรีย ไวรัส และรวมไปถึงปรสิต โดยเชื้อเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักในการเกิดภาวะอาหารเป็นพิษได้
- ซาลโมเนลลา (Salmonella) โดยปกติทั่วไปแล้ว เราจะพบเจอได้ทั่ว ๆ ไปจาก สัตว์ดิบ ไข่ดิบ นม สำหรับเชื้อชนิดนี้จะเป็นสาเหตุโดยตรงที่จะทำให้เกิดอาการท้องเสีย ถ่ายมีมูล คลื่นไส้ และอาเจียนได้ และภายในเวลา 4-7 วัน คนที่ติดเชื้อดังกล่าวก็จะมีไข้ขึ้นสูงตามลำดับ
- เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia Coli) สำหรับสายพันธุ์ชนิดนี้นั้น จะมีอาการที่รุนแรงไม่เท่ากับ ซาลโมเนล (Salmonella) สำหรับเชื้อราชนิดนี้จะสามารถพบเจอได้จาก เนื้อสัตว์ดิบ โดยอาการเบื้องต้นที่สามารถพบเจอได้นั่นก็คือ ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ปวดมวนท้อง จนถึงมีอาการอาเจียน สำหรับสายพันธุ์นี้จะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน โดยจะมีอาการอยู่ในช่วงเวลา 1-10 วัน และจะหายไปตามลำดับ
- คลอสติเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) สำหรับเชื้อตัวนี้จะมีความพิเศษมากกว่าตัวที่กล่าวไปข้างต้น เพราะมันสามารถเติบโตได้ดีเป็นอย่างมากกับสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนน้อย เพราะฉะนั้นเราจึงสามารถพบได้ทั่ว ๆ ไปกับอาหารที่มีการบรรจุอยู่ภายในภาชนะที่มิดชิด โดยตัวอย่างที่สามารถพบเจอได้ง่ายก็คือ อาหารประเภทอาหารกระป๋องที่ได้รับการผลิตและผ่านกระบวนการที่ไม่ถูกต้องตามสุขอนามัย อย่างเช่น หน่อไม้ดอง ผักกาดดอง และรวมไปถึงเนื้อสัตว์แปรรูป เป็นต้น สำหรับสารพิษที่จะก่อตัวขึ้นมาสำหรับเชื้อชนิดนี้ก็คือจะทำให้ผู้ที่ติดเชื้อมีอาการ ป่วยอ่อน ๆ อาเจียน ถ่ายท้อง จนอาการลามไปถึงตาพร่ามัวจนทำให้การมองเห็นของเรามองเป็นภาพซ้อน ซึ่งในบางครั้งมันจะรุนแรงถึงขั้นเกิดภาวะหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ ถือว่าเป็นภาวะที่รุนแรงอย่างมาก
- ชิเกลล่า (Shigella) สำหรับเชื้อตัวนี้ ถือว่าเป็นภาวะที่สามารถพบเจอได้ทั่วไป โดยเราจะสามารถพบเจอได้จาก อาหารสด น้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของแบคทีเรีย และรวมไปถึงอาหารสดต่าง ๆ ที่มีการสัมผัสโดยตรงกับคนที่ติดเชื้อชนิดนี้ เพราะเชื้อชนิดนี้จะสามารถกระจายจากคนสู่คนได้ สำหรับอาการเบื้องต้นที่จะเกิดขึ้นก็คือ คลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง แต่อาการจะไม่หนักมากนัก โดยเชื้อจะใช้เวลาก่อตัวภายใน 7 วัน
อาการอาหารเป็นพิษ
สำหรับอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ส่วนใหญ่แล้วมักจะแสดงอาการออกมา โดยจะใช้เวลาอยู่ในช่วง 1-2 วันโดยประมาณ โดยปัจจัยจะขึ้นอยู่กับประเภทของเชื้อราที่เราได้รับเข้าไป โดยบางชนิดก็สามารถเกิดขึ้นได้ทันทีหลังจากที่รับประทานอาหารไปแล้วเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่ถ้าหากเราได้รับเชื้อที่รุนแรงเข้าไป ก็จะต้องรอนานถึงสัปดาห์กันเลยทีเดียว สำหรับอาการที่จะเจอในภาวะอาหารเป็นพิษ จะมีดังนี้
- อาการพื้นฐานก็คือจะมีอาการ พะอืดพะอม คลื่นไส้อยู่ตลอดเวลา จนลุกลามไปถึงมีการอาเจียนติดต่อกันจำนวนหลายครั้ง หรือที่บางคนจะมีอาการหนักรุนแรงจนถึงขั้นมีอาการอาเจียนออกมาเป็นเลือด
- สำหรับอาการปวดท้องแบบบิดเกร็ง สาเหตุของมันก็เป็นเพราะภายในร่างกายของเราจะมีการบีบตัวของลำไส้ จนทำให้มันเกิดอาการผิดรูป
- ไม่อยากน้ำ และ อาหาร เพราะหลังจากผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอะไรเข้าไป ก็จะทำให้ร่างกายของเรารู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย วิงเวียน และจะทำให้ไม่มีเรี่ยวแรงจะทำอะไร
- ระบบประสาทที่เปลี่ยนไป สำหรับใครที่มีอาการที่รุนแรง จะเกิดอาการ ภาพเบลอ มองไม่เห็น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น
ทั้งนี้ถ้าหากใครที่กำลังเผชิญกับอาการดังกล่าวอยู่ พยายามอย่าให้อาการรุนแรงเกินไป และถ้าหากเริ่มมีอาการที่เปลี่ยนไปเกี่ยวกับระบบประสาท ควรรีบเดินทางไปพบแพทย์ทันที ที่สำคัญไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจจะเป็นสาเหตุให้อาการแย่ลงได้
วิธีรักษาอาการอาหารเป็นพิษ
สำหรับอาการของภาวะอาหารเป็นพิษเบื้องต้น ที่ผู้เขียนได้กล่าวเอาไว้ในช่วงต้นของบทความ ถือว่าเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายมาก ๆ และอาการเริ่มต้นที่ไม่ได้รุนแรงเท่าไหร่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการที่ดีขึ้นตามลำดับ ด้วยการดูแลตัวเองอยู่ในที่พัก สำหรับข้อแนะนำในการปฏิบัติอย่างถูกต้องในการดูแลตัวเอง มีดังต่อไปนี้
- พักผ่อนให้เพียงพอ และพยายามดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อที่จะให้ร่างกายของเราไม่ขาดน้ำ เนื่องจากในขณะนั้นผู้ป่วยจะมีอาการไม่อยากอาหาร และรวมไปถึงมีอาการถ่ายท้อง จึงเป็นสาเหตุที่ควรจะต้องเติมเต็ม และทดแทนปริมาณของน้ำในส่วนที่ขาดหายไป
- ดื่มน้ำที่มีส่วนผสมของเกลือแร่ โดยที่เกลือแร่จะมีส่วนผสมหลักของเกลือและน้ำตาลกลูโคส เพราะฉะนั้นเราสามารถดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อนำเอาไปทดแทนน้ำและแร่ธาตุบางส่วนในร่างกาย ที่ได้สูญเสียไปกับการถ่าย และอาเจียน โดยที่เกลือแร่นั้นเราสามารถที่จะจิบทีละนิดได้ตลอดทั้งวัน
- เลือกรับประทานยาแก้ท้องเสียให้ถูกวิธี สำหรับการรับประทานยานั้นถือว่าเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ที่สำคัญควรเลือกยาที่มีคำแนะนำโดยตรงจากแพทย์ หรือ เภสัชกรโดยตรง เพราะถ้าหากใช้ยาผิดประเภท จะยิ่งทำให้อาการแย่ลงไปกว่าเดิม และควรที่จะรับประทานยาไปควบคู่กับทานน้ำและเกลือแร่ไปพร้อม ๆ กัน
- หลังจากที่มีอาการดีขึ้นตามลำดับแล้ว เราควรเลือกรับประทานอาหารที่เป็นอาหารประเภทอ่อน ๆ โดยอาหารประเภทนี้จะสามารถย่อยได้ง่าย แถมยังมีไขมันเข้ามาเป็นส่วนผสมในปริมาณที่น้อยอีกด้วย อย่างเช่นอาหารประเภท โจ๊กหรือข้าวต้ม สำหรับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเลยนั่นก็คือ อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และคาเฟอีน รวมไปถึงอาหารที่มีรสจัดมาก ๆ อีกด้วย
การป้องกันอาการอาหารเป็นพิษ
อย่างที่บอกว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นจะมาจากการที่เราเลือกรับประทานอาหาร เพราะอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น มีโอกาสโดยตรงที่จะเจือปนกับสิ่งสกปรกได้ทุกขั้นตอน เพราะฉะนั้นการรักษาความสะอาดจึงถือเป็นวิธีที่ง่าย และสำคัญที่สุด การล้างวัตถุดิบอย่างสะอาดจะสามารถช่วยให้เราหลีกเลี่ยงจากอาการอาหารเป็นพิษได้
- ดูแลอนามัยส่วนบุคคล สำหรับการรักษาความสะอาดสามารถเริ่มต้นได้ที่ตัวเราเอง สิ่งที่ไม่ควรลืมคือเราควรล้างมือทุกครั้งทั้งก่อนและหลังการรับประทานอาหาร โดยสามารถทำได้บ่อย ๆ จนกลายมาเป็นนิสัยเฉพาะได้ และรวมไปถึงพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงจากแหล่งที่เป็นแหล่งศูนย์รวมของเชื้อราอย่าง ราวบันได ปุ่มกดขึ้น-ลงลิฟต์ เป็นต้น
- บริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่เราควรเลือกมารับประทานควรจะต้องเป็นอาหารที่ได้รับการปรุงสดใหม่เสมอ หรือเป็นอาหารที่ผ่านความร้อนในปริมาณที่กำหนด เพราะความร้อนสามารถฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อนได้ และทุกครั้งถ้าหากเรารับประทานอาหารไม่หมด เราควรนำเอาไปแช่ไว้ภายในตู้เย็น โดยที่ไม่ควรนำเอามาวางทิ้งไว้ในสภาพของอุณหภูมิห้อง เพราะจะเป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของเชื้อราได้
- ดูแลรักษาความสะอาด โดยที่เราควรที่จะดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโดยรอบของพื้นที่ในส่วนของการเตรียมอาหาร และ ปรุงอาหาร
สรุป
ภาวะอาหารเป็นพิษถือว่าเป็นปัญหาใกล้ตัว ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศและทุกวัย โดยที่เราควรที่จะระวังกับช่วงเวลาของเด็กวัยแรกเกิดและคนชราเป็นอย่างมาก สำหรับอาการจะเกิดขึ้นมากน้อยแตกต่างกันไป โดยเราสามารถป้องกันสาเหตุดังกล่าวได้ง่าย ๆ โดยการรักษาความสะอาด ล้างมือบ่อย ๆ และสำหรับใครที่เกิดภาวะอาหารเป็นพิษ ควรเข้ารับการรักษาตามขั้นตอนให้ถูกวิธี เพื่อที่จะไม่ได้เกิดภาวะที่รุนแรง