ยาแก้ท้องเสีย (Antidiarrheal drug) มีอะไรบ้าง ยี่ห้อไหนดี เลือกอย่างไรให้ถูกประเภท

ยาแก้ท้องเสีย (ภาษาอังกฤษ Antidiarrheal drug) มีอะไรบ้าง เลือกยาอย่างไรให้ถูกกับประเภทการใช้งาน ยี่ห้อไหนดี พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

ท้องเสีย (DIARRHEA) คือ อาการขับถ่ายอุจจาระเหลวมีน้ำมากกว่าปกติ สาเหตุของอาการท้องเสียพบได้หลากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอวัยวะภายในกระเพาะอาหารและลำไส้ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิตหรือมีโรคแทรกซ้อน โดยแต่ละเชื้อโรคมีวิธีการรักษาแตกต่างกัน ทางการแพทย์จึงได้จำแนกอาการท้องเสียออกเป็น 2 ชนิด เพื่อง่ายต่อการวินิจฉัยหาวิธีรักษาที่ถูกต้อง ดังนี้ 

  1. ท้องเสียชนิดเฉียบพลัน เป็นอาการท้องเสียอุจจาระร่วงที่ไม่มีอาการผิดปกติของร่างกายเตือนก่อน ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อโรค 3 ชนิด ได้แก่ 
  • เชื้อแบคทีเรีย เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด กึ่งสุกกึ่งดิบหรือมีสารปนเปื้อน 
  • เชื้อไวรัส เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่อยู่ใกล้ระบบขับถ่าย ระบบย่อยอาหาร เช่น โรต้าไวรัส ไซโตเมกาโลไวรัส ฯลฯ ส่วนใหญ่อาการท้องเสียหายภายใน 7 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วย
  • เชื้อปรสิต เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีปรสิตปนเปื้อนเข้าร่างกาย โดยปรสิตที่พบบ่อย ได้แก่ เชื้อไกอาเดีย เชื้อแอนตามีบาฮิสโตลิติก ฯลฯ 
  1. ท้องเสียชนิดเรื้อรัง เป็นอาการท้องเสียอุจจาระร่วงติดต่อกันมากกว่า 14 วัน ทางการแพทย์จัดให้เป็นอาการเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากปัญหาสุขภาพ 4 ชนิด ได้แก่ 
  • โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็กอักเสบเฉียบพลัน ฯลฯ 
  • การย่อยอาหารผิดปกติ เช่น ร่างกายผลิตน้ำย่อย สำหรับย่อยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวได้น้อยลง การย่อยอาหารไม่สมบูรณ์ ร่างกายจะส่งสัญญาณเตือนท้องเสียท้องร่วงออกมาให้ทราบความผิดปกติ 
  • ยาบางประเภทกระตุ้นให้เกิดการท้องเสีย เช่น ยาใช้รักษาโรคมะเร็ง ยาลดกรดต่าง ๆ เป็นต้น 
  • การผ่าตัดอวัยวะเกี่ยวกับการย่อยอาหาร ระบบทางเดินอาหาร เช่น ผ่าตัดลำไส้ใหญ่ ฯลฯ 

โดยอาการท้องเสียข้างต้น เกิดจากการผิดปกติของร่างกายและเกี่ยวข้องกับโรคร้ายมากมาย เมื่อมีอาการไม่ควรนิ่งนอนใจ สังเกตอาการและศึกษาวิธีรักษาอาการเบื้องต้นก่อนพบแพทย์ ซึ่งการรักษาอาการท้องเสียเบื้องต้นที่ถูกวิธี คือ การทานยา โดยมีรายละเอียดการใช้ยาต่อไปนี้ 

ยาแก้ท้องเสีย มีกี่ประเภท

เนื่องจากอาการท้องเสียเกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้อาการที่ร่างกายแสดงออกถึงความผิดปกติมีมากกว่าถ่ายเหลว ผู้ป่วยบางรายคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวปนเลือด มีไข้สูง เป็นต้น แต่ละอาการที่ปรากฏใช้ยาแก้ท้องเสียแตกต่างกัน โดยยาแก้ท้องเสียมี 5 ประเภท ควรเลือกใช้ให้ตรงกับอาการ ดังนี้ 

  1. เกลือแร่สำหรับท้องเสีย ท้องเสียแบบไหน ควรทาน 

เกลือแร่ คือ สารอาหารชนิดหนึ่งช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลียและเติมน้ำให้ร่างกาย เนื่องจากอาการท้องเสียบ่อย 3-4 ครั้งต่อวันติดต่อกันร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไม่อยากรับประทานอาหาร ร่างกายจึงสูญเสียน้ำปริมาณมาก จึงใช้ยาแก้ท้องเสียประเภทดังกล่าวชงผสมน้ำจิบระหว่างวัน ช่วยเติมน้ำให้ร่างกายและสารอาหารในเกลือแร่ช่วยกระตุ้นระบบหมุนเวียนเลือดภายในร่างกายให้สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองและอวัยวะสำคัญได้ อาการท้องเสียจึงดีขึ้นตามลำดับ 

  1. ยาฆ่าเชื้อ ท้องเสียแบบไหน ควรทาน 

ยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะ คือ สารชนิดหนึ่งใช้จำกัดเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุของการท้องเสียชนิดเฉียบพลัน โดยยาฆ่าเชื้อแก้ท้องเสียออกฤทธิ์ 2 รูปแบบ ได้แก่ ดูดซึมเข้ากระแสเลือดและกำจัดเชื้อแบคทีเรียทั่วร่างกาย และไม่ดูดซึมเข้ากระแสเลือด แต่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำไส้โดยตรง เมื่อแบคทีเรียถูกกำจัดอาการท้องเสียจึงบรรเทาลง ปัจจุบันยาแก้ท้องเสียประเภทดังกล่าวมีวางจำหน่ายเป็นเม็ดแคปซูลและยาน้ำ สะดวกต่อการพกพามากขึ้น

  1. ยาหยุดถ่าย ท้องเสียแบบไหน ควรทาน 

ยาหยุดถ่าย คือ ยาที่ออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้กระบวนการขับถ่ายอุจจาระไม่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นยาที่ห้ามซื้อทาน ต้องผ่านการตรวจวินิจฉัยและแพทย์ลงความเห็นว่าสมควรทานเท่านั้น จึงทานได้ เนื่องจากการทำงานของยาหยุดถ่าย ไม่ได้ออกฤทธิ์จำกัดเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย แต่ไปหยุดการทำงานของระบบขับถ่าย ร่างกายจึงสะสมเชื้อโรคและส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ หรือติดเชื้อในกระแสเลือด อันตรายถึงชีวิต 

  1. ยากลุ่ม PROBIOTIC ท้องเสียแบบไหน ควรทาน 

ยากลุ่ม PROBIOTIC คือ เชื้อจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกายชนิดหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่สร้างสมดุลในลำไส้ เมื่อรับประทานยากลุ่มดังกล่าวเข้าไปในร่างกาย ยาจะออกฤทธิ์ที่ลำไส้สร้างเกราะป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ขึ้นมา ส่งผลให้เชื้อโรคไม่สามารถทำลายลำไส้ได้ จึงช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย และยากลุ่มดังกล่าวเหมาะสำหรับผู้ป่วยอาการท้องเสียชนิดเรื้อรัง สาเหตุมาจากระบบย่อยอาหารผิดปกติที่สุด 

  1. สารดูดซับหรือผงถ่าน ท้องเสียแบบไหน ควรทาน

ผงถ่าน คือ ผงที่มีความละเอียดสูง สีดำ มีความพรุนเยอะ เมื่อใช้ผงถ่ายรักษาอาการท้องเสีย หน้าที่ของผงถ่ายจะเข้าไปดูดซึมน้ำในอุจจาระ ทำให้อุจจาระไม่เหลว การขับถ่ายจึงกลับมาเป็นปกติ สำหรับผู้ป่วยท้องเสียและมีอาการปวดท้องรุนแรงร่วมด้วย ควรใช้ผงถ่านบรรเทาอาการจะเห็นผลลัพธ์ที่ดี แต่ไม่ควรใช้ผงถ่านติดต่อกันหลายวัน ผลข้างเคียงจะกลายเป็นอาการท้องผูกไม่อุจจาระได้ 

ทานยาให้ถูกวิธีอย่างไร 

ยาแก้ท้องเสียส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหารซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย แต่ไม่ใช่ผู้ป่วยท้องเสียสามารถซื้อยาทานได้ทุกประเภท การทานยาที่ถูกวิธีต้องคำนึงถึง 3 ประเด็น ต่อไปนี้ 

วิธีทานยาแก้ท้องเสียที่ถูกวิธี 

  1. ท้องเสียไม่มีอาการร่วมที่รุนแรงและไม่ได้มีอาการท้องเสียชนิดเรื้อรัง สามารถปรึกษาเภสัชกรในร้านขายยา เพื่อซื้อยาแก้ท้องเสียทานได้ โดยไม่ต้องพบแพทย์  
  2. ปริมาณยาในแต่ละช่วงวัย รับประทานปริมาณแตกต่างกัน หากเป็นวัยผู้ใหญ่ 2-4 เม็ดต่อครั้ง แต่วัยเด็ก 1-2 เม็ดต่อครั้ง หรือตามคำแนะนำของแพทย์ โดยแพทย์จะตรวจวินิจฉัยโรคและสั่งจ่ายยา ซึ่งการคำนวณปริมาณยาจะคำนวณจากน้ำหนักตัว คือ ยาปริมาณ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  3. รับประทานยาแก้ท้องเสียได้วันละ 3-4 ครั้ง หลังมื้ออาหารภายใน 15 นาที และสามารถทานซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง หากอาการท้องเสียไม่ทุเลาลง

ข้อควรระวังของการใช้ยาแก้ท้องเสีย

  1. ไข้ขึ้นสูง ไม่ควรซื้อยาแก้ท้องเสียทานเอง เพราะร้านยาส่วนใหญ่ จำหน่ายยาแก้ท้องเสียกลุ่มโลเพอราโมด์ ซึ่งอันตรายกับผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียและไข้สูง
  2. มีผื่นแดงตามร่างกาย หลังทานยาแก้ท้องเสียให้หยุดยาและพบแพทย์ทันที 
  3. ขับถ่ายอุจจาระมีสีดำหรือเลือดปน ไม่ควรซื้อยาทานเอง เพราะเป็นอาการของร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย ต้องทานยาฆ่าเชื้อร่วมด้วยอาการถึงบรรเทาลงได้ 
  4. เคยมีประวัติแพ้ยาแอสไพริน ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรก่อนซื้อมาทาน
  5. เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ไม่ควรทานยาแก้ท้องเสียทันที ต้องให้แพทย์วินิจฉัยอาการและจ่ายยาเท่านั้น
  6. เป็นอีสุกอีใสห้ามทานยาแก้ท้องเสียทันที เนื่องจากยาบางประเภทกระตุ้นให้อาการอีสุกอีใสกำเริบรุนแรง 

ยาแก้ท้องเสียห้ามทานคู่กับยาชนิดใด

ยาแก้ท้องเสียที่วางจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป พบบ่อยที่สุดจะเป็นชนิดยาบิสมัทและซับซาลิไซเลต ซึ่งผู้ป่วยท้องเสียควรอ่านข้อมูลยาประกอบการพิจารณาอาการก่อนรับประทานทุกครั้ง โดยยาแก้ท้องเสียชนิดดังกล่าว ไม่สามารถทานคู่กับยา 6 ชนิด  เพราะทำให้ประสิทธิภาพการบรรเทาอาการท้องเสียลดลง ยาดังกล่าว ได้แก่ 

  1. ยาฆ่าเชื้อ 
  2. ยาต้านไวรัส 
  3. ยาแก้ปวด 
  4. ยาโรคเก๊าท์ 
  5. ยาข้ออักเสบ
  6. ยาเบาหวาน  

อาการข้างเคียง หลังใช้ยาแก้ท้องเสียไม่ถูกวิธี 

เมื่อใช้ยาแก้ท้องเสียไม่ถูกวิธี ผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้ คือ คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ การขับถ่ายผิดปกติ อุจจาระมีเลือดปน และปวดท้องรุนแรง เป็นต้น หลังรับประทานยาแก้ท้องเสียและมีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรหยุดยา และรีบพบแพทย์ทันที 

คำแนะนำใช้ยาแก้ท้องเสียให้ปลอดภัยอย่างไร

การทานยาแก้ท้องเสียให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ ไม่มีผลข้างเคียงจากการใช้ยาผิดวิธี คือ ศึกษาฉลากยาและส่วนผสมของตัวยา ป้องกันการทานยาที่แพ้เข้าร่างกาย อย่าทานยาแก้ท้องเสียหลายประเภทรวมกัน สุดท้ายปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดที่สุด

สรุป 

อุจจาระร่วง เกิดได้หลากหลายสาเหตุ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่ ชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง โดยแต่ละชนิดอันตรายถึงชีวิตได้ด้วยการติดเชื้อในกระแสเลือดจนเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ  ดังนั้นควรศึกษาการใช้ยาแก้ท้องเสียแต่ละประเภท เพื่อการรักษาอาการท้องเสียเบื้องต้นที่ถูกวิธี หากปฏิบัติตามรายละเอียดที่ศึกษามาครบทุกข้อ อาการไม่ทุเลาลงหรือมีอาการร่วมรุนแรง ควรพบแพทย์ทันที

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top