ค่า BMI ต่ำเสี่ยงต่อโรค อะไร รู้เท่าทันความเสี่ยงสุขภาพ (ฉบับผู้เชี่ยวชาญ)

ค่า BMI ต่ำเสี่ยงต่อโรค คือ เกณฑ์การวัด Body Mass Index (BMI) ค่าดัชนีมวลกายคือเครื่องมือชี้วัดเกณฑ์น้ำหนักตัวเบื้องต้น ที่สามารถวัดค่าดัชนีมวลกาย โดยใช้การคำนวณและประเมินจากความสมดุลระหว่างน้ำหนักและส่วนสูง สามารถช่วยประเมินหาแนวโน้มความเสี่ยงโรคร้าย และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยของน้ำหนักตัว เพื่อให้ผู้ทำการประเมินวิเคราะห์สุขภาพเบื้องต้น และสามารถที่จะควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หรือควบคุมให้น้ำหนักกายอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์หรือสูงกว่าเกณฑ์

BMI หรือ ดัชนีมวลกาย มีความสำคัญอย่างไร?

การคำนวณ BMI หรือ ดัชนีมวลกาย ใช้การประเมินด้วยสูตรคำนวณค่ามาตรฐาน เพื่อบ่งบอกแนวโน้มของผู้ที่ทำการประเมิน โดยการประเมินดัชนีมวลกาย เป็นการประเมินเบื้องต้น ที่ไม่ได้วัดมวลไขมันในร่างกายโดยตรง แต่ใช้วิธีการวัดมวลกายโดยรวมที่แสดงถึงการเผาผลาญอาหารในร่างกาย และแสดงถึงแนวโน้มในการเกิดโรค ดังนั้นการประเมินดัชนีมวลกาย ไม่สามารถที่จะบอกชี้ชัดได้ว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินนั้นถูกต้อง 100% ในบางกรณี ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีการออกกำลังกาย และมีมวลกล้ามเนื้อมาก การประเมินดัชนีมวลกายที่ไม่มีการวัดมวลไขมันโดยตรง อาจได้ผลลัพธ์ค่าดัชนีมวลกายสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เกิดความคลาดเคลื่อนได้

สูตรการวัดเพื่อหา ค่า BMI ต่ำเสี่ยงต่อโรค คำนวณอย่างไร?

การวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI จะใช้วิธีการคำนวณโดยการนำเอาน้ำหนักตัว และส่วนสูงมาเป็นเกณฑ์ในการวัด สามารถที่จะประเมินเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง ตามสูตร น้ำหนักตัว (กก.) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมิน สามารถแปลผลค่าดัชนีมวลกายได้ดังต่อไปนี้

  • ค่าดัชนีมวลกาย BMI น้อยกว่า 18.5 อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อย ค่า BMI ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  • ค่าดัชนีมวลกาย BMI อยู่ที่ 18.5-22.90 อยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ค่าดัชนีมวลกาย BMI อยู่ที่ 23-24.90 อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน ค่า BMI สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  • ค่าดัชนีมวลกาย BMI อยู่ที่ 25-29.90 อยู่ในเกณฑ์อ้วนระดับ 1
  • ค่าดัชนีมวลกาย BMI เกินกว่า 30 ขึ้นไป อยู่ในเกณฑ์อ้วนระดับ 2
รูปภาพประกอบจาก Freepik

ค่า BMI ต่ำเสี่ยงต่อโรค อะไร?

ค่าดัชนีมวลกาย ที่บ่งบอกความเสี่ยงแนวโน้มของการเกิดโรคร้าย ไม่ได้มีเพียงแค่ในผู้ที่มีน้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์ หรือผู้ที่มีน้ำหนักมากเท่านั้น ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้าย สำหรับผู้ที่วัดค่าดัชนีมวลกาย และได้ผลลัพธ์น้อยกว่า 18.5 มีแนวโน้มความเสี่ยงในการเกิดโรคได้เช่นเดียวกัน ผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้าย และอาจมีแนวโน้มความเสี่ยงสุขภาพดังต่อไปนี้

  1. โรคขาดสารอาหาร
  2. โรคกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม หรือข้ออักเสบ
  3. โรคโลหิตจาง
  4. ประจำเดือนมาไม่ปกติ และอาจมีแนวโน้มในการมีบุตรยาก
  5. ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

โดยเราได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วน เกี่ยวกับโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือโรคร้ายที่อาจเกิดกับผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย อย่างเช่น โรคขาดสารอาหาร, โรคกระดูกพรุน และโรคโลหิตจาง ตามข้อมูลด้านล่าง

ค่า bmi ต่ำกว่าเกณฑ์เสี่ยง โรคขาดสารอาหาร (Nutritional Deficiency)

ค่า BMI ต่ำเสี่ยงต่อโรค ขาดสารอาหาร (Nutritional Deficiency) คือ โรคที่เกิดจากการที่ร่างกายนั้น ได้รับสารอาหารต่างๆ รวมไปถึงวิตามินและแร่ธาตุ ที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาทิเช่น โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน หรืออาจเกิดจากความบกพร่องของระบบย่อยอาหาร ที่ไม่สามารถเผาผลาญอาหารที่รับประทานให้กลายเป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย หรืออาจส่งผลให้การทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกายทำงานผิดปกติ

อาการของผู้ป่วยโรคขาดสารอาหาร

  • รู้สึกเบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลดลงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  • รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย หรืออาจมีความรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
  • อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • รู้สึกวิงเวียนศีรษะ
  • ผมร่วง
  • ผิวแห้ง
  • หงุดหงิดง่าย รู้สึกวิตกกังวล หรืออาจเสี่ยงต่อการเป็นซึมเศร้า
  • เจ็บป่วยบ่อย
  • ไม่มีสมาธิ การทำงานของระบบสมองบกพร่อง
  • เลือดออกตามไรฟัน
  • สูญเสียมวลกล้ามเนื้อและกระดูก
  • ตาแห้ง หรือมีอาการตาพร่ามัว โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน
  • ท้องร่วง
รูปภาพประกอบจาก Freepik

ค่า bmi ต่ำกว่าเกณฑ์เสี่ยง โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ อาการทางสุขภาพ ที่เกิดขึ้นได้จากความหนาแน่นของมวลกระดูกเบาบางหรือเสื่อมลง ทำให้กระดูกมีความเปราะ และมีความเสี่ยงต่อการแตกหักได้ ในอดีตโรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่มักพบเจอได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบันมีปัจจัยมากมายที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่สามารถพบเจอได้จากหลายช่วงวัย อาทิเช่น พันธุกรรม, ภาวะทุพโภชนาการ หรือ ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ, ขาดสารอาหาร, อาการทางสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับการดูดซึมสารอาหาร, การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ, ผลข้างเคียงจากยารักษาโรค, การสูบบุหรี่ หรือ การไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

  • มีอาการปวดหลัง หากมีอาการปวดรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดจากการที่กระดูกสันหลังยุบตัว
  • ส่วนสูงลดลง เนื่องจากมีอาการหลังค่อม
  • รู้สึกปวดลึกๆ ที่กระดูกในบริเวณต่างๆ
  • ปวดตามข้อ อย่าง ข้อมือ ข้อเข่า

ค่า BMI ต่ำเสี่ยงต่อโรค โลหิตจาง (Anemia)

โรคโลหิตจาง หรือ โรคเลือดจาง เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ และฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) โปรตีนส่วนประกอบสำคัญในเลือด ที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อในร่างกาย มีความเข้มข้นน้อยกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถนำเอาออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ได้เพียงพอ โดยทั่วไปการเกิดโรคโลหิตจาง มักเกิดจากการขาดสารอาหารที่สำคัญ อย่าง ธาตุเหล็ก ที่เป็นแร่ธาตุสำคัญในการช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง และอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย อาจเกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายอื่นๆ ตามมาได้

อาการของผู้ป่วยโรคโลหิตจาง

  • มีผิวที่ดูซีด หรือมีผิวที่แลดูเหลืองมากกว่าปกติ
  • มีอาการปวดหัวบ่อย และมักวิงเวียนศีรษะ
  • หน้ามืด อ่อนเพลีย และเหนื่อยง่าย
  • หายใจลำบาก
  • รู้สึกหงุดหงิดง่าย
  • รู้สึกเบื่อไม่อยากอาหาร

แนวทาง วิธีการควบคุมค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมค่า BMI หรือควบคุมค่าดัชนีมวลกาย ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือเกณฑ์สุขภาพดี สามารถใช้แนวทางเหล่านี้เพื่อควบคุมน้ำหนัก และควบคุมค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้

  • ทำการคำนวณค่า BMI ประเมินวัดค่าดัชนีมวลกายเบื้องต้น ด้วยตนเองอยู่เป็นประจำ
  • ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และเลือกรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุวิตามินให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกที่มีไขมันและน้ำตาลสูง อย่างเช่น อาหารแปรรูป, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ของทอด, น้ำหวาน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอในระหว่างวัน
  • หมั่นออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ อย่างน้อย 3 วัน ต่อสัปดาห์

สรุป

การวัดค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) คือตัวช่วยในการประเมินปัญหาสุขภาพ ประเมินความเสี่ยงและแนวโน้มต่อการเกิดโรคร้ายในเบื้องต้น ที่จะช่วยให้สามารถรู้เท่าทันความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้จากเกณฑ์น้ำหนักตัว อย่ามองข้ามความผอม หรือน้ำหนักตัวที่น้อยจนเกินความเหมาะสม เพราะไม่ใช่เพียงแค่ผู้ที่มีรูปร่างอ้วนเท่านั้น ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือมีแนวโน้มอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ล้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน

สำหรับผู้ที่มีเกณฑ์น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และผู้ที่มีเกณฑ์น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์ ไม่ควรมองข้ามค่า BMI เมื่อทำการประเมินและวิเคราะห์ค่าโดยรวม และทราบถึงเกณฑ์น้ำหนักและความเสี่ยงที่เกิดขึ้น สามารถเริ่มต้นแก้ไขควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน การใช้ชีวิต และการออกกำลังกาย เสริมสร้างความแข็งแรง และความปลอดภัยให้แก่ร่างกายได้ด้วยตนเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การประเมินค่าดัชนีมวลกายเป็นเพียงการประเมินโดยรวมเท่านั้น การเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์ อย่าง การตรวจสุขภาพประจำปี จะช่วยบ่งบอกระดับไขมัน และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อย่างแม่นยำ

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วน จากแหล่งที่มา

Scroll to Top