น้ำหนักตัวกับสุขภาพ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร เหตุผลที่เราควรให้ความสำคัญและไม่ควรมองข้าม หากต้องการมีสุขภาพที่ดีความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและสุขภาพนั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีในการช่วยประเมินสุขภาพเบื้องต้น ที่สามารถบ่งบอกได้เลยว่าสุขภาพร่างกายของเรานั้นเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไรบ้าง และน้ำหนักที่เกินหรือต่ำหว่าเกณฑ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เช่นเดียวกันดังนั้น การให้ความสำคัญกับน้ำหนักที่เหมาะสมและนำเอาไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การออกกำลังกายและการเลือกรับประทานอาหาร สามารถที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
น้ำหนักตัวกับสุขภาพ มีความสำคัญอย่างไร?
ความสัมพันธ์ระหว่าง น้ำหนักตัวกับสุขภาพ เกณฑ์น้ำหนักคือตัวบ่งบอกเกี่ยวกับสุขภาพเบื้องต้นของร่างกายว่าอยู่ในเกณฑ์ใด มีความสำคัญอย่างมากต่อสุขภาพโดยรวม เพราะไม่ใช่เพียงแค่ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์เท่านั้นที่มีความเสี่ยงในด้านของสุขภาพ ในขณะเดียวกันผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์เองก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านสุขภาพและการเกิดโรคร้ายแรงบางชนิด อาทิเช่น ขาดสารอาหาร, โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, คอเลสเตอรอลในเลือดสูง, โรคถุงน้ำดี, โรคข้อเข่าเสื่อม, โรคมะเร็งบางชนิด, ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น
การรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสมตามเกณฑ์ bmi คํานวณค่าดัชนีมวลกาย Body mass index: (BMI) และการประเมินน้ำหนักตัววิธีการอื่นๆ อาจช่วยป้องกันรวมไปถึงการควบคุมโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำหนักตัวได้ นอกจากปัญหาทางด้านสุขภาพแล้วการรักษาน้ำหนักตัวยังส่งผลดีต่อสภาพจิตใจ ความสุขทางอารมณ์ รวมไปถึงการช่วยรักษารูปร่าง สร้างความมั่นใจในรูปร่าง และเพิ่มความคล่องแคล่ว ความคล่องตัวในการใช้ชีวิตได้มากยิ่งขึ้น
การประเมิน น้ำหนักตัวกับสุขภาพ
วิธีการประเมินน้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับสุขภาพสามารถประเมินได้หลากหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งแต่ละวิธีที่ใช้ในการประเมินน้ำหนักตัวที่เหมาะสมเป็นเพียงวิธีการในการประเมินค่าน้ำหนักตัวเบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถใช้ในการยืนยันโรคร้ายหรือยืนยันการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนทางสุขภาพได้อย่างแม่นยำ หากมีความรู้สึกถึงความผิดปกติของร่างกายควรที่จะเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด และวิธีการประเมินน้ำหนักตัวที่เหมาะสมตามเกณฑ์มีวิธีต่างๆ ให้เลือกดังนี้
- การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI
- การวัดรอบเอว
- การวัดอัตราส่วนเอวต่อสะโพก
แต่อย่างไรก็ตาม เกณฑ์การประเมินน้ำหนักตัวเหล่านี้เป็นเพียงเกณฑ์การประเมินเบื้องต้นเพียงเท่านั้น แต่เพื่อทำการยืนยันปริมาณมวลกล้ามเนื้อ, มวลไขมัน และภาวะสุขภาพที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรค ควรที่จะเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
วิธีคำนวณค่าดัชนีมวลกาย น้ำหนักตัวกับสุขภาพ
Body mass index: (BMI) หรือ ค่าดัชนีมวลกาย เป็นสูตร bmi คํานวณค่ามาตรฐานของน้ำหนักตัว ที่สามารถบ่งบอกแนวโน้มของค่าน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์และค่าน้ำหนักตัวที่สูงกว่าเกณฑ์ ที่อาจเกิดความเสี่ยงที่ทำให้มีผลต่อสุขภาพเบื้องต้นได้ อย่าง โรคขาดสารอาหาร หรือโรคอ้วน เป็นต้น โดยการคำนวณค่าดัชนีมวลกายจะเป็นการคำนวณโดยการใช้สูตร น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง สามารถทำการแปลค่าได้ดังต่อไปนี้
- ค่า BMI ที่น้อยหรือต่ำกว่า 18.5 จะอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อย
- ค่า BMI อยู่ที่ 18.5-22.90 น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ค่า BMI อยู่ที่ 23-24.90 จะอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน
- ค่า BMI อยู่ที่ 25-29-90 อยู่ในเกณฑ์โรคอ้วนระดับที่ 1
- ค่า BMI อยู่ที่ 30 ขึ้นไป อยู่ในเกณฑ์โรคอ้วนระดับที่ 2
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มีผลต่อสุขภาพอย่างไร?
หากทำการวัดค่าดัชนีมวลกายและได้ bmi คํานวณดัชนีมวลกายที่ต่ำกว่า 18.5 หรืออยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อย มีผลให้อาจเกิดความเครียด, เบื่ออาหาร หรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่อาจเกิดความเสี่ยงในการเป็นภาวะขาดสารอาหารได้ รวมไปถึงโรคกระดูกพรุน, โรคโลหิตจาง, ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และอาจทำให้มีปัญหาต่อการเจริญพันธุ์ และสำหรับในผู้หญิงที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์อาจทำให้เกิดภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ
น้ำหนักเกินเกณฑ์มีผลต่อสุขภาพอย่างไร?
เมื่อทำการวัด bmi คํานวณดัชนีมวลกายได้ผลอยู่ที่ 23-30 ขึ้นไป หรืออยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง, คอเลสเตอรอล รวมไปถึงความดันโลหิตสูงขึ้นได้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังอย่างเช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคมะเร็ง, โรคถุงน้ำดี, โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงความเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม เกิดโรคเกาต์ เนื่องจากการสะสม Uric Acid (กรดยูริก) อีกทั้งอาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่มีความเสี่ยงสูงต่อชีวิต
วิธีประเมินน้ำหนักตัวกับสุขภาพ จากการวัดรอบเอว
การประเมินจากการวัดรอบเอว เป็นอีกหนึ่งวิธีการช่วยประเมินหน้าท้องได้ เนื่องจากไขมันหน้าท้องที่มีการเพิ่มขึ้นเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคบางชนิดได้เช่นเดียวกัน เช่น ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น โดยการประเมินน้ำหนักจากการวัดรอบเอวผู้หญิงไม่ควรที่จะเกิน 35 นิ้ว และการวัดรอบเอวในผู้ชายไม่ควรที่จะเกิน 40 นิ้ว ซึ่งวิธีการตรวจวัดรอบเอวอย่างถูกต้อง มีข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ในการวัดรอบเอวจะต้องทำการยืนตัวตรง และใช้สายวัดรอบเอว (บริเวณเหนือกระดูกสะโพก)
- ในการวัดรอบเอวควรให้สายวัดตึงพอดี ไม่แน่นจนเกินไป ไม่รัดจนเกินไป และไม่หลวมจนเกินไป
- ระหว่างที่ทำการวัดรอบเอวให้ทำตัวตามสบาย ไม่เกร็งหน้าท้องหรือแขม่วหน้าท้องอย่างเด็ดขาด
วิธีการวัดอัตราส่วนเอวต่อสะโพก
ในการวัดอัตราส่วนเอวต่อสะโพกเป็นการประเมินไขมันหน้าท้อง น้ำหนักตัวกับสุขภาพ เพื่อตรวจเช็คว่าเข้าข่ายอ้วนลงพุงหรือไม่ โดยการวัดอัตราส่วนเอวต่อสะโพกจะใช้เกณฑ์ประเมินด้วยสูตร คำนวณความยาวเส้นรอบเอว (เซนติเมตร) โดยทำการวัดจากส่วนที่แคบที่สุด ÷ ความยาวเส้นรอบสะโพก (เซนติเมตร) โดยทำการวัดจากส่วนที่กว้างที่สุด ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจุดทศนิยมนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานดังนี้
- เกณฑ์ในการวัดอัตราส่วนเอวต่อสะโพกในผู้หญิง ไม่ควรเกิน 0.85
- เกณฑ์ในการวัดอัตราส่วนเอวต่อสะโพกในผู้ชาย ไม่ควรเกิน 0.90
การควบคุม น้ำหนักตัวกับสุขภาพ ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีทำได้อย่างไร?
การจัดการควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถจัดการได้อย่างง่ายๆ ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการจัดการกับปัจจัยที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและร่างกาย แน่นอนว่าการจะควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีได้นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้วินัยอย่างมากในช่วงแรก แต่รับรองได้ว่าเมื่อสามารถสร้างวินัยให้เกิดขึ้นได้แล้ว ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นคุ้มค่าอย่างแน่นอน อีกทั้งยังช่วยให้ห่างไกลโรคร้ายที่มีผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้อีกด้วย
- การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ในการรักษาสุขภาพให้ดี การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพถือเป็นสิ่งแรกๆ ที่ควรจะทำและเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด หากอยากให้สุขภาพดีควรเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ไขมันต่ำ และแคลอรี่ต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงที่อาจเพิ่มการสะสมของคอเลสเตอรอลในเลือดและการสะสมของไขมันในร่างกาย
- ในแต่ละวันควรดื่มน้ำให้มาก นอกจากการดื่มน้ำระหว่างวันจะสามารถลดความหิวระหว่างวันลดการอยากรับประทานจุกจิกได้แล้ว น้ำยังเป็นสิ่งสำคัญที่ร่างกายควรได้รับอย่างเพียงพอช่วยให้ระบบภายในสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
- ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการเผาผลาญไขมัน ลดการสะสมของไขมัน รวมไปถึงการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูก โดยในแต่ละสัปดาห์ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 5 วัน สำหรับผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักเกินเกณฑ์ในการออกกำลังกายจำเป็นที่จะต้องขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพิ่มเติม เพื่อวางแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อลดการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำหนักตัว
- การพักผ่อนนอนหลับจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญได้ เพราะฉะนั้นร่างกายควรได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ ในระหว่างที่ร่างกายได้มีการนอนหลับระบบภายในร่างกายจะมีการปรับฮอร์โมน เพื่อช่วยลดความเครียด ลดความอ่อนล้า ที่อาจก่อให้เกิดความอยากอาหารที่มีแคลอรี่สูง
สรุป
น้ำหนักตัวที่เหมาะสมสามารถที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้ายและการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ สำหรับผู้ที่อยากมีสุขภาพแข็งแรงห่างไกลจากโรคร้ายสามารถที่จะทำการประเมินน้ำหนักตัวที่เหมาะสมจากวิธีการประเมินน้ำหนักตัวเบื้องต้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและเริ่มต้นการสร้างวินัยเพื่อให้ร่างกายมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว หากต้องการความแม่นยำในด้านของสุขภาพควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเพิ่มเติมอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และอย่าลืมว่าสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่จะมองข้ามไม่ได้อย่างเด็ดขาด เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกถึงความผิดปกติของร่างกายควรรีบพบแพทย์โดยด่วน