ผิวหนังอักเสบ คัน (Eczema หรือ Dermatitis) คือ ภาวะอักเสบของผิวหนัง โรคผิวหนังเรื้อรังที่สามารถพบได้บ่อย สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย และสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยส่วนมากมักเกิดอาการอักเสบหรืออาการระคายเคืองได้จาก โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) หรือโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้นั่นเอง โดยสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่ผิวหนังสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ อาทิเช่น สารเคมี เป็นต้น โดยอาการของโรคผิวหนังอักเสบนั้น จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไปตามสาเหตุ แต่อาการที่มักพบบ่อย กล่าวคือ ผื่นแดง, มีตุ่มใส, คันผิวหนัง และผิวแห้ง
โดยทั่วไปแล้วอาการของโรคผิวหนังอักเสบนั้น เป็นอาการของโรคผิวหนังที่ไม่เป็นอันตราย และสามารถที่จะหายได้เอง และไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ใช่โรคที่อันตรายต่อชีวิต หรือไม่ใช่โรคติดต่อที่ร้ายแรง แต่หากรู้ถึงสาเหตุการเกิดโรคจะสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค และหากเกิดลักษณะอาการโรคผิวหนังอักเสบจะสามารถทราบได้ถึงวิธีการและแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง
ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง คืออะไร?
โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง คือ หนึ่งในโรคผิวหนังที่สามารถพบได้บ่อยอย่างมากในเด็ก แต่ก็สามารถที่จะพบได้ในวัยอื่นเช่นเดียวกัน โดยลักษณะอาการของโรคผิวหนังอักเสบมักที่จะมีอาการผื่นแดง มีตุ่มนูนพอง อาจมีลักษณะตุ่มน้ำหรือมีหนองที่ผิวหนัง ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาลเข้มในบริเวณที่มีการอักเสบ เมื่อสัมผัสจะรู้สึกถึงอาการระคายเคือง รวมไปถึงอาจมีลักษณะอาการแห้งลอก บวมแดง คัน ตามบริเวณข้อพับและผิวหนังที่มีการเสียดสีบ่อย อาทิเช่น คอ, ข้อพับแขน, รักแพ้, ข้อพับขา และร่องก้น
โดยโรคผิวหนังอักเสบนั้นมีด้วยกันหลายชนิด อาทิเช่น โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis), โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis), โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใส (Dyshidrosis) และ โรคผื่นแพ้สัมผัส (Contact dermatitis) เป็นต้น โดยระดับความรุนแรงของโรคอาจมีทั้งแบบไม่แสดงอาการ แสดงอาการเล็กน้อย ไปจนถึงลักษณะที่มีอาการรุนแรงที่ผื่นผิวหนังอักเสบมีอาการลุกลาม โดยเฉพาะเมื่อมีการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือเมื่อมีการสัมผัสต่อสิ่งกระตุ้น อย่างเช่น สารเคมี, สภาพแวดล้อม, สภาพอากาศ และควันบุหรี่ เป็นต้น
โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)
โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) ภาวะทางผิวหนังที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด และในผู้ใหญ่ที่มีช่วงอายุอยู่ที่ 30-60 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวมัน โรคเซ็บเดิร์มมีลักษณะอาการผิวหนังเกิดรอยแดง ผิวหนังมีอาการคันหรือไหม้ มีสะเก็ดคล้าย รังแค เป็นลักษณะสีขาวหรือสีเหลือง โดยส่วนมากแล้วมักพบได้ที่บริเวณหนังศีรษะ รวมไปถึงในบริเวณของผิวหนังที่มันง่าย อาทิเช่น บริเวณใบหน้า, บริเวณข้างจมูก, บริเวณคิ้ว, บริเวณหู, บริเวณเปลือกตา และบริเวณหน้าอก
สาเหตุของการเกิด โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)
- โรคเซ็บเดิร์มอาจมีสาเหตุมาจากความเครียด
- โรคเซ็บเดิร์มอาจมีสาเหตุมาจากเชื้อยีสต์มาลาสซีเซีย (Malassezia)
- โรคเซ็บเดิร์มอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (Atopic dermatitis)
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ คือ หนึ่งในโรค ผิวหนังอักเสบ ที่พบได้บ่อยและเป็นโรคเรื้อรังที่มักจะเกิดจากการปะทุ และมักจะหายไปหลังจากช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีลักษณะอาการผิวอักเสบ คัน แดง แห้ง และเป็นสะเก็ด โดยความรุนแรงของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังหรือโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ มีระดับตั้งแต่ความรุนแรงระดับเบาไปจนถึงระดับที่มีความรุนแรงมาก และโดยส่วนมากหากเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังแล้ว มักที่จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ร่วมด้วย อาทิเช่น โรคหอบหืด เป็นต้น
สาเหตุของการเกิด โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)
การเกิดโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังยังไม่มีสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่อาจมีสาเหตุเกิดขึ้นจากตัวกระตุ้นบางชนิดที่สามารถนำไปสู่การเกิดผื่นผิวหนังอักเสบได้ โดยผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้สามารถที่จะเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่แพ้อาหารหรือผู้ที่เป็นโรคหอบหืด เป็นต้น
โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใส ผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ (Dyshidrosis)
โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใส (Dyshidrosis) หรือที่เรียกว่า โรคตุ่มน้ำอักเสบ เป็นโรคผิวหนังที่สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย มีลักษณะอาการตุ่มพองหรือมีตุ่มน้ำเล็กๆ ที่ชั้นผิวหนังที่บริเวณมือ, นิ้วมือ, ง่ามนิ้วมือ, ง่ามนิ้วเท้า, เท้า และฝ่าเท้า โดยอาการของโรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใสนั้น มักที่จะมีอาการเป็นๆ หายๆ โดยอาจมีตุ่มขึ้นนานกว่า 3 สัปดาห์ เมื่อตุ่มแห้งจะมีการทิ้งรอยไว้ที่บริเวณผิวหนัง และในบางครั้งอาจมีการขึ้นซ้ำก่อนที่รอยเดิมจะหาย และนอกจากการเกิดตุ่มใสแล้วอาการที่พบได้ทั่วไป คือ อาการคัน ผิวหนังบริเวณนั้นมีลักษณะแดงขึ้น แห้งขึ้น หรือแตก หากมีการเการ่วมด้วยอาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีความหนามากยิ่งขึ้น และอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใส (Dyshidrosis)
- ความเครียด
- การสัมผัสโลหะบางชนิด อาทิเช่น นิกเกิล (Nickel), โคบอลต์ (Cobalt) และ โครเมียม (Chromium)
- ผู้ที่เหงื่ออกมาก โดยเฉพาะบริเวณมือและเท้า
- สภาพอากาศร้อนชื้น
- ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
- ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้
- ผู้ที่มีผิวหนังไวต่อการระคายเคือง (Sensitive skin)
- ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดอื่นๆ อาทิเช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) และ โรคผื่นแพ้สัมผัส (Contact dermatitis)
โรคผื่นแพ้สัมผัส (Contact dermatitis)
โรคผื่นแพ้สัมผัส (Contact dermatitis) คือ โรคผิวหนังที่มีผื่นแดงเกิดขึ้นเมื่อมีการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ หรือสารบางอย่างที่อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง โดยโรคผื่นแพ้สัมผัสเป็นโรคที่สามารถพบได้ทั่วไป อีกทั้งยังสามารถที่จะเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย โดยลักษณะอาการของโรคผื่นแพ้สัมผัสนั้น จะมีอาการเกิดขึ้นที่บริเวณของผิวหนังที่มีการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้โดยตรง โดยจะมีอาการผื่นแดงขึ้นหลังจากที่มีการสัมผัสภายในไม่กี่นาที หรืออาจมีอาการหลังการสัมผัสหลายชั่วโมงในบางราย โดยอาการของโรคผื่นแพ้สัมผัสนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
อาการผื่นแพ้สัมผัสที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้
- มีอาการผิวแห้ง แตก ลอกเป็นขุย
- ลมพิษ
- รู้สึกแสบที่บริเวณผิว
- มีอาการคัน
- มีอาการบวม
- ผิวหนังมีลักษณะหนาขึ้น
- ผิวไวต่อแสง
อาการผื่นแพ้สัมผัสที่เกิดจากสารระคายเคือง
- เกิดแผลพุพอง
- ผิวแห้งมาก
- มีอาการบวม
- ผิวหนังมีลักษณะหนาขึ้น
- เป็นแผลตกสะเก็ด
วิธีรักษา ผิวหนังอักเสบ อาการแพ้ ไรฝุ่น ผิวหนัง
- รักษาด้วยการเลือกใช้ มอยเจอร์ไรเซอร์ ที่มีสารประกอบให้ความชุ่มชื้น อาทิเช่น กลีเซอรีน (Glycerin) , ยูเรีย (Urea) และ กรดแลคติก (Lactic acid) เป็นต้น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและลดอาการแห้ง ระคายเคือง
- รักษาด้วยการใช้ สเตียรอยด์ (Topical Steroid) และ ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน (Antihistamine) เพื่อบรรเทาอาการบวมแดงของผิวหนัง และลดอาการคัน ระคายเคือง
- บรรเทาอาการคัน ระคายเคืองด้วย คาลาไมน์ (Calamine) ควบคู่ไปกับการประคบผิวด้วยถุงประคบเย็น เพื่อลดอาการคันและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
โดยการรักษา ผิวหนังอักเสบ นั้น ควรได้รับคำแนะนำโดยแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือก่อนการใช้ยาเพื่อทำการรักษา ในกรณีที่อาการผิวหนังอักเสบมีความรุนแรงมากขึ้นหรือมีการลุกลามควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วนเพื่อเข้ารับการวินิจฉัยเพิ่มเติมและเพื่อทำการรักษาตามแนวทางที่เหมาะสมต่อไป
วิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการ ผิวหนังอักเสบ คัน
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เหมาะกับสภาพผิว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
- หลีกเลี่ยงและงดการเกาในบริเวณที่มีอาการคันหรืออาการอักเสบ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิด ผิวหนังอักเสบติดเชื้อ ผิวหนังอักเสบเป็นหนอง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้และการสัมผัสสิ่งเร้า ที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบ
- โรคผิวหนังอักเสบอาจเกิดจากสภาวะความเครียด ดังนั้น ควรหาวิธีคลายเครียดเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเกิดโรคผิวหนังอักเสบ
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ทาครีมกันแดด อย่างเป็นประจำ เพื่อปกป้องผิวจากการถูกทำร้ายโดยแสงแดด ที่อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบ
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วน จากแหล่งที่มา
- https://www.nhs.uk/conditions/contact-dermatitis/
- https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/eczema/dyshidrotic-eczema
- https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/seborrheic-dermatitis-medref#1
- https://www.nhs.uk/conditions/atopic-eczema/
- https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/eczema/atopic-dermatitis-eczema