เม็ดสีเมลานิน คืออะไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ทำไมถึงสำคัญกับผิวของเรา

เม็ดสีเมลานิน (Melanin) หรือเม็ดสีผิว คือ ผลผลิตที่ได้จากการสร้างเซลล์ผิวหนังอย่าง เมลาโนไซต์ ซึ่งเป็นสารสีที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง ในสารสีเมลานินจะมีสีเหลือง น้ำตาลแดงไปจนถึงดำ เป็นต้น การมีเม็ดสีเมลานินที่มากเกินไป จะก่อให้เกิดฝ้า กระ และรอยหมองคล้ำ จุดด่างดำ บนผิวหนังของร่างกายมนุษย์ได้ 

กลไกการสร้างเม็ดสีเมลลานิน 

เมลานินเป็นผลผลิตของเมลาโนไซต์ ซึ่งผลิตจากชั้นล่างสุดของชั้นหนังกำพร้า ซึ่งเมลานินถูกส่งขึ้นมาสู่ชั้นหนังกำพร้า เมลานินที่ส่งขึ้นมานั้นเป็น 2 ชนิด นั่นคือยูเมลานิน (Umelanin) มีสีดำ และน้ำตาล และฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) ซึ่งมีสีแดงและเหลือง เป็นต้น 

เมื่อร่างกายต้องการปกป้องเซลล์ผิวหนังจากการถูกทำลายของแสงแดด และรังสียูวี เม็ดสีเมลานินจะทำหน้าที่ในการดูดกลืนรังสียูวีไว้ เพื่อไม่ให้เข้าไปทำอันตรายต่อผิวหนังชั้นในและผิวหนังชั้นนอก เมลาโนไซต์จึงผลิตเมลานินออกมามากกว่าเดิม จึงทำให้ผิวมีสีเข้มขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเม็ดสีเมลานิน 

ตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดเม็ดสีเมลานิน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท เช่น ปัจจัยเสี่ยงภายนอก กับ ปัจจัยเสี่ยงภายใน

ปัจจัยเสี่ยงภายนอก

  • แสงแดด และรังสีอัลตราไวโอเลต เมื่อผิวโดนแสงแดดจะทำให้เกิดกลไกกระบวนการในการผลิตสร้างเมลานินมาเพื่อปกป้องผิวหนังและทำให้ผิวมีสีเข้มขึ้น หากบริเวณผิวหนังสัมผัสแสงมากกว่าจะทำให้เกิดการกระตุ้นการสร้างเม็ดสีมากกว่า จะส่งผลให้เกิดจุดด่างดำ รอยหมองคล้ำ ฝ้า และ กระ 
  • การใช้เครื่องสำอางบางชนิด การใช้น้ำหอมที่มีสารโซลาเรนมีสารบางชนิดที่ส่งผลให้ผิวดำคล้ำขึ้นเมื่อถูกแสงแดด

ปัจจัยเสี่ยงภายใน

  • พันธุกรรม ในคนตะวันตกมักพบว่าหน้าจะไม่ค่อยเป็นฝ้า ส่วนใหญ่จะเป็นกระแทน หากเป็นพันธุกรรมของคนอินเดีย หรือชาวแอฟริกาจะเป็นผิวคล้ำตามธรรมชาติ   
  • ฮอร์โมน ในฮอร์โมนของช่วงวัยกลางคนจะมีโอกาสเป็นฝ้ากระมากขึ้น ซึ่งเกิดจากผลการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน 

ประเภทของเมลานิน

เม็ดสีเมลานินสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท เช่น

  1. ยูเมลานิน มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ลักษณะของเม็ดสีเป็นสีดำ มักพบในรูปแบบของสารสีที่อยู่ในผิวหนังของมนุษย์ อาทิ เส้นผม ขน และเซลล์ผิวหนัง โดยยูเมลานินจะมีทั้งกลุ่มสีดำและกลุ่มสีน้ำตาล เป็นต้น
  2. ฟีโอเมลานิน เป็นสารที่มีไนโตรเจนและซัลเฟอร์ เป็นองค์ประกอบ ลักษณะของเม็ดสีจะเป็นสีแดง มักพบในรูปแบบของสารสีที่อยู่ตามผิวหนังของมนุษย์ เส้นผม และขน โดยฟีโอเมลานินจะมีทั้งกลุ่มสีแดง และกลุ่มสีเหลือง เป็นต้น

เมลาโนไซต์ คืออะไร

เมลาโนไซต์ (melanocyte) เป็นเซลล์ทำหน้าที่สร้างสารสีให้ผิว เมลาโนไซต์จะอยู่ตรงชั้นของ Stratum Basal บริเวณชั้นหนังกำพร้า ซึ่งมีหน้าที่ผลิตสารสีและต้องสร้างเม็ดสีให้กับเซลล์ผิวหนังเคราติโนไซต์ได้มากถึง 40 เซลล์อีกด้วย 

เมลานินส่งผลต่อเราอย่างไร

เมลานิน หรือเม็ดสีผิว ทำหน้าที่ในการป้องกันแสงแดดที่ส่องเข้ามาทำลายผิวของร่างกาย หากมีเมลานินมากเกินไปจะทำให้สีผิวของร่างกายมีสีเข้ม คล้ำ หรือดำได้ แต่หากมีเม็ดสีเมลานินมากเกินความจำเป็นจะทำให้ร่างกายเป็นฝ้า กระ ได้

เม็ดสีเมลานินมีเท่าไหร่ถึงจะดี

หากมีเม็ดสีเมลานินมากเกินไปจะทำให้เกิดรอยหมองคล้ำ ฝ้า กระ มักพบในสตรีมากกว่าบุรุษและพบได้ในวัยกลางคนช่วงอายุประมาณ 30-40 ปี โดยฝ้ามีลักษณะเป็นปื้น หรือเข้มเป็นกระจุก และในผู้หญิงบางรายไม่สามารถรักษาฝ้าให้หายขาดได้

ประโยชน์ของเม็ดสีเมลานิน

เม็ดสีเมลานิน หรือเม็ดสีผิว มีประโยชน์ ดังต่อไปนี้

  • เม็ดสีเมลานินช่วยปกป้องผิวจากการเผาไหม้ของแสงแดดเนื่องจากเม็ดสีเหล่านี้สามารถสะท้อนรังสียูวีบางส่วนจากแสงแดดออกไปได้
  • เม็ดสีเมลานินช่วยทำให้ผิวคงความอ่อนเยาว์เสมอ เนื่องจากแสงแดดสามารถทำร้ายเซลล์ผิวหนัง และทำให้ใบหน้าดูมีอายุขึ้นได้ เม็ดสีเมลานินจะช่วยป้องกันแสงแดดให้เซลล์ผิวหนังถูกทำร้ายได้น้อยลง
  • เม็ดสีเมลานินช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งที่ผิวหนัง

การยับยั้งเม็ดสีเมลานิน

ในการยับยั้งเม็ดสีเมลานินมักใช้สารไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) ในรูปแบบครีม ซึ่งยาครีมจะมีความเข้มข้น 2% – 4% ใช้ทาเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน หากใช้ระยะเวลานานจะทำให้ระคายเคือง ก่อให้เกิดจุดขาวที่ผิวถาวร ดังนั้นควรใช้ตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด

การฉีดยายับยั้งเม็ดสีเมลานิน

นอกจากนี้ยังมีมีวิธีการรักษาผิวหน้าผ่านการฉีดยาที่มีฤทธิ์สลายเม็ดสีเมลานินเข้าไปที่ชั้นใต้ผิวหนัง ที่มีความผิดปกติเพื่อลดการทำงานของเซลล์เม็ดสีเมลานิน ส่งผลให้เม็ดสีเมลนินทำงานได้เป็นปกติ ช่วยทำให้สีผิวหน้าสม่ำเสมอ ไม่ทำร้ายเซลล์ผิวหน้า และยับยั้งการกระตุ้นการผลิตใหม่ของเม็ดสีเมลานินที่ผิดปกติ และช่วยลดการเกิดเม็ดสีเมลานินผิดปกติซ้ำลงได้

อาหารลดเม็ดสีเมลานิน

อาหารบางประเภทมีส่วนช่วยลดการเกิดเม็ดสีเมลานินได้ อีกทั้งบางประเภทยังช่วยลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน และป้องกันการสร้างเม็ดสีเมลานินในผิวหนัง

  • สตรอว์เบอร์รีมีวิตามินซีสูง เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสะระ สตรอว์เบอร์รีช่วยปกป้องผิวพรรณไม่ให้เสื่อมสภาพ ทั้งยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน สตรอว์เบอร์รีป้องกันการเกิดริ้วรอย และกรดซาลิไซลิคที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของสิว ช่วยลดการสร้างเม็ดสีเมลานินได้
  • เชอร์รี่ ช่วยในการสังเคราะห์คอลลาเจน ลดการผลิตเม็ดสีเมลานิน ช่วยทำให้ผิวขาวขึ้น สดใส ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
  • มัลเบอร์รี่ มีวิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงผิวพรรณ ลดการอักเสบของสิว และสารสกัดในมัลเบอร์รี่ช่วยป้องกันการสร้างเม็ดสีเมลานินในผิวหนัง หากนำมารับประทานอย่างเป็นประจำมีส่วนช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น อ่อนเยาว์ สดใส
  • มะขามป้อม ช่วยทำให้ผิวหน้าขาวใส ทั้งมะขามป้อมยังช่วยลดเลือนจุดด่างดำ รอยหมองคล้ำ ในมะขามป้อมมีสารต้านอนุมูอิสระที่ชื่อว่า เอมบลิคานิน ซึ่งจะช่วยลดความหมองคล้ำของผิวที่ถูกทำลายจากแสงอาทิตย์ได้
  • มะเขือเทศ มีแร่ธาตุอยู่หลากหลายชนิด อาทิ วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินเค แคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส สารไลโคปีน แคโรทีนอยด์ เบต้าแคโรทีน และกรดอะมิโน ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของมนุษย์ อีกทั้งในมะเขือเทศช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวพรรณ ไม่หยาบกร้าน ไม่แห้งกระด้าง ช่วยลดการสร้างเม็ดสีเมลานินได้

การมีเม็ดสีเมลานินมากเกินไปจะทำให้เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ รอยหมองคล้ำ ที่สามารถเกิดขึ้นบนผิวหนังของมนุษย์ได้ แต่การมีเม็ดสีเมลานินในปริมาณที่น้อยเกินไปจะทำให้ร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันต่อแสงแดด และรังสียูวี ด้วยเหตุนี้เราจึงควรเลือกใช้ครีมกันแดดในการปกป้องผิวจากแสงแดด ด้วยการเลือกครีมกันแดดตั้งแต่ SPF 15 ขึ้นไป และในการเลือกรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ผักผลไม้ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี ในปริมาณที่เหมาะสมต่อกระบวนการสังเคราะห์และหลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแสงแดดจัด ๆ เป็นระยะเวลายาวนาน เพื่อให้ร่างกายของเราได้รับปริมาณแสงแดดและมีเม็ดสีเมลานินในปริมาณที่พอดีเหมาะสมต่อร่างกาย 

ในการยับยั้งเม็ดสีเมลานินควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้งอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยต่อร่างกายและผิวหนังของเรา แต่หากอยากมีผิวพรรณกระจ่างใส มีผิวหน้าชุ่มชื้น ขาวใส ควรเลือกรับประทานอาหารลดการสร้างเม็ดสีเมลานินอย่างผลไม้ตระกูลเบอร์รี่สามารถช่วยได้เช่นเดียวกัน

ที่มา

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top