ค่า bmi กับ ช่วงอายุ ที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย แบบไหนจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี?

ค่า bmi กับ ช่วงอายุ หรือ Body Mass Index ค่าดัชนีมวลกาย ตัวช่วยในการวัดวิเคราะห์ความสมดุลของน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคร้าย ที่มีตัวการอย่างน้ำหนักเป็นสาเหตุ ทฤษฎีการประเมินค่าดัชนีมวลกาย BMI เป็นการประเมินจากค่าเฉลี่ยในเชิงสถิติโดยเป็นการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นที่สามารถทำการประเมินได้ด้วยตนเอง

โดยการประมินความเสี่ยงวัดค่าดัชนีมวลกาย ค่า bmi ที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัยน้ำหนักตัวที่เหมาะสมตามเกณฑ์ที่ดีจะมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย การประเมินน้ำหนักด้วยค่าดัชนีมวลกายไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของผู้ใหญ่เท่านั้นแม้แต่เด็กเองก็มีค่าวัดดัชนีมวลกายหรือ BMI ในเด็กเช่นเดียวกัน แต่การประเมินดัชนีมวลกายในเด็กจะมีเกณฑ์วัดที่แตกต่างออกไปจากของผู้ใหญ่ หรือเรียกอีกอย่างว่า BMI for age ที่ใช้ในการวิเคราะห์การเจริญเติบโต และจะเน้นการวิเคราะห์จากเพศและอายุเป็นหลัก

ดัชนีมวลกาย ค่า bmi กับ ช่วงอายุ ในวัยผู้ใหญ่

ในการวัดค่า bmi ที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย ในวัยของผู้ใหญ่นั้น เป็นค่าวัดดัชนีมวลกายที่จะบ่งบอกได้ว่าบุคคลนั้นๆ มีเกณฑ์น้ำหนักตัวที่ดีต่อสุขภาพหรือไม่ โดยจะใช้ส่วนสูงและน้ำหนักมาเป็นเกณฑ์ในการวัดผล และเป็นเกณฑ์วัดที่ได้รับความนิยมถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย

BMI หรือ Body Mass Index ดัชนีมวลกายในผู้ใหญ่ มีเกณฑ์ในการวัดที่แตกต่างกันออกไป 2 เกณฑ์การวัดด้วยกัน คือเกณฑ์การวัดจาก WHO และ WPRO ซึ่งเกณฑ์การวัดจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อาทิเช่น ภูมิภาคและอายุเป็นต้น ในการวัดค่าดัชนีมวลกายสามารถที่บ่งบอกได้ว่าผู้ที่ทำการประเมินมีเกณฑ์น้ำหนักอยู่ที่ในเกณฑ์ใด เพื่อให้ผู้ที่ทำการวัดดัชนีมวลกายสามารถที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต พฤติกรรมการรับประทานอาหาร รวมไปถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย ให้ดีมากยิ่งขึ้นได้ในเบื้องต้น

รูปภาพจาก Freepik

ความแตกต่างของเกณฑ์ ค่า bmi กับ ช่วงอายุ จาก WHO และ WPRO

WHO หรือ World Health Organization คือ องค์การอนามัยโลก และ WPRO หรือ Western Pacific Region Organization องค์การภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก ทั้ง 2 องค์การระดับโลกได้ให้เกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกายเอาไว้อย่างแตกต่างกัน เนื่องจากผู้ที่มีต้นกำเนิดมาจากแถบเอเชียมีแนวโน้มสูงกว่าที่จะเกิดการสะสมไขมันในหน้าท้อง หรือไขมันลึกลงไปในช่องท้องแทนที่จะเป็นใต้ผิวหนัง และผู้ที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชียมีค่าวัดดัชนีมวลกายที่ต่ำกว่าผู้ที่มีต้นกำเนิดมาจากคอเคเซียน (เอเชียตะวันตก, เอเชียกลาง, เอเชียใต้, ยุโรป, แอฟริกาเหนือและคาบสมุทรโซมาลี) นั่นหมายความว่าความเสี่ยงต่อสุขภาพมีสูงมากขึ้น องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ทำการตรวจสอบแนวโน้มและความแปรปรวนระหว่างประชากรชาวเอเชีย และให้คำแนะนำในการตรวจวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI ของชาวเอเชีย ให้เลือกใช้เกณฑ์การวัดดัชนีมวลกายตามหลักของ WPRO หรือ Western Pacific Region Organization องค์การภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกแทน

ตาราง ค่า bmi ที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย ช่วงอายุผู้ใหญ่ จาก WHO และ WPRO

ตารางเกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI จาก 2 องค์การระดับโลก WHO องค์การอนามัยโลก และ WPRO องค์การภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก ได้ให้เกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกายทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปดังตารางด้านล่างนี้

การแบ่งชั้นจำแนกประเภทระดับ BMI
Underweight (ต่ำกว่าเกณฑ์)<18.5
Normal range (เกณฑ์ปกติ)18.5-24.9
Pre-obese (น้ำหนักเกิน)25-29.9
Obese I (อ้วนระดับ 1)30-34.9
Obese II (อ้วนระดับ 2)35-39.9
Obese III (อ้วนระดับ 3)≥40
เกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI จาก WHO
การแบ่งชั้นจำแนกประเภทระดับ BMI
Underweight (ต่ำกว่าเกณฑ์)<18.5
Noral range (เกณฑ์ปกติ)18.5-22.9
Overweight at risk
(มีความเสี่ยงน้ำหนักเกินเกณฑ์)
23-24.9
Obese I (อ้วนระดับ 1)25-29.9
Obese II (อ้วนระดับ 2)≥30
เกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI จาก WPRO

ดัชนีมวลกาย ค่า bmi กับ ช่วงอายุ ในวัยเด็ก

การวัดค่า bmi ในวัยเด็กจะมีความแตกต่างจากการวัดค่า BMI หรือการวัดค่าดัชนีมวลกายในผู้ใหญ่ โดยเกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกายในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นช่วงอายุ 2-20 ปีนั้น ทาง CDC หรือ The Centers for Disease Control and Prevention ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค กรมอนามัยแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้เกณฑ์ BMI ส่วนสูงและน้ำหนักในแต่ละช่วงวัยของเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย รวมไปจนถึงวัยรุ่นผู้หญิงและผู้ชาย ที่มีอายุตั้งแต่ 2-20 ปีเอาไว้ โดยการประเมินค่า BMI ในเด็กจะนำเอามาใช้ในการวิเคราะห์การเจริญเติบโตในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ไทล์โดยเน้นวิเคราะห์จากเพศและอายุเป็นปัจจัยหลัก เนื่องจากว่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายเด็กนั้นสามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเด็กมีการเจริญเติบโตขึ้นตามวัย และเกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกายในวัยเด็กมีอีกหนึ่งชื่อเรียกว่า BMI for age โดยเกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกายในวัยเด็กและวัยรุ่น มีเกณฑ์การวัดตามตารางด้านล่างนี้

การแบ่งชั้นจำแนกประเภทช่วงเปอร์เซ็นต์ไทล์
Underweight (ต่ำกว่าเกณฑ์)<5%
Health weight (เกณฑ์ปกติ)5%-85%
At risk of overweight (เสี่ยงเกินเกณฑ์)85%-95%
Overweight (น้ำหนักเกิน)>95%
เกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI จาก CDC

เพิ่มเติม: The Centers for Disease Control and Prevention ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค กรมอนามัยแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้เกณฑ์ BMI ส่วนสูงและน้ำหนักตามกราฟต่อไปนี้

กราฟ BMI ในเด็กและวัยรุ่นชาย
กราฟ BMI ในเด็กและวัยรุ่นหญิง

ข้อจำกัดของค่าดัชนีมวลกาย BMI

ถึงแม้ว่าค่าดัชนีมวลกาย Body Mass Index หรือ BMI เป็นการวัดประเมินความเสี่ยงของร่างกาย ที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์น้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์ดีต่อสุขภาพและร่างกายได้ แต่ดัชนีมวลกายหรือค่า BMI เองยังคงมีข้อจำกัดในการวิเคราะห์เช่นเดียวกัน การวิเคราะห์ประเมินด้วยค่าดัชนีมวลกายเป็นเพียงการประเมินในเบื้องต้น ที่ไม่สามารถพิจารณาองค์ประกอบของร่างกายทั้งหมดได้ เนื่องจากภายในร่างกายยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นการกระจายของกล้ามเนื้อ มวลกระดูก และไขมัน การวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI ควรได้รับการวิเคราะห์ประเมินร่วมไปกับการวัดอื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกันจึงจะให้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นกว่าการใช้ค่า BMI เพียงอย่างเดียวในการกำหนดน้ำหนักของร่างกายในแต่ละบุคคล

ข้อจำกัด การวัดค่า bmi ที่เหมาะสมในวัยผู้ใหญ่

ในการวัดค่าดัชนีมวลกายอาจไม่ได้มีความแม่นยำอย่างเต็มที่เนื่องจากเป็นการวัดวิเคราะห์ และประเมินจากน้ำหนักส่วนเกินแทนไขมันในร่างกาย ค่า bmi ที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัยปัจจัยอื่นๆ ก็มีอิทธิพลด้วยเช่นเดียวกัน อาทิเช่น อายุ, เพศ, เชื้อชาติ, มวลกล้ามเนื้อ, ไขมันในร่างกาย และกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุที่มีเกณฑ์น้ำหนักเหมาะสมต่อร่างกายและมีผลดีต่อสุขภาพแต่ไม่ได้ใช้งานอย่างสมบูรณ์ในชีวิตประจำวัน อาจมีปริมาณไขมันสูงถึงแม้ว่าน้ำหนักจะไม่สูงและอยู่ในเกณฑ์ดีก็ตาม ดังนั้นการวัดค่าดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ BMI จึงควรที่จะทำร่วมกับการวิเคราะห์อื่นๆ

ข้อจำกัด การวัดค่า bmi ที่เหมาะสมในเด็กและวัยรุ่น

ข้อจำกัดการวัดค่าดัชนีมวลกายในเด็กและวัยรุ่นเองไม่แตกต่างไปจากข้อจำกัดการวัดดัชนีมวลกายหรือ BMI ในช่วงวัยผู้ใหญ่ ปัจจัยที่จำกัดประสิทธิภาพของการวัดค่าดัชนีมวลกายในวัยผู้ใหญ่ สามารถที่จะนำเอาไปใช้กับช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นได้ รวมไปถึงความสูงและการเจริญเติบโตทางเพศเองมีผลต่อค่าดัชนีมวลกายและไขมันในร่างกายเช่นเดียวกัน หากมีการเปลี่ยนแปลงในการเจริญเติบโตตามช่วงวัยอาจทำให้การวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI คลาดเคลื่อน

สรุป

ค่า bmi กับ ช่วงอายุ มีความแตกต่างกันออกไปตามช่วงวัย การวัดวิเคราะห์ค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัยสามารถบ่งบอกถึงเกณฑ์น้ำหนักตัวที่เหมาะสม และสามารถบ่งบอกเกณฑ์น้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพได้ สำหรับผู้ที่ทำการวัดค่า BMI ประเมินเบื้องต้นและมีแนวโน้มน้ำหนักเกินเกณฑ์ BMI หรือผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ไปแล้ว สามารถที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ปรับเปลี่ยนโภชนาการหรือการรับประทานอาหาร เพิ่มวินัยในการออกกำลังกาย เพื่อรักษาเกณฑ์น้ำหนักที่เหมาะสมกับตนเองได้ และน้ำหนักตัวที่เหมาะสมที่อยู่ในเกณฑ์ดีจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ การวิเคราะห์ BMI หรือค่าดัชนีมวลกายมีประโยชน์อย่างมากในเรื่องของสุขภาพ หากต้องการมีสุขภาพที่ดีและต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเกิดโรคร้าย ค่าดัชนีมวลกายเป็นอีกหนึ่งวิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่สามารถเชื่อถือได้ 

Scroll to Top