ยาลดกรด ยากรดไหลย้อน ช่วยแก้กรดไหลย้อนในกระเพาะได้ แต่การใช้ยานั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ อาการกรดไหลย้อนส่วนใหญ่นั้นมักจะมีผลจากพฤติกรรมของผู้ป่วย อาการนี้ส่วนใหญ่จะเกิดจากสาเหตุก่อนเกิดอาการประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
หากทราบถึงสาเหตุของการเกิดได้นั้นย่อมทำให้ผู้ป่วยสามารถลดการใช้ยาได้ในระยะยาว แต่ถ้าหากไม่สามารถหาสาเหตุเพื่อรักษาในระยะยาวได้นั้น เมื่อหยุดกินยาก็จะทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้นมาได้
การใช้ยาลดกรดไหลย้อนนั้นขึ้นอยู่กับอาการและอายุของผู้ป่วย โดยแพทย์จะแนะนำให้ทานยาเพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารหรือลดปริมาณกรดที่จะไหลย้อนขึ้นไป
สาเหตุภาวะกรดไหลย้อน
- ภาวะกรดไหลย้อนที่เกิดขึ้นในทารกนั้นเป็นเรื่องปกติ เด็กจะหายเองเมื่อเติบโตขึ้น
- ภาวะกรดไหลย้อนที่เกิดจากสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารของผู้ป่วยไหลเข้าสู่หลอดอาหาร
- ภาวะที่เกิดจากพฤติกรรมการกินอาหาร เช่น กินอาหารมากเกินไป กินอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันเป็นจำนวนมาก
ยาลดกรดไหลย้อน ในแต่ละภาวะกรดไหลย้อน
การรักษากรดไหลย้อนด้วยยาจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ ระดับที่ 1 ยาลดปริมาณกรดที่จะไหลย้อนขึ้นไป, ระดับที่ 2 ยาที่ทำให้หยุดการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร และระดับที่ 3 ยาทำให้หูรูดกระเพาะอาหารปิดได้สนิทขึ้นเพื่อทำให้ไม่เกิดภาวะไหลย้อน
ยาทุกชนิดนั้นจะมี 2 ชื่อเสมอ คือ ชื่อสามัญและชื่อทางการค้า (ยี่ห้อ) ยาบางยี่ห้ออาจจะมีชื่อสามัญและชื่อทางการค้าเป็นชื่อเดียวกัน เช่น พาราเซตามอล เป็นต้น
- ระดับที่ 1 ยาระดับนี้นิยมใช้ในการรักษาผู้ป่วยเด็ก ชนิดน้ำ เป็นยาลดการผลิตกรด (H2-BLOCKERS) หรือยาลดกรด (Antacids) มักเป็นยาชนิดแรกๆที่จะถูกใช้ ยาชนิดนี้นั้นช่วยในเรื่องของการไม่ทำให้กรดไหลย้อนเข้าหลอดอาหาร เช่น
- Famotidine (Pepcid®)
- Nizatidine (Axid®)
- Cimetidine (Tagamet®)
- Ranitidine (Zantac®)
- ระดับที่ 2 ยาในกลุ่ม Proton Pump Inhibitors (PPIs) มีหน้าที่ยับยั้งการสร้างหรือผลิตกรดของกระเพาะอาหาร ผลข้างเคียงน้อย แต่อาจจะพบผลข้างเคียงได้ในผู้ป่วยบางราย เช่น อาการปวดศรีษะ คลื่นไส้ หรือท้องผูก ซึ่งส่วนใหญ่ 90% ใช้แล้วจะหายจากอาการกรดไหลย้อน ตัวอย่างยาเช่น
- Pantoprazole (Protonix®)
- Esomeprazole (Nexium®)
- Lansoprazole (Prevacid®)
- Rabeprazole (Aciphex®)
- Omeprazole (Prilosec®, Miracid®)
3. ระดับที่ 3 ยาในกลุ่ม Prokinetic Agents ยาในกลุ่มนี้มักใช้ร่วมกับยาในกลุ่มระดับที่ 1 หรือ ยาลดกรด ซึ่งยาชนิดนี้จะทำหน้าที่ในการปรับการทำงานของหลอดอาหารและกระเพาะอาหารให้เข้าสู่สภาวะปกติ ทำให้ไม่เกิดภาวะไหลย้อน ตัวอย่างเช่น
- Domperidone (Motilium-M®, Mirax-M®)
- Itopride (Ganaton®)
- Erythromycin (Dispertab®, Robimycin®)
- Bethanechol (Duvoid®, Urecholine®)
- Metoclopramide (Reglan®) ยากลุ่มนี้มีปฏิกิริยากับยาชนิดอื่น ผู้ป่วยจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ากำลังทานยาชนิดอื่นอยู่ด้วยหรือไม่
โดยสรุป การรักษากรดไหลย้อนให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดนั้น จำเป็นต้องใช้ยาลดกรดไหลย้อน เพื่อลดอาการกรดไหลย้อนในเบื้องต้นทำควบคู่ไปพร้อมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้อาการกรดไหลย้อนนั้นอาการดีขึ้นได้เร็ว ลดการเป็นซ้ำและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา
อ้างอิง
Morris SY. Nexium vs. Prilosec: Two GERD Treatments [internet]. 2019 [cited 2020 Jan 10]. available from: https://www.healthline.com/health/gerd/nexium-vs-prilosec
GERD Treatments and Medications https://www.singlecare.com/conditions/gerd-treatment-and-medications