[สัญญาณ] วัยทอง อาการวัยทอง เกิดจากอะไร อายุเท่าไหร่ วิธีการรับมือ?

วัยทอง อาการวัยทอง กล่าวคือ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเข้าสู่ช่วงวัยที่มีระดับฮอร์โมนเพศลดลง เช่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone), ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นหรือเมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย โดยอาการสามารถสังเกตได้จากอารมณ์ที่มีความแปรปรวน, ความรู้สึกปวดเมื่อยที่บริเวณกล้ามเนื้อ และสภาพผิวที่เปลี่ยนแปลงไป โดยอาการเหล่านี้มักส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตทั้งของตัวเองและอาจส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างได้ด้วยเช่นเดียวกัน

วัยทอง อาการร้อนวูบวาบ เกิดจากสาเหตุใด?

วัยทอง อาการวัยทอง นั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งในเพศหญิงและเพศชาย โดยการเกิดอาการวัยทองของทั้ง 2 เพศนั้น อาจมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

สาเหตุการเกิด วัยทอง อาการ หญิง อายุ ?

  • ฮอร์โมนเพศลดลง เพศหญิงเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป การทำงานของรังไข่ที่มีส่วนช่วยในการผลิตระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เริ่มน้อยลง ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นฮอร์โมนที่ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากในภาวะเจริญพันธุ์ และการมาของรอบเดือนหรือประจำเดือน ซึ่งอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจมีประจำเดือนมาน้อย และประจำเดือนอาจหยุดลงเมื่อก้าวเข้าสู่อายุ 40-50 ปีขึ้นไป
  • ผ่าตัดรังไข่ออก เนื่องจากรังไข่เป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ที่มีส่วนช่วยในการผลิตฮอร์โมนเพศ หรือฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน อีกทั้งยังควบคุมการมาของประจำเดือน เมื่อมีการผ่าตัดนำรังไข่ออกทั้งหมดจะส่งผลให้ประจำเดือนหมดและเข้าสู่วัยทอง
  • เคมีบำบัดและการฉายรังสี ในการทำเคมีบำบัดและฉายแสงรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานของรังไข่ ส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนเพศลดลง อาจทำให้ประจำเดือนหยุดลงและเข้าสู่อาการวัยทอง
  • ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด เป็นภาวะที่อาจพบได้น้อย โดยมีสาเหตุมาจากการที่รังไข่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศได้ในระดับที่เพียงพอ และส่งผลให้ประจำเดือนหยุดลงเข้าสู่ช่วงวัยทองก่อนถึงช่วงสูงอายุ
รูปภาพประกอบจาก Freepik

สาเหตุการเกิด วัยทอง อาการ ผู้ชาย อายุ ?

วัยทอง อาการ ผู้ชาย อาจมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ลดลง โดยเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 45-50 ปีขึ้นไป และอาจมีอาการรุนแรงขึ้นหลังจากอายุ 70 ปี โดยสามารถเข้ารับการตรวจสอบเช็คระดับฮอร์โมนว่าลดลงหรือไม่ด้วยการตรวจเลือด เพื่อเข้ารับการบำบัดและบรรเทาอาการวัยทอง ที่อาจส่งผลต่อสภาพร่างกายและสุขภาพจิตหากมีระดับอาการที่รุนแรง และอาจนำไปสู่การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและ ภาวะซึมเศร้า ได้

ผู้ที่ก้าวเข้าสู่ วัยทอง อาการวัยทอง มีอาการอย่างไร?

ในการสังเกต วัยทอง อาการ สามารถสังเกตได้จากอาการความเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้

  1. ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนหมด
  2. ช่องคลอดแห้ง
  3. รู้สึกเจ็บเต้านม
  4. วัยทอง อาการร้อนวูบวาบ
  5. อารมณ์แปรปรวน
  6. มีความรู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกายบ่อย
  7. กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  8. รู้สึกซึมเศร้าและรู้สึกหดหู่
  9. มีน้ำหนักขึ้น
  10. ปวดหัวไมเกรน
  11. นอนไม่หลับ มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน
  12. เหงื่อออกในเวลากลางคืน
  13. ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน
  14. หลงลืมง่าย
  15. ความต้องการทางเพศลดลง
  16. ผิวแห้งและมีอาการคัน

วัยทอง อาการวัยทอง มีภาวะแทรกซ้อนใดบ้าง?

ภาวะแทรกซ้อนของช่วงวัยทอง ที่อาจเกิดขึ้นได้ในเพศหญิงและเพศชาย ที่ก้าวเข้าสู่ช่วงวัยทอง มีดังนี้

  • โรคอ้วน อาการวัยทองนั้นอาจส่งผลให้น้ำหนักขึ้น และอาจทำให้น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน BMI และนำไปสู่ โรคอ้วน ได้
  • โรคกระดูกพรุน อาการวัยทองหรือวัยสูงอายุอาจเพิ่มความเสี่ยงในการสูญเสียมวลกระดูกและอาจนำไปสู่กระดูกพรุน กระดูกเปราะบางและกระดูกแตกหักง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณข้อมือ, สะโพก และบริเวณสันหลัง
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ลดลง อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนมีความสำคัญที่จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ภาวะที่อาจมีปัสสาวะซึมหรือไหลออกมาโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เป็นภาวะที่พบได้ในเพศหญิงสูงอายุหรือวัยทอง เนื่องจากการสูญเสียเนื้อเยื่อในช่องคลอดและท่อปัสสาวะ ส่งผลให้มีความรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยและไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ อีกทั้งยังอาจส่งผลให้ช่องคลอดแห้ง มีเลือดทางช่องคลอดออกเล็กน้อย และรู้สึกเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์
รูปภาพประกอบจาก Freepik

วิธีการรับมือกับ วัยทอง อาการวัยทอง

  • ฝึกควบคุมอารมณ์ตนเอง เมื่อสังเกตได้ถึงอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หรืออาจหากิจกรรมที่รู้สึกสนใจและผ่อนคลาย ที่อาจทำให้รู้สึกดีขึ้น เช่น การนอนหลับพักผ่อน, อ่านหนังสือ, ฝึกสมาธิ, ใช้เวลาอยู่กับสัตว์เลี้ยง หรือการทำงานฝีมือ
  • ดื่มน้ำเย็นให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิร้อนจัด และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ สำหรับผู้ที่มีภาวะหลับยากหรือนอนไม่หลับ สามารถสร้างบรรยากาศในการนอนได้ด้วยการเปิดไฟสลัว, เปิดเพลงคลอ, ปิดม่านให้มิดชิด, ใช้สเปรย์ปรับอากาศที่มีกลิ่นหอมผ่อนคลาย หรือปิดไฟ
  • รับประทานให้ครบ 5 หมู่ และเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยเน้นไปที่การเลือกรับประทานผัก, ผลไม้ , ธัญพืชไม่ขัดสี และไขมันดี เพื่อสารอาหารที่สำคัญและเสริมสร้างวิตามินที่จำเป็นแก่ร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ และควบคุมน้ำหนัก โดยการเลือกรูปแบบการออกกำลังกายควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการออกกำลังกายในรูปแบบที่เหมาะสมต่อสุขภาพ
  • งดสูบบุหรี่ เพื่อหลีกเลี่ยงสารพิษในบุหรี่ที่ทำลายเซลล์ในร่างกาย และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรง อาทิเช่น โรคหลอดเลือดตีบตัน, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง เป็นต้น
  • เข้ารับการบำบัดด้วยฮอร์โมนเพศ เพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนและช่วยบรรเทาอาการวัยทอง เช่น อาการช่องคลอดแห้ง และป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก
  • ในผู้ที่มี ภาวะซึมเศร้า ควรเข้าปรึกษาและรักษาโดยแพทย์
  • บำรุงผิวด้วยการเลือกใช้ มอยเจอร์ไรเซอร์ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ลดอาการผิวแห้งและอาการคัน

วิธีการรับมือกับผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทอง สำหรับผู้ใกล้ชิด

วัยทอง เป็นอาการที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างปุบปับและไม่ใช่อาการที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด โดยอาการวัยทองนั้นมักมีสัญญาณเตือนที่สามารถสังเกตได้ง่ายก่อนการเข้าสู่ช่วงวัยทอง ดังนั้น สำหรับผู้ที่ต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทอง อย่างเช่น ครอบครัว การเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการและเตรียมพร้อมในวิธีการรับมือไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้สามารถเข้าใจและรับมือกับอาการวัยทองได้ดี

  • พูดคุยถึงปัญหา การสื่อสารพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและสามารถเข้าใจกันได้ง่ายที่สุด โดยการพูดคุยถึงอาการวัยทองที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ทั้งผู้ที่มีอาการวัยทองและผู้ใกล้ชิดที่ต้องดูแลสามารถรับรู้ถึงความต้องการของกันและกันได้ดียิ่งขึ้น ถึงแม้ในบางครั้งผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทองจะไม่สามารถอธิบายถึงอาการหรือความต้องการได้อย่างชัดเจน แต่หากได้พูดคุยกันอย่างเข้าใจจะช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้
  • กระชับความสัมพันธ์ การใส่ใจ การดูแล และการทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น การเดินเล่น, การออกกำลังกาย, การดูหนัง หรือการทำอาหาร เป็นวิธีกระชับความสัมพันธ์ที่จะส่งผลให้เกิดความรู้สึกดีต่อกัน

วิธีการรับมือกับผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทองสำหรับผู้ใกล้ชิดแล้ว การทำความเข้าใจถือเป็นสิ่งสำคัญ แน่นอนว่าในบางครั้งอาการวัยทองอาจทำให้ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทองพูดหรือแสดงออกถึงพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดความรำคาญใจ แต่หากเข้าใจว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากสาเหตุใด และมีการพูดคุยถึงปัญหา การรับมือกับผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทองนั้นไม่ใช่เรื่องยาก

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วน จากแหล่งที่มา

Scroll to Top