โรคซึมเศร้า (Depression) มีกี่ระยะ อาการระยะแรก เป็นอย่างไร?

โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นอาการของสมองเกิดความผิดปกติในการหลั่งสารที่เรียกว่า “เซโรโทนิน (Serotonin)” ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึกต่าง ๆ ของสมองและระบบประสาทภายในร่างกาย เช่น ความเจ็บปวด ความหิว ความสุข ความเครียด ฯลฯ เมื่อร่างกายหลั่งสารเซโรโทนินลดลง ทำให้สารเคมีภายในสมองและระบบประสาทขาดสมดุล ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้

โรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร

โรคซึมเศร้า (Depression) เกิดจากการหลั่งสารเซโรโทนินผิดปกติ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนินผิดปกติ ทางการแพทย์แบ่งเป็น 2 ปัจจัย ดังนี้ 

  1. ปัจจัยทางกายภาพ หมายถึง สิ่งที่ไม่มีชีวิตที่กระทบต่อการหลั่งสารเซโรโทนิน จากการวินิจฉัยของแพทย์ พบว่ามีปัจจัยทางกายภาพ ดังนี้ 
  • กรรมพันธุ์ เป็นการส่งต่อกันทางพันธุกรรม สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าชนิดเรื้อรัง อาการกำเริบบ่อยครั้ง ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ มักมีความเสี่ยงที่จะส่งต่อภาวะที่ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนินผิดปกติได้ 
  • เซลล์รับสารเคมีทำงานบกพร่อง ส่งผลให้สารเซโรโทนินไม่สามารถกระจายไปตามระบบประสาทต่าง  ๆ ได้ตามปกติ สมองและระบบประสาทจึงได้รับสารดังกล่าวลดน้อยลง เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้  
  1. ปัจจัยทางชีวิภาพ หมายถึง สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อกระทบต่อสมองและระบบประสาท จากการวินิจฉัยของแพทย์ พบว่ามีปัจจัยทางชีวภาพ ดังนี้ 
  • เกิดความเครียดสะสมเป็นระยะเวลานาน 
  • การสูญเสียสิ่งที่รักครั้งใหญ่กะทันหัน 
  • สภาพแวดล้อมภายในครอบครัว 
  • ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างมีปัญหา 
  • สถานการณ์อื่น ๆ ที่ส่งผลลบต่อจิตใจ 

ประเภทของโรคซึมเศร้า มีอะไรบ้าง

โรคซึมเศร้า (Depression) มีผลต่ออารมณ์และความคิดโดยตรง โดยทางการแพทย์แบ่งโรคซึมเศร้าเป็น 2 ประเภท ต่อไปนี้

  1. โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว (Mania) หมายถึง ผู้ป่วยแสดงอาการซึมเศร้ารูปแบบเดียว อารมณ์เศร้าคงที่ไม่แปรปรวน 
  2. โรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ (Bipolar) หมายถึง ผู้ป่วยแสดงออกทางอารมณ์ไม่คงที่ อารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง โดยไม่ทราบสาเหตุ 

โรคซึมเศร้ามีกี่ระดับ อะไรบ้าง

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความรุนแรงของอาการซึมเศร้าตามระยะเวลาความผิดปกติของการหลั่งสารเซโรโทนิน ซึ่งแพทย์แบ่งระดับของโรคซึมเศร้า เป็น 7 ระดับ ต่อไปนี้ 

  1. อารมณ์เปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยมีอาการเศร้า เสียใจ เคยทำกิจกรรมที่ชื่นชอบแล้วมีความสุข เมื่อกลับมาทำกิจกรรมซ้ำอีกครั้งกลับไม่มีความสุข รู้สึกเบื่อกับทุกกิจกรรม ผู้ป่วยบางรายมีอารมณ์รุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน 
  2. ความคิดเปลี่ยนแปลง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมองโลกในแง่ลบ แม้บางครั้งเป็นสถานการณ์ที่ดี แต่ความคิดกลับคิดลบ ตั้งแง่ และเกิดความทุกข์ใจ หวัดระแวงทุกสิ่งรอบกาย 
  3. ไม่มีสมาธิ ความจำสั้นลง มีอาการเหม่อลอย วางสิ่งของแล้วลืมทันที เป็นอาการที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน 
  4. อาการทางร่างกายเปลี่ยนแปลง ร่างกายอ่อนแรง นอนหลับไม่สนิท หรือผู้ป่วยบางรายนอนนานผิดปกติ เช่น นอน 10-12 ชั่วโมง แต่รู้สึกอ่อนเพลียและอยากนอนมากขึ้น ไม่มีแรงบันดาลใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เหมือนที่ผ่านมา 
  5. ความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างเปลี่ยนแปลง เมื่ออาการซึมเศร้ารุนแรงขึ้น ผู้ป่วยไม่มีความร่าเริงสดใส สภาพจิตใจคิดลบตลอดเวลา และไม่อยากเข้าสังคม ไม่อยากพบปะผู้คน ผู้ป่วยบางรายอารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรงส่งผลให้มีปัญหากับบุคคลรอบข้างเป็นประจำ 
  6. การทำงานมีประสิทธิภาพแย่ลง ผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ไม่มีสมาธิ การคิด วิเคราะห์ต่าง ๆ แย่ลงอย่างชัดเจน 
  7. ปัญหาสุขภาพทางจิต หรือ โรคจิต เมื่อผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้ารุนแรง ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ส่งผลรุนแรงจนเป็นปัญหาสุขภาพจิตได้ในที่สุด 

เช็คอาการโรคซึมเศร้า อย่างไร

โรคซึมเศร้า (Depression) สามารถตรวจสอบอาการเบื้องต้นจากการสังเกตพฤติกรรมและทำแบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้ 

  1. การสังเกตพฤติกรรม แบ่งออกเป็น 9 พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า ดังนี้
  • รู้สึกเศร้า เบื่อหน่าย หรืออารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง โดยที่ไม่ทราบสาเหตุ 
  • ไม่อยากทำกิจกรรมใด ๆ จากกิจกรรมที่ชื่นชอบก็ไม่อยากทำ 
  • ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป บางรายเบื่ออาหาร บางรายความอยากอาหารมากขึ้น 
  • นอนหลับไม่สนิท สะดุ้งตื่นในเวลากลางคืนเป็นประจำ 
  • ความกระตือรือร้นลดลง การวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ช้าลง 
  • ร่างกายอ่อนเพลีย สภาพจิตใจไม่พร้อมทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยทำ
  • รู้สึกด้อยค่าตนเอง คิดลบและวิตกกังวลทุกสถานการณ์ 
  • สมาธิสั้น ความจำระยะสั้นแย่ลง 
  • คิดอยากทำร้ายตนเอง 
  1. การตอบแบบสอบถามออนไลน์ฟรี ของ เว็บไซต์ BIOCIAN เพื่อประเมินอาการซึมเศร้า โดยภายในเว็บไซต์ประกอบด้วย 9 คำถาม แต่ละคำถามผ่านการวิจัยจากหน่วยงานด้านสุขภาพมากกว่า 50 ท่าน ส่งผลให้การทำแบบประเมินอาการซึมเศร้าเชื่อถือได้ เมื่อทำแบบทดสอบจนครบทุกข้อคำถาม หน้าเว็บไซต์แสดงผลการทดสอบ พร้อมคำแนะนำซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน

แนะนำ ตรวจโรคซึมเศร้า แบบทดสอบโรคซึมเศร้า (PHQ-9)

การรักษาโรคซึมเศร้ามีกี่วิธี อะไรบ้าง

โรคซึมเศร้า (Depression) ไม่สามารถยืนยันโรคด้วยตนเองได้ แม้ว่าจะทำแบบทดสอบโรคซึมเศร้าออนไลน์ร่วมกับการสังเกตพฤติกรรม ซึ่งอาการและแบบทดสอบชี้วัดว่ามีอาการของโรคซึมเศร้า ผู้ที่มีอาการต้องเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์อีกครั้ง เพื่อการรักษาที่ถูกวิธี 

โดยการรักษาโรคซึมเศร้าของแพทย์ แบ่งเป็น 3 วิธี มีรายละเอียดต่อไปนี้ 

  1. การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยา สำหรับยารักษาอาการซึมเศร้าแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
  • ยากลุ่มต้านเศร้า (Antidepressants) เป็นยาพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เพื่อลดความตึงเครียด ให้แพทย์และผู้ป่วยสามารถรักษาอาการซึมเศร้าร่วมกันได้ง่ายขึ้น หากผู้ป่วยยังมีความกังวล เครียด การรักษาของแพทย์ยากขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยอาจจะไม่ทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ และจิตใจไม่พร้อมเรียนรู้วิธีปรับทัศนคติ ความคิดต่าง ๆ ในทางที่ดีขึ้น  
  • ยากลุ่มอื่น ๆ (Other Medications) เป็นยารักษาอาการซึมเศร้าเฉพาะอาการ เช่น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วย แพทย์จะจ่ายยาสมาธิสั้นให้เพิ่มเติม เป็นต้น 
  1. การรักษาแบบจิตบำบัด เป็นวิธีการรักษาที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ให้ผู้ป่วย โดยการเปลี่ยนแปลงความคิดของผู้ป่วย หรือชี้แนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยสามารถนำไปใช้ในการจัดการปัญหาที่ก่อให้เกิดความตึงเครียด
  2. การรักษารูปแบบอื่น ๆ เช่น การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าให้การหลั่งสารเซโรโทนินสมดุล หรือการกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส เป็นต้น 

ยาโรคซึมเศร้า มีอะไรบ้าง 

ยารักษาอาการโรคซึมเศร้า แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ยากลุ่มลดความเครียดและยารักษาตามอาการของผู้ป่วย ประกอบด้วย Amitriptyline, Nortriptyline, Imipramine, Doxepine, Clomipramine, Trazodone, Mianserin, Fluoxetine, Fluvoxamine, Paroxetine, Escitralopram ,Sertraline, Venlafaxine, Mirtazapine, Tianeptine, Bupropion, Duloxetine เป็นต้น 

ปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้ายังมีการวิจัยและพัฒนาหลากหลายชนิด แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและเลือกยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ป่วยไม่สามารถสั่งซื้อยาเองได้ เนื่องจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาผิดวิธี มีดังนี้ 

  1. คลื่นไส้ อาเจียน 
  2. กระวนกระวาย 
  3. อ่อนเพลีย ง่วงซึมตลอดเวลา 
  4. ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ
  5. ปากแห้ง คอแห้ง เป็นต้น 

วิธีรักษาโรคซึมเศร้าด้วยตนเอง 

เมื่อป่วยเป็นโรคซึมเศร้า นอกจากการพบแพทย์เพื่อรับยารักษาอาการโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยสามารถรับมือกับอาการได้ด้วยตนเอง ดังนี้ 

  1. เรียนรู้วิธีผ่อนคลายความเครียดของตนเอง 
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความสุขออกมาเพื่อช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า
  3. บริหารเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันให้หลากหลาย 
  4. หลีกเลี่ยงการตัดสินใจครั้งสำคัญหรืออยู่ในสถานการณ์ที่กดดัน 
  5. ทำความเข้าใจกับบุคคลใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาขัดแย้งภายในครอบครัว 
  6. ให้เวลากับตนเอง เรียนรู้และทำกิจกรรมใหม่ ๆ เสมอ 

การป้องกัน โรคซึมเศร้า 

ปัจจุบันโรคซึมเศร้าปัญหาสุขภาพใกล้ตัวทุกวัย ซึ่งการป้องกันตนเองไม่ให้เกิดโรคซึมเศร้า สามารถป้องกันได้ 3 วิธีต่อไปนี้ 

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน การหลั่งสารเซโรโทนินจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำ ขณะที่ออกกำลังกายร่างกายมีการขับของเสียและหลั่งฮอร์โมนความสุข ช่วยลดความเครียด
  3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน ฝึกสมาธิ และการคิดบวกเป็นประจำ ป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าได้ระยะยาว

สรุป 

โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นอาการของสมองเกิดความผิดปกติในการหลั่งสารเซโรโทนิน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึกของสมองและระบบประสาท ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้า บางรายอารมณ์ฉุนเฉี่ยวรุนแรง จนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตในที่สุด โดยวิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการโรคซึมเศร้า คือ ทานยาควบคุมอาการปรับเปลี่ยนทัศนคติความคิดร่วมกัน ส่งผลให้การรักษามีประสิทธิภาพ โอกาสการกำเริบของโรคซึมเศร้าซ้ำในระยะยาวลดลง

ที่มา

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top