ส่องสถิติ โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น ภัยร้ายทางอารมณ์ ที่สังคมไทยต้องรู้

โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น เป็นโรคทางอารมณ์ที่พบได้บ่อย ภาวะนี้อาจมีสาเหตุจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การสูญเสีย ความผิดหวัง การถูกทอดทิ้ง หรือแม้กระทั่งเกิดขึ้นเองจากสังคมรอบข้างที่เป็นลบ ความเจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง หรือการเปลี่ยนแปลงในชีวิตอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมีลักษณะอารมณ์เศร้าหมอง หงุดหงิดง่าย และไม่สนใจสิ่งรอบข้าง

โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น สถิติ
ที่มาของรูปภาพ : freepik

อาการทั่วไปอื่นๆ ได้แก่ น้ำหนักลด หรือน้ำหนักเพิ่ม อย่างรวดเร็ว อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นหนึ่งในโรคทางจิต ที่พบได้บ่อยทั่วโลก ปัจจัยต่างๆ มากมายสามารถนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าของบุคคลหนึ่งได้ และภาวะซึมเศร้ามักเป็นการวินิจฉัยที่ทับซ้อนกัน พร้อมกับสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ หรือความผิดปกติทางจิต

เปิดตัวเลขผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในประเทศไทย (รายจังหวัด)

โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น จากข้อมูลของ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ประชากรของประเทศที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 50,521,654 คน ในจำนวนนี้ มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา จำนวน 1,235,335 คน พบผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากที่สุด 10 จังหวัด ดังนี้

สถิติโรคซึมเศร้าในไทย
ที่มาของรูปภาพ : komchadluek
  • นครราชสีมา 64,928 ราย  (พบมากที่สุด)
  • จังหวัดเชียงใหม่ 50,112 ราย
  • อุบลราชธานี 46,809 ราย
  • ขอนแก่น 38,878 ราย
  • นนทบุรี 36,694 ราย
  • บุรีรัมย์  34,994 ราย
  • สงขลา 30,827  ราย  
  • สุราษฎร์ธานี 27,848 ราย 
  • ศรีสะเกษ 27,769 ราย
  • นครศรีธรรมราช  27,273 ราย 

และจังหวัดที่พบผู้ป่วยโรคซึมเศร้าน้อยที่สุด ได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม 3,248 ราย 

ทั้งนี้ การวิจัยพบว่า ความชุกของโรคซึมเศร้านี้ พบในเด็กวัยก่อนเรียนอยู่ที่ 1% เท่านั้น แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 5-8% ในช่วงวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึง 15.3% ในช่วงชีวิตวัยรุ่น ซึ่งสรุปได้ว่า แต่ละช่วงวัยมีผลต่อโรคซึมเศร้า 

เปิดตัวเลขโรคซึมเศร้า และสาเหตุหลักของการเกิดโรค ตามช่วงอายุ

โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น เป็นโรคทางจิต ที่ส่งผลกระทบต่อประชากรส่วนใหญ่ ตามสถิติของภาวะซึมเศร้า ผู้ใหญ่มากกว่า 7% ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ตาม อัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าสูงสุดพบได้ใน คนอายุ 12-25 ปี กลุ่มวัยนี้ซึ่งรวมถึงวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว มีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อภาวะซึมเศร้าและสามารถทดสอบภาวะซึมเศร้าเบื้องต้นได้เอง ซึ่งจากการสรุปสถิติแล้วพบว่า 

สถิติโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น
ที่มาของรูปภาพ : freepik

ภาวะซึมเศร้ารุนแรงสูงสุด

  • วัยรุ่นอายุ 12 ถึง 17 ปี มีอัตราการเป็นโรคของภาวะซึมเศร้ารุนแรงสูงสุด (14.4%) ตามด้วยคนหนุ่มสาวอายุ 18 ถึง 25 ปี (13.8%) (Substance Abuse and Mental Health Services Association, 2018)

สาเหตุภาวะซึมเศร้ารุนแรงสูงสุดของวัยรุ่น

  • พันธุกรรม หากพ่อแม่หรือญาติสนิทมีภาวะซึมเศร้า เด็กอาจถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้
  • ปัญหาครอบครัวที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก เช่น การสูญเสียพ่อแม่ การทารุณกรรม หรือการถูกทอดทิ้ง ประสบการณ์เหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของเด็กวัยรุ่น ซึ่งนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ 
  • เด็กที่มีประวัติใช้ยาเสพติด ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน 
  • ความคิดเชิงลบ ยังนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า และหากเด็กขาดความเอาใจใส่จากสมาชิกในครอบครัวหรือคนรอบข้าง พวกเขาอาจพัฒนาความคิดเชิงลบได้ 
  • ประสบความผิดหวังในเรื่องเรียนหรือชีวิตรัก ก็ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน

ภาวะซึมเศร้ารุนแรงต่ำสุด

  • ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้ารุนแรงต่ำสุด (4.5%)  (Substance Abuse and Mental Health Services Association, 2018)

สาเหตุภาวะซึมเศร้ารุนแรงต่ำสุดของผู้สูงอายุ

  • พันธุกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ความเครียด ความบอบช้ำ และการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
  • ความเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ และเบาหวาน ยังสามารถทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าเนื่องจากผลกระทบทางอารมณ์และทางร่างกายที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล
  • สูญเสีย บุคคลอันเป็นที่รัก

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2556-2561 พบว่าภาวะซึมเศร้ารุนแรงในกลุ่มนักศึกษาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.4 เป็นร้อยละ 21.1 และตั้งแต่ปี 2550 ถึงปี 2561 อัตราการเกิดโรคซึมเศร้าระดับปานกลางถึงรุนแรงเพิ่มขึ้นจาก 23.2% เป็น 41.1% (Journal of Adolescent Health, 2019)

สรุป

โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น เป็นโรคทางอารมณ์ร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อคนหนุ่มสาวจำนวนมาก เกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติทั้งด้านความคิด แรงจูงใจ อารมณ์ และพฤติกรรม วัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้ามักมีความรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง และไร้ค่า ซึ่งอาจรบกวนชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์ของพวกเขาได้ พวกเขาอาจมีปัญหาในการมีสมาธิ รู้สึกเหนื่อยหรือหงุดหงิด และหมดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ อาการเหล่านี้รับมือได้ยากมาก และอาจนำไปสู่ปัญหาในโรงเรียน ที่บ้าน และกับเพื่อนได้ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองและผู้ดูแลต้องใส่ใจ วัยรุ่นจำนวนมากที่มีภาวะซึมเศร้าสามารถฟื้นตัวและดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดีได้ สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าภาวะซึมเศร้าเป็นโรคที่รักษาได้

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วน จากแหล่งที่มา

Scroll to Top