หน้าผาก คือ หนึ่งในบริเวณที่มีการเกิดปัญหา สิวขึ้นหน้าผาก ได้อยู่บ่อยๆ การเกิดสิวบนบริเวณหน้าผากนั้นมีลักษณะของสิวที่เกิดขึ้นด้วยกันได้หลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดสิวหัวขาว การเกิด สิวอักเสบ การเกิดสิวอุดตัน สิวไม่มีหัว รวมไปถึงสิวผดเองก็สามารถเกิดขึ้นในบริเวณหน้าผากได้เช่นเดียวกัน ซึ่งสาเหตุของการเกิดสิวบนบริเวณหน้าผากนั้นมีด้วยกันหลายสาเหตุ หากคุณกำลังประสบปัญหากวนใจอย่างการเกิดสิวในบริเวณนี้อยู่เสมอ มาดูกันว่าปัจจัยของการเกิดสิวเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับคุณอยู่หรือไม่ จะสามารถทำการรักษา และป้องกันการเกิดสิวในบริเวณนี้ได้อย่างไรบ้าง?
สาเหตุของสิวขึ้นหน้าผาก เกิดจากอะไร?
การเกิด สิว บริเวณหน้าผากนั้น มีสาเหตุการเกิดที่เหมือนกับสิวในบริเวณอื่นๆ โดยสาเหตุหลักนั้นมักมาจากการอุดตัน ของไขมันส่วนเกินในรูขุมขน เชื้อแบคทีเรีย สิ่งสกปรก และเซลล์ผิวหนังที่ตายไปแล้ว ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เมื่อเกิดการอุดตันขึ้น จะทำให้เกิดลักษณะตุ่มนูน ไปจนถึงเกิดการอักเสบในบริเวณนั้นๆ และการเกิดสิวบริเวณหน้าผากยังมีปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดสิวอีกมากมาย อาทิเช่น
- กรรมพันธุ์
- ความไม่สมดุลและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
- การรับประทานอาหาร
- การใช้ยาบางชนิด
- น้ำมันบนหนังศีรษะ และผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมที่เลือกใช้
- การใส่หมวกนานๆ รวมไปถึงการใช้ผ้าโพกหัวบ่อยครั้ง
สิวขึ้นหน้าผาก เกิดจาก กรรมพันธุ์ได้อย่างไร?
Gene หรือ กรรมพันธุ์ เป็นหน่วยที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ที่ปรากฏอยู่บนโครโมโซม และจะถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน ดังนั้นหากพบว่าคนในครอบครัวมีประวัติของการเกิดสิวได้ง่าย เมื่อมาถึงรุ่นลูกและรุ่นหลานย่อมมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสิวได้ง่ายเช่นเดียวกัน
ฮอร์โมน ส่งผลต่อการเกิดปัญหาสิวขึ้นหน้าผากได้อย่างไร?
ความไม่สมดุลและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน มีผลที่ทำให้เกิดสิวได้เช่นเดียวกันกับกรรมพันธุ์ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ยาก ในร่างกายมีฮอร์โมนหลากหลายชนิด ที่อาจทำให้เกิดปัญหาสิว ยกตัวอย่างเช่นฮอร์โมนเหล่านี้
- เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ฮอร์โมนเพศชาย ที่จะทำให้ต่อมไขมันสร้างไขมันมากขึ้น ส่งผลให้ผิวมัน และอาจเกิดการอุดตันที่รูขุมขน เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาสิวได้
- โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ฮอร์โมนเพศหญิง ที่สูงขึ้นจะทำให้เซลล์ผิวหนังเกิดการบวมจนปิดรูขุมขน ส่งผลให้ไขมันไม่สามารถที่จะระบายออกมาได้ ทำให้เกิดการอุดตันที่รูขุมขน เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดสิว
- คอร์ติซอล (Cortisol) สารแห่งความเครียด ที่จะทำให้ต่อมไขมันทำงานมากขึ้น เมื่อเกิดการหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา ส่งผลให้เกิดอาการผิวมัน และความเครียดยังมีผลทำให้ผิวหนังสามารถติดเชื้อได้ง่าย
การรับประทานอาหาร มีผลอย่างไรกับการเกิดสิว?
การเลือกรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล การเลือกรับประทานอาหารจำพวกแป้ง และการเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ผิวหนัง และทำให้เกิดแนวโน้มในการเกิดสิวได้ง่าย และการเลือกรับประทานอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงอาจทำให้เกิดสิวเห่อในบริเวณต่างๆ ได้ด้วย
สิวขึ้นหน้าผาก เกิดจาก การใช้ยาบางชนิด มียาอะไรบ้าง?
- ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) หรือ ยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาโรคภูมิต้านตนเอง, ลดการอักเสบทางเดินหายใจในโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ลดการอักเสบรุนแรงของอวัยวะภายใน, ลดปฏิกิริยาปฏิเสธเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ปลูกถ่าย, ลดอาการแพ้ เป็นต้น โดยการใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ มีผลข้างเคียงที่อาจทำให้เกิดสิว และอาจทำให้อาการสิวที่เป็นอยู่กำเริบขึ้นมาได้ จากการใช้ยาในปริมาณที่สูง หรือใช้ยาเป็นระยะเวลานาน
- ยาเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ยาเทสโทสเตอโรนเป็นการใช้ยาเพื่อทดแทนฮอร์โมนเพศชาย สำหรับผู้ที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ได้หรือผลิตได้น้อย การใช้ยาเทสโทสเตอโรนมีลักษณะการใช้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะให้ปริมาณยาที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้แตกต่างกัน และปริมาณยาที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายนั้นอาจนำมาสู่ปัญหาสิวได้
- ยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotics) เช่น ลิเทียม (Lithium), ฮาโลเพอริดอล (Haloperidol), อะริพิพราโซล (Aripiprazole) หากมีการใช้เป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลต่อผิวหนังทำให้ผิวหนังมีความบอบบาง กระตุ้นการผลิตน้ำมันในรูขุมขน และทำให้เกิดสิวได้ง่าย
น้ำมันบนหนังศีรษะ และผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมที่เลือกใช้ ทำให้เกิดสิวได้อย่างไร?
ผู้ที่มีผมมันหรือผู้ที่มักจะทิ้งระยะเวลานาน กว่าจะทำการสระผมในแต่ละครั้ง จะเกิดน้ำมันส่วนเกินบนหนังศีรษะ และอาจทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนทำให้เกิดสิวบริเวณหน้าผากได้ง่าย และนอกจากนี้การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม อย่างการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมอาจเพิ่มความมันบนหนังศีรษะ และทำให้เกิดการอุดตันได้เช่นเดียวกัน
การใส่หมวกนานๆ และการโพกผัวบ่อยๆ ทำให้เกิดสิวได้อย่างไร?
การใส่หมวกเป็นระยะเวลานานๆ และใช้ผ้าโพกหัวปิดบริเวณหน้าผากบ่อยครั้ง หรือเป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง รวมไปถึงเกิดการสะสมของเชื้อโรค อาจทำให้เกิดความมันน้ำมันส่วนเกิน และเกิดการอุดตันในรูขุมขนจนทำให้เกิดสิวในบริเวณหน้าผากได้ง่าย
สิวขึ้นหน้าผาก รักษายังไง?
วิธีการรักษาสิวบริเวณหน้าผาก ควรหมั่นรักษาความสะอาดและขจัดความมันสิ่งสกปรกบนใบหน้า ล้างหน้าให้สะอาดและเบามือ อย่างเป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อลดการสะสมน้ำมันในรูขุมขน ขจัดเชื้อแบคทีเรียสิ่งสกปรกบนใบหน้า ที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิว และในการรักษาสิวบริเวณหน้าผากสามารถที่จะใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการได้
- ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดรอยแดง และลดการอักเสบของผิว อย่างเช่น เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide), คลินดามันซิน (Clindamycin) และ แดพโซน (Dapsone) เป็นต้น
- กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) และกรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) เพื่อช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ขจัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ และป้องกันการอุดตันของรูขุมขน
- เรตินอยด์ (Retinoid) เพื่อขจัดเซลล์ผิวที่ตายไป และช่วยลดการอุดตันของรูขุมขน อย่างเช่น เตรทติโนอิน (Tretinoin), อะดาพาลีน (Adapalene) และ ทาซาโรทีน (Tazarotene)
โดยการใช้ยาเพื่อรักษาสิว ควรได้รับคำแนะนำวิธีการใช้และปริมาณการใช้ จากแพทย์หรือเภสัชกรโดยเฉพาะ เพื่อความถูกต้องและความปลอดภัยในการใช้ แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาสิวเรื้อรัง สามารถที่จะทำการรักษาเพิ่มเติมด้วยวิธีการต่อไปนี้ควบคู่กันไปได้
- การเลเซอร์ การฉายแสงลงบนผิวหนัง
- การผลัดเซลล์ผิวหนัง ด้วยการใช้สารเคมี
- การฉีดสเตียรอยด์ เข้าไปในตำแหน่งที่มีการอักเสบและรุนแรง
สิวขึ้นหน้าผาก ไม่หายสักที สามารถป้องกันได้อย่างไร?
การเกิดสิวบริเวณหน้าผาก สามารถป้องกันได้โดยการรักษาความสะอาดผิวหน้าอย่างสม่ำเสมอ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดสิว (Non-Comedogenic) หรือการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ น้ำหอม และน้ำมัน รวมไปถึงการรักษาความสะอาดบริเวณศีรษะเพื่อลดการสะสมของน้ำมัน ในบริเวณศีรษะที่อาจก่อให้เกิดการอุดตัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีผิวหรือมีศีรษะมัน ที่มีความเสี่ยงในการอุดตันได้ง่าย ควรรักษาความสะอาดให้ดีและหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสิว
สรุป
สิวขึ้นหน้าผาก มีหลายปัจจัยที่อาจทำให้เกิดปัญหา และอาจทำให้เกิดสิวบริเวณหน้าผากได้ ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ มีทั้งปัจจัยการเกิดสิวที่สามารถหลีกเลี่ยงได้และปัจจัยการเกิดสิวที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อย่าง การใช้ยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดสิว เป็นต้น แต่แน่นอนว่าหากทำความเข้าใจรู้ถึงถึงสาเหตุของการเกิดสิวในบริเวณนี้อย่างละเอียด จะทำให้สามารถหลีกเลี่ยงป้องกันการเกิดสิวบริเวณหน้าผากได้ง่ายมากขึ้น รวมไปถึงผู้ที่กำลังเกิดปัญหาสิวบริเวณนี้อยู่ จะสามารถหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องต่อไปได้
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วน จากแหล่งที่มา
- https://dermnetnz.org/topics/acne
- https://www.nhs.uk/conditions/acne/
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21792-hormonal-acne