ปวดท้องน้อยด้านซ้าย ปวดหลัง ปวดหน่วงๆ กดแล้วเจ็บ จี๊ดๆ ในผู้หญิง สัญญาณอันตราย ที่ไม่ควรละเลย รีบเช็คอาการดังนี้ก่อนที่จะสายเกินแก้
เนื่องจากท้องน้อยด้านซ้าย คือ ตำแหน่งท้องส่วนล่างใต้สะดือด้านซ้ายลงมาจนถึงขอบกระดูกเชิงกราน ซึ่งเป็นตำแหน่งใกล้กับอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น มดลูก รังไข่ ปีกมดลูก ต่อมลูกหมากและท่อไต เป็นต้น โดยอาการปวดท้องน้อยทางการแพทย์ แบ่งเป็น 2 ชนิด ดังนี้
- ปวดท้องน้อยชนิดเรื้อรัง หรือ Chronic pelvic pain เป็นอาการปวดท้องน้อยต่อเนื่อง เป็น ๆ หาย ๆ นานกว่า 3-6 เดือน อาการปวดท้องชนิดดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดจากโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะตำแหน่งท้องน้อย
- ปวดท้องน้อยชนิดเฉียบพลัน หรือ Acute pelvic pain เป็นอาการปวดท้องน้อยที่เกิดขึ้นทันที ไม่มีสัญญาณเตือนสุขภาพใด ๆ บ่งบอกความผิดปกติล่วงหน้า และผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการอาเจียน ปวดศีรษะ หมดสติร่วมด้วย สาเหตุเกิดจากอวัยวะตำแหน่งท้องน้อยขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงหรือเกิดการอักเสบเฉียบพลัน
ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดท้องตำแหน่งดังกล่าว ควรสังเกตอาการร่วมอื่น ๆ และพิจารณาความผิดปกติของร่างกายพร้อมประเมินระดับความรุนแรงของอาการปวดท้อง เพื่อนำไปสู่การรักษาที่ถูกวิธี
ปวดท้องน้อยด้านซ้ายแบบไหน อันตราย! ควรรีบพบแพทย์
อาการปวดท้องไม่ใช่อาการปกติของร่างกาย แต่เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพ โดยแต่ละอาการปวดบ่งบอกปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่อาการปวดท้องน้อยด้านซ้ายเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะตำแหน่งท้องน้อยด้านซ้าย เพศหญิงมีอวัยวะสำคัญและการทำงานซับซ้อนมากกว่าเพศชาย จากการตรวจวินิจฉัยของแพทย์มี 8 อาการปวดท้องน้อยด้ายซ้ายพบบ่อยที่สุด ดังนี้
ปวดท้องน้อยด้านซ้าย หน่วง ๆ ในผู้หญิง
ปวดหน่วง ๆ ในเพศหญิง ร่วมกับอาการท้องอืด แน่นท้อง กลิ่นลมหายใจเหม็น และท้องผูก ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว เสี่ยงต่อการเกิดโรคลำไส้อุดตัน เนื่องจากลำไส้มีสิ่งแปลกปลอมอุดตัน ส่งผลให้การขับถ่ายอุจาระทำงานผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและหาวิธีการรักษาที่ถูกต้อง หากปล่อยให้อาการรุนแรงมากขึ้น อาจติดเชื้อในกระแสเลือดได้
ปวดท้องน้อยด้านซ้าย และประจำเดือนไม่มา
ปวดท้องโดยที่ไม่มีประจำเดือนร่วมกับอาการท้องอืด แน่นท้อง ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ ซึ่งระยะแรกของการฟักตัวเชื้อมะเร็งรังไข่อาการคล้ายคลึงกับโรคกระเพาะทั่วไป เมื่อระยะเวลาผ่านไป เซลล์มะเร็งรังไข่เติบโตมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงผิดปกติและคลำบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายพบก้อนเนื้อ ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย หากตรวจพบเชื้อมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การรักษาจะมีประสิทธิภาพที่สุด
ปวดท้องน้อยด้านซ้าย ปวดหลัง ตกขาว
ปวดท้อง ปวดหลัง ตกขาวผิดปกติร่วมกับปวดศีรษะ ไข้สูง เลือดออกบริเวณช่องคลอด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เสี่ยงต่อการเกิดโรคปีกมดลูกอักเสบชนิดเฉียบพลัน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด หลังมีเพศสัมพันธุ์แบบไม่ป้องกัน เช่น การติดเชื้อหนองในทุกชนิด เป็นต้น หรือผู้ป่วยบางรายแท้งบุตรทำให้มีอาการปีกมดลูกอักเสบเป็นผลข้างเคียง โดยการรักษาเบื้องต้นผู้ป่วยทานยาบรรเทาอาการปวด ประคบร้อนตำแหน่งท้องน้อยได้ และรีบพบแพทย์ด่วนที่สุด เนื่องจากโรคดังกล่าวไม่สามารถหายขาดได้ หากไม่ทานยาปฏิชีวนะ
ปวดท้องน้อยด้านซ้ายร้าวลงขา
ปวดท้องร้าวลงขาร่วมกับอาการปวดหลัง ไข้หนาวสั่น ปัสสาวะเป็นเม็ดทราย เสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วในไต เนื่องจากร่างกายผู้ป่วยสะสมแร่ธาตุหนักปริมาณมาก ซึ่งสาเหตุของการสะสมแร่ธาตุหนักเกินความจำเป็นของร่างกายเกิดจากการรับประทานแคลเซียม โปรตีน วิตามินซีและน้ำตาลสูงเกินไปในแต่ละวัน ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการระยะแรก ควรดื่มน้ำมากกว่า 8 แก้วต่อวัน การดื่มน้ำช่วยให้ร่างกายขับแร่ธาตุส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะได้ และรีบพบแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องกับชนิดของนิ่วในไต
ปวดท้องน้อยด้านซ้ายล่าง เป็นๆ หายๆ
ปวดท้องด้านซ้ายล่าง เป็นๆ หายๆ มากกว่า 3-6 เดือน เป็นอาการปวดท้องล่างชนิดเรื้อรัง ผู้ป่วยไม่ควรเพิกเฉย ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย เนื่องจากตำแหน่งท้องน้อยด้านซ้ายล่าง หากเป็นเพศหญิงอาจหมายถึงกำลังมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับมดลูกหรือปีกมดลูก ถ้าเป็นเพศชายอาจหมายถึงปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้ายล่างมากกว่า 3 เดือน พิจารณาอาการร่วมอื่น ๆ และรีบพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยปัญหาสุขภาพแทรกซ้อนนำไปสู่การรักษาที่ถูกวิธี
ปวดท้องน้อยด้านซ้าย มีเลือดออก
มีเลือดออกบริเวณช่องคลอดร่วมกับอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง อาเจียน มีไข้สูง ฯลฯ ร่างกายกำลังบ่งบอกถึงความผิดปกติของอวัยวะภายในตำแหน่งท้องน้อยด้านซ้ายอยู่ จากสถิติทางการแพทย์ตรวจวินิจฉัยพบ 3 สาเหตุ ดังนี้
- การตั้งครรภ์ผิดปกติ ท้องนอกมดลูก ภาวะแท้งคุกคาม ล้วนมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรงและเลือดออกบริเวณช่องคลอดปริมาณมาก
- อวัยวะสืบพันธุ์อักเสบชนิดเฉียบพลัน โพรงมดลูกอักเสบ ปีกมดลูกด้านซ้ายอักเสบ ซึ่งอาการปวดท้องน้อยเกิดขึ้นกะทันหันและรุนแรงทันที
- โรคเกี่ยวกับมดลูก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ ซึ่งอาการระยะเริ่มต้นคล้ายคลึงกับปัญหาสุขภาพทั่วไป แต่เมื่อคลำท้องน้อยพบก้อนเนื้อ
เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดท้องน้อยด้ายซ้ายร่วมกับเลือดออกบริเวณช่องคลอด เสี่ยงต่อการเกิดโรคมากมาย ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางตรวจหาสาเหตุด่วนที่สุด เพราะบางอาการนำไปสู่ปัญหาสุขภาพรุนแรงระยะยาวได้
ปวดท้องน้อยด้านซ้าย ตั้งครรภ์
ปวดท้องขณะตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากการปวดท้องช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายอาจจะกำลังบ่งบอกปัญหาสุขภาพ เนื่องจากสาเหตุของอาการปวดดังกล่าว เกิดขึ้นได้หลากหลายสาเหตุ เช่น จากการขยายตัวของมดลูกรองรับการฟักตัวของทารก การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ การตั้งครรภ์นอกมดลูกและการแท้ง ฯลฯ ดังนั้นเมื่อคุณแม่ มีอาการปวดท้องทุกรูปแบบควรพบแพทย์รับฝากครรภ์ทันที เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และทารกในครรภ์
ปวดท้องน้อยด้านซ้าย ท้องอืด
ร่วมกับท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง เสี่ยงต่อการเกิดโรคแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลมในท้องมีปริมาณเยอะเกินไป ซึ่งเกิดได้จาก 2 สาเหตุ ดังนี้
- กลืนอากาศเข้าร่างกายปริมาณมาก อันเนื่องจาการสูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลม เรอ และเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นเวลานาน
- ระบบย่อยอาหารทำงานไม่สมบูรณ์ ทำให้อาหารที่ทานร่างกายไม่สามารถดูดสารอาหารได้ครบ และไม่สามารถจำกัดออกจากร่างกายได้
เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว สามารถปรึกษาเภสัชกรซื้อหาทานได้ ส่วนใหญ่ยาที่รับประทาน คือ ยาลดกรด ลดแก๊สในกระเพาะอาการ หากทานยาตามเภสัชกรแนะนำครบกำหนด อาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์ทันที
การรักษาอาการปวด เมื่อพบแพทย์
จากการศึกษาข้อมูลพบว่าอาการปวดท้องน้อยด้านซ้ายมีหลายสาเหตุ หากดูแลรักษาอาการเบื้องต้น อาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์ เมื่อเข้าพบแพทย์ขั้นตอนการรักษา มีประกอบด้วย
- ซักประวัติผู้ป่วย เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ ผู้ป่วยไม่ควรให้ข้อมูลเป็นเท็จเด็ดขาด
- ตรวจหาสาเหตุ ด้วยวิธีการตรวจอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) หาสิ่งผิดปกติภายในระบบสืบพันธุ์ และกระเพาะปัสสาวะ หรือทำการเอกซ์เรย์ (X-ray) เฉพาะตำแหน่งที่มีอาการปวด
- เมื่อทราบสาเหตุแล้ว แพทย์ทำการวางแผนวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับอาการผิดปกติของผู้ป่วยเป็นรายบุคคล ผู้ป่วยไม่สามารถใช้แผนการรักษาเดียวกันได้ ซึ่งการรักษาที่นิยม เช่น ทานยาปฏิชีวนะ ยาลดอาการอักเสบ ประคบร้อน ทานยาแก้ปวด และผ่าตัด เป็นต้น ซึ่งการรักษาขึ้นอยู่กับปัญหาสุขภาพและระดับความรุนแรงของอาการ
- ติดตามอาการ ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจจะนัดติดตามอาการเป็นระยะ เพื่อการรักษาที่ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
คำแนะนำ ไม่อยากปวดท้องด้ายซ้าย ควรทำอย่างไร
หากไม่ต้องการปวดท้องน้อยด้านซ้าย สำหรับเพศชายควรตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีอย่างต่อเนื่อง ส่วนเพศหญิงหลังมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ควรตรวจภายในตลอดทุกปี เมื่อมีอายุเกิน 30 ปีบริบูรณ์ สามารถตรวจเว้นปีตามความเหมาะสมของร่างกายแต่ละบุคคล
สรุป
อาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง ส่วนใหญ่จะพบในเพศหญิงมากกว่า เนื่องจากตำแหน่งท้องน้อยด้านซ้ายเกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ ซึ่งอวัยวะดังกล่าวเพศหญิงมีความซับซ้อนมากกว่าเพศชาย รวมไปถึงการทำงานของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงทำงานหนักทุกเดือน เช่น การมีประจำเดือน ฯลฯ ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดท้อง ควรพิจารณาอาการร่วมอื่น ๆ และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหาวิธีการรักษาที่ถูกต้อง โดยการรักษาของแพทย์มี 4 ขั้นตอน ซักประวัติ หาสาเหตุ วางแผนการรักษา และติดตามผลการรักษาเป็นระยะ เพื่อการรักษาที่ดีที่สุด
ที่มา
https://www.healthline.com/health/pain-in-lower-left-abdomen