โรคความดันโลหิตต่ำ มีกี่ประเภท สาเหตุ อาการ สังเกตุได้เองง่ายๆ ก่อนสายเกินแก้!

โรคความดันโลหิตต่ำ เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมาก โรคความดันโลหิตต่ำเกิดจากความดันโลหิตต่ำกว่าปกติ โดยค่าต่ำกว่า 90/60 มม.ปรอท หากความดันโลหิตต่ำเกินไป จะทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นลม หรือเสียชีวิตได้ ความดันโลหิตต่ำไม่ใช่ภาวะที่มักรักษาได้ เว้นแต่จะเกิดในผู้สูงอายุหรือเกิดขึ้นกะทันหัน โดยมีชื่อว่า Orthostatic hypotension หรือ OH เป็นเรื่องปกติมากในผู้สูงอายุ จะพบได้ทุกวันในแผนกฉุกเฉินและหน่วยรับแพทย์ มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นที่จะเกิดการหกล้ม กระดูกหัก ภาวะสมองเสื่อม และการเสียชีวิต ดังนั้นการจดจำและการรักษาอย่างทันท่วงทีจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อรู้เท่าทันอาการโรคความดันโลหิตต่ำอีกด้วย

ประเภทของโรคความดันโลหิตต่ำ

ความดันเลือดต่ำที่สามารถบ่งบอกของการเกิดโรคได้ มีคำจำกัดความถึงสองกรณี ตามอาการที่สังเกตได้ เช่น:

  • ความดันเลือดต่ำแบบปกติ: ความดันโลหิตขณะพักต่ำกว่า 90/60 mmHg ในกรณีนี้จะเกิดขึ้นจากระบบประสาทอัตโนมัติเข้ามาร่วม แต่ไม่ได้รุนแรงและมีโอกาสรักษากลับมาเป็นปกติได้
  • ความดันเลือดต่ำมีพยาธิสภาพ: ความดันโลหิตลดลงภายในสามนาที เมื่อลุกขึ้นจากท่านั่ง ค่าความดันต้อง 20 mmHg ขึ้นไปสำหรับความดัน Systolic (ค่าด้านบน) และ 10 mmHg ขึ้นไปสำหรับความดัน Diastolic (ค่าด้านล่าง) นอกจากนี้ยังเป็นภาวะความดันเลือดต่ำในการทรงตัว เนื่องจากเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงท่าทาง ซึ่งจะส่งผลต่อผู้สูงอายุโดยตรง

โรคความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุเป็นภาวะเสี่ยงที่แฝงความผิดปกติจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) อาจรวมถึงความเสื่อมของระบบอวัยวะในร่างกายผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามจากงานวิจัยพบว่า ความดันโลหิตสูงแบบมีพยาธิสภาพจะพบมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้นประมาณ 5% ของผู้ป่วยเมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวเลขของอายุผู้ป่วยในโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า 30% ในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ในขณะที่ผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำในกลุ่ม 70 ปีกลับมีจำนวนมากกว่า 

สาเหตุ ความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุ

ความดันเลือดต่ำในผู้สูงอายุมีพยาธิสภาพของความดันโลหิตลดลงอย่างกะทันหัน เกิดจากยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติในส่วนควบคุมการทำงานของอวัยวะที่สั่งการนอกอำนาจของจิตใจที่สำคัญ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ อัตราความดันโลหิต ระบบต่อมไร้ท่อ รวมถึงเกิดจากสมองขาดออกซิเจนเนื่องจากความดันเลือดไม่เพียงพอ จึงทำให้ไม่มีเลือดไปเลี้ยงในหลอดเลือดสมอง จะมีอาการวิงเวียนศีรษะร่วมด้วย

อาการ ความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุ

ความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุ จะมีการแสดงอาการออกมาชัดเจน การเปลี่ยนแปลงของช่วงวัยที่มากขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของอวัยวะที่ผิดปกติ เช่น ปัญหาจากความผิดปกติในการเต้นของหัวใจ และเบาหวานซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของต่อมไร้ท่อ โดยจะแสดงอาการได้ดังนี้:

  1. ตาพร่ามัวหรือหน้าซีด
  2. อาการวิงเวียนศีรษะหรือหน้ามืด เป็นลม
  3. เหนื่อยล้า
  4. มีอาการเบลอ ปัญหาในการเพ่งสมาธิ
  5. คลื่นไส้

สำหรับผู้ป่วยบางราย ความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อระดับความดันโลหิตลดลงอย่างกะทันหัน หรือเกิดขึ้นพร้อมกับอาการมาจากความดันโลหิตลดลง ที่แสดงออกอย่างกะทันหันอาจเป็นอันตรายได้ หากได้รับผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เช่น การเปลี่ยนแปลงค่าความดันเพียง 20 มม. ปรอท อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและเป็นลมได้ หากไม่ได้เป็นเพียงอาการของความดันโลหิตต่ำ อาจจะมีอาการติดเชื้อรุนแรง หรืออาการแพ้ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อาการแบบไหนถึงควรไปพบแพทย์

อาการเสี่ยงของความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุ ยิ่งมีระดับความดันโลหิตต่ำมากเท่าใด อาจทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการวูบและหกล้มในผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้ที่ดูแลผู้ป่วยจะต้องสังเกตอาการที่บ่งบอกสัญญาณอันตราย หากมีอาการดังต่อไปนี้คนใกล้ชิดควรพาไปพบแพทย์ทันที 

  1. อาการช็อก
  2. อาการสับสนในผู้สูงอายุ
  3. เริ่มมีอาการตัวเย็น โดยสัมผัสได้จากผิวเย็น ผิวชื้น สีผิวเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นสีซีด
  4. หายใจเร็วและสั้นลง
  5. ชีพจรอ่อนแรงและเร็ว

วิธีการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุสามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการเปลี่ยนแปลงตารางอาหาร และปรับการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่ส่งผลต่ออาการของโรคความดันโลหิต สามารถเปลี่ยนแปลงง่ายๆ โดยจะมีวิธีการดูแลตัวเองดังนี้

  • สำหรับความดันเลือดต่ำในผู้สูงอายุที่ไม่รุนแรง วิธีรักษาที่ง่ายที่สุด คือการปรับนิสัยอิริยาบถบางอย่าง เช่น การนั่งหรือนอนราบทันที ต้องปรับให้ค่อยๆ เอนตัวนอนลงไป บ่อยครั้งอาการจะหายไป รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานานๆ
  • ใช้โซเดียมที่ได้รับการรับรองทางการแพทย์ เพราะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นได้ในบางครั้ง อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่มีความดันโลหิตต่ำอาจเป็นสิ่งที่ดี หากได้รับโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ต้องระมัดระวังเรื่องค่าไต เนื่องจากไตจะทำงานเสื่อมลง ดังนั้นควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนเพิ่มเกลือ หรือเพิ่มโซเดียมเข้าสู่ร่างกาย
  • ดื่มน้ำมากขึ้น เพื่อให้ปรับสมดุลในร่างกาย ทำให้ปริมาณเลือดเพิ่มขึ้นอีกทั้งยังช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีความสำคัญในการรักษาความดันเลือดต่ำ และป้องกันการสูญเสียน้ำในร่างกาย ซึ่งในกลุ่มผู้สูงอายุมีโอกาสเสี่ยงในเรื่องของร่างกายขาดน้ำมากกว่าวัยปกติ
  • อาหารที่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ เช่น คื่นช่าย เนื่องจากจะทำให้ระดับเลือดต่ำลง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่า อีกทั้งควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในผู้สูงอายุ เช่น เดินเร็ว ควรทำกิจกรรมประมาณ 3 วันต่อสัปดาห์ ใช้เวลาต่อครั้งประมาณ 20-30 นาที จะช่วยปรับสมดุลของระบบไหลเวียนเลือดให้เป็นปกติ และช่วยในเรื่องการเต้นของหัวใจมากขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ควรนอนหลับให้สนิท เพราะการนอนหลับให้สนิทจะช่วยลดปัญหาความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากการนอนหลับจะช่วยปรับนาฬิกาชีวิต เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูในช่วงนอนหลับได้ตามปกติ
  • บางครั้งจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อรักษาความดันเลือดต่ำให้อยู่ในสภาพปกติ โดยยาที่ใช้สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำ ต้องอยู่ภายใต้กำกับของแพทย์เป็นหลัก (orthostatic hypotension) เช่น 
ยาสรรพคุณข้อจำกัด
Fludrocortisoneช่วยเพิ่มปริมาณเลือด มักใช้รักษาความดันเลือดต่ำมีพยาธิสภาพที่ปกติเพิ่มความไวต่อการติดเชื้อง่าย
Alpha Adrenergic Receptorช่วยบีบหลอดเลือดและกระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดใช้นานๆ อาจส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ
Vasopressorsกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดเลือดหัวใจหัวใจเต้นช้าลง แขนขาอ่อนแรง
Midodrineเพื่อเพิ่มระดับความดันโลหิตให้สูงได้ ยานี้จะช่วยลดการขยายตัวของหลอดเลือด จะใช้ในกรณีผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำเรื้อรังเท่านั้น

สรุป

ได้ว่าความดันเลือดต่ำในผู้สูงอายุเป็นภาวะที่ไม่สามารถแสดงอาการ หรือวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน หลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังเป็นโรคนี้อยู่ สามารถตรวจเช็คได้โดยใช้เครื่องตรวจวัดความดันแบบดิจิตอลซึ่งจะให้ค่าความแม่นยำที่มากกว่า เพื่อเป็นการสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันความดันโลหิตต่ำจะต้องระวังความเสี่ยงของหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วย เนื่องจากหัวใจจะสูบฉีดเร็วขึ้นหรือหนักขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดเพื่อนำไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่อเวลาผ่านไป อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) และกลุ่มผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่ออาการหัวใจล้มเหลวมากกว่ากลุ่มวัยปกติ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ โรคหลอดเลือดสมองเนื่องจากเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ทั้งนี้การปรับการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ จึงเป็นแนวทางในการป้องกันโรคความดันโลหิตต่ำได้ในระยะยาว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top