ยาคลายเครียด คลายกังวล (Antianxiety Drugs) ยาที่ไม่ควรซื้อทานเอง

ยาคลายเครียด (Antianxiety Drugs) เป็นยาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยบรรเทาความเครียดจากพยาธิของโรค และภายในจิตใจที่รู้สึกวิตกกังวล เป็นยาที่ใช้บำบัดและสั่งโดยจิตแพทย์ ซึ่งตัวยามีคุณสมบัติเข้าไปยับยั้งฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เป็นสารเคมีสื่อประสาทและระบบการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันยากลุ่มนี้จะช่วยคลายเครียด หรือบรรเทาความวิตกกังวลในจิตใจแล้ว ยังมีผลข้างเคียงทำให้มีอาการง่วงซึมง่ายขึ้น

ประเภท ยาคลายเครียด

ยาคลายเครียดมีหลายประเภท หากศึกษาข้อมูลหลายแหล่ง จะพบว่ายาคลายเครียดมีชื่อเรียกหลายชนิดอยู่มากมายตามข้อมูลต่างๆ และมีผลกระทบหลังจากการทานยาแตกต่างกัน โดยจะแบ่งออกเป็นประเภทของยาคลายเครียดทั้งหมด 3 ประเภท ซึ่งแบ่งตามปฏิกิริยาและการออกฤทธิ์ของยาตามเป้าหมายของการรักษา เช่น

  1. ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine) : ในยากลุ่มนี้จัดอยู่ในกลุ่มยารักษาอาการวิตกกังวลเป็นหลัก รวมถึงอาการนอนไม่หลับ หรือใช้รักษาอาการชัก ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่ที่ระยะเวลาในการทาน ไม่ควรติดต่อกัน 2-4 สัปดาห์ เนื่องจากจะมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย บางครั้งทำให้เกิดอาการง่วงนอน หงุดหงิด วิงเวียนศีรษะ ง่วงซึมในเวลาทำงาน การจดจำถดถอย และเสียสมาธิ ซึ่งมีตัวอย่างยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน ดังนี้
    1. ยาไดอะซีแพม (Diazepam) : เป็นยาเพื่อใช้รักษาความวิตกกังวล อาการถอนแอลกอฮอล์ และอาการชัก นอกจากนี้ยังใช้เพื่อบรรเทาอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ
    2. ยาโคลนาซีแพม (Clonazepam) : ใช้เพื่อป้องกันและควบคุมอาการชัก ยานี้เรียกว่า ”ยากันชัก” นอกจากนี้ยังใช้รักษาอาการตื่นตระหนกในกลุ่มผู้มีภาวะ PTSD หรือผู้มีภาวะวิตกกังวล และส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ โดยยาตัวนี้ไม่ได้ใช้เพื่อบรรเทาอาการนอนไม่หลับ
    3. ยาไตรอาโซแลม (Triazolam) : เป็นยาที่อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าสารกดระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System : CNS) ซึ่งเป็นยาที่ทำให้ระบบประสาททำงานช้าลง โดยมีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม และกระตุ้นการนอนหลับดีขึ้น นิยมใช้ทานคู่กับยานอนหลับในกลุ่มเข้ารักษาอาการนอนไม่หลับ และไม่ควรทานติดต่อกันเกิน 2-4 สัปดาห์
    4. ยาออกซาซีแพม (Oxazepam) : เป็นยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการวิตกกังวล รวมไปถึงความเครียดที่เกิดจากภาวะซึมเศร้า และอาการถอนแอลกอฮอล์ ยานี้อาจใช้เพื่อรักษาอาการเครียด อาการวัยทองในผู้ป่วยสูงอายุ
  2. ยาต้านเศร้ากลุ่ม TCAs (Tricyclic Antidepressants) : ในยาคลายเครียดกลุ่มนี้จะอยู่ในกลุ่มยารักษาความผิดปกติของระดับเคมีในสมอง ใช้ในการบรรเทาอาการและรักษาโรคซึมเศร้า และนิยมใช้ในการรักษาโรคอารมณ์ผิดปกติแบบสองขั้ว (Bipolar Disorder) หรือโรคของบุคลิกภาพผิดปกติในทางจิตเวช โดยยาต้านเศร้ากลุ่ม TCAs จะอยู่ภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อทานเองได้ และไม่ได้อยู่ในกลุ่มเวชภัณฑ์เพื่อเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะมีตัวอย่างยาในกลุ่มที่ใช้รักษาอาการ ดังนี้
    1. ยาอะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) : ยานี้ใช้เพื่อรักษาปัญหาทางจิต หรือความผิดปกติของอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรคบุคลิกภาพผิดปกติชนิดต่างๆ โรคไบโพลาร์ โรคแพนิค ช่วยปรับระดับเคมีในสมองให้สมดุล และปรับการแปรปรวนของอารมณ์ให้อยู่ในสภาวะปกติ
    2. ยาเดซิพรามีน (Desipramine) : ยานี้ใช้เพื่อรักษาอาการของโรคซึมเศร้าเรื้อรัง โดยการเพิ่มปริมาณของสารเคมีในสมองตามธรรมชาติที่จำเป็น เพื่อปรับให้มีความสมดุลต่อระบบทางจิตเวช และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยได้
    3. ยาอิมิพรามีน (Imipramine) : ใช้รักษาอาการซึมเศร้า เพิ่มการทำงานของสารเคมีที่เรียกว่า “เซโรโทนิน” (Serotonin) ในสมอง ซึ่งจัดเป็นสารสำคัญที่ช่วย บรรเทาโรคซึมเศร้า โรคแพนิก โรควิตกกังวล และบรรเทาอาการปัสสาวะรดที่นอนในเด็ก
    4. ยานอร์ทริปไทลีน (Nortriptyline) : เป็นยาที่ใช้รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดเส้นประสาทในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยรักษาอาการซึมเศร้าและอาการปัสสาวะรดที่นอนในเด็ก และโรคเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน
  3. ยาคลายเครียดกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta-Blockers) : ในยากลุ่มนี้เน้นใช้ในกลุ่มผู้มีภาวะหัวใจและหลอดเลือด หรือกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมากกว่า แต่ก็เป็นกลุ่มยาคลายเครียดอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติเพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจ และบรรเทาสภาวะของร่างกายที่เกิดจากความเครียด ผลข้างเคียงหลังจากการใช้ยา จะมีอาการใจสั่น ง่วงซึม สายตาพร่ามัว ความดันโลหิตผิดปกติ ขับถ่ายลำบาก หายใจไม่อิ่ม ปากแห้งเป็นขุย และไม่ควรทานในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ซึ่งจะทำให้ระดับเคมีในสมองผิดปกติ และเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเองสูงในช่วงสัปดาห์แรกที่ทาน

อย่างไรก็ตามในประเภทยาเหล่านี้ แม้ว่าจะอยู่ในกลุ่มยาคลายเครียด แต่เป็นยาที่ใช้ในการรักษาอาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ใช้เพื่อการรักษาในด้านใด โดยมีข้อบ่งชี้ของการใช้ยาค่อนข้างจำกัด หากมีอาการผิดปกติระหว่างการทานยาชนิดใดชนิดหนึ่ง ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ยาคลายเครียด จำเป็นต้องได้รับข้อมูลการทานจากเภสัชกรไหม

คำตอบคือควรปรึกษาเภสัชกรก่อนการซื้อยาทุกครั้ง เนื่องจากยาคลายเครียดไม่ใช่ยาที่ใช้เพื่อทำการเชิงพาณิชย์ จึงไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วๆ ไปได้เหมือนยาชนิดอื่นๆ จะต้องมีใบสั่งจากแพทย์เพื่อการจ่ายยาเป็นหลัก และบางชนิดของยากลุ่มยาคลายเครียด อยู่ในกลุ่มเวชภัณฑ์ที่ต้องมีการควบคุม เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาจากการใช้ยาผิด ในขณะเดียวกันยาคลายเครียดไม่ได้อยู่ในกลุ่มอาหารเสริมใดๆ โดยมีปริมาณในการบำรุงสุขภาพที่แตกต่างกัน นั่นแสดงว่าอาหารเสริมที่ช่วยคลายเครียดจริง ไม่สามารถใช้เป็นหนึ่งในสารเคมีสำคัญของอาหารเสริมอีกด้วย เพื่อป้องกันการสั่งซื้อทางช่องทางออนไลน์โดยไม่มีคำสั่งจากแพทย์ และการขอยาคลายเครียดชนิดอื่นๆ มาจากผู้ป่วยคนอื่น ซึ่งเสี่ยงทำให้ได้ปริมาณยาเกินกำหนดต่อการทำงานของสมองโดยตรง

ใช้ยาคลายเครียดยังไงให้ปลอดภัย

การใช้ยาคลายเครียด จะต้องอาศัยองค์ความรู้ในการศึกษาข้อมูล และการได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้ทำการรักษา และเภสัชกร โดยยาคลายเครียดยังอยู่ในกลุ่มยาอันตรายที่มีข้อจำกัดในการทานพอสมควร การจะทานยาให้ปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจนั้น มีคำเตือนและวิธีในการทานได้ดังนี้

  1. ไม่ควรซื้อยามาทานเอง : ดังที่กล่าวในเบื้องต้นซึ่งทำให้เกิดการทานยาเกินขนาด ควรคำนึงเสมอว่ายาคลายเครียด จะต้องมีการสั่งจ่ายจากแพทย์เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อความเหมาะสมต่ออาการของผู้ป่วยในการจ่ายยาชนิดนั้นๆ ทั้งนี้การทานยาคลายเครียดควรทานสม่ำเสมอจนกว่าแพทย์จะเปลี่ยนชนิดของยาคลายเครียด หรือปรับปริมาณยาที่ได้รับตามความเหมาะสม
  2. ในกลุ่มโรคทางจิตเวช ต้องวินิจฉัยก่อนทาน : ข้อนี้สำคัญมากสำหรับผู้ที่รู้สึกว่าเป็นโรคซึมเศร้า โรคแพนิค โรควิตกกังวล หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรของแพทย์ก่อน จึงจะมีความเห็นในการสั่งจ่ายยาคลายเครียดเพื่อการรักษาอาการนั้นๆ
  3. บอกโรคประจำตัวแก่แพทย์ : หากผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือมีปัญหาเรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคเกี่ยวกับการไหลเวียนโลหิต แพทย์จะสั่งยากลุ่ม Beta-Blockers เพื่อบรรเทาอาการรักษา หากเป็นกลุ่มอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยที่ต้องมียาประจำตัว (ผู้ป่วยหอบหืด ผู้ป่วย HIV ฯลฯ) กลุ่มสตรีมีครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร จะต้องแจ้งแพทย์ทันทีเพื่อปรับการทานยา หรืองดการสั่งจ่ายยาในบางกรณี
  4. ทานยาตามวิธีที่แพทย์แนะนำเท่านั้น : หากมีการสั่งจ่ายยาเกิดขึ้น จะระบุข้อมูลในการทานยา ทั้งช่วงเวลาในการทานยา ความถี่ในการทานยากี่ชั่วโมง โดยจะต้องทานยาตามคำสั่งแพทย์ และคำแนะนำของเภสัชกรอย่างเคร่งครัด เพื่อการรักษาอย่างมีประสิทธิผล และความปลอดภัยในการทาน
  5. อย่าหยุดยาเอง : ในกลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ควรทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดทานยาเอง เนื่องจากจะทำให้ระดับเคมีในสมองผิดปกติ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และส่งผลต่ออาการที่รุนแรงขึ้น หากมีผู้ดูแล ผู้ดูแลควรดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการหยุดยาเองของผู้ป่วย
  6. ไม่ควรทานยามากกว่า 1 ชนิด : ในช่วงแรกจะมีผลข้างเคียงจากการทานยาคลายเครียด เช่น มีอาการง่วงซึม อาการวิงเวียนศีรษะ หรือมีอาการปากแห้งเป็นขุย นั่นเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้น หากการรักษาไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์โดยตรง เพื่อให้แพทย์เปลี่ยนชนิดยาที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันจะต้องไม่เป็นยาที่ทานเกิน 1 ชนิดจากที่แพทย์สั่งจ่ายยา จะทำให้อันตรายต่อสุขภาพและส่งผลกระทบต่อจิตใจโดยตรงได้
  7. เมื่อผลข้างเคียงรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์ : ในกลุ่มที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม กระวนกระวาย เห็นภาพหลอน แน่นหน้าอก ปัสสาวะมีสีเข้ม มีอาการตัวเหลือง ไม่มีสติและการรับรู้ใดๆ คล้ายจะหลับอยู่ตลอดเวลา หรือมีอาการดิ่งในผู้ป่วยซึมเศร้า รีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

สรุป

การทานยาคลายเครียด จะต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์เป็นหลัก เพื่อให้เภสัชกรสามารถจ่ายยา อธิบายการทานยาที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยได้ตรงตามอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป และไม่สามารถสั่งซื้อได้ในช่องทางออนไลน์ โดยจัดเป็นยาที่สั่งจ่ายในโรงพยาบาลเท่านั้น เมื่อทานไปจะออกฤทธิ์เพิ่มผลในระดับของสารสื่อประสาทบางชนิด ซึ่งเป็นสารเคมีที่ถ่ายทอดสารสื่อประสาทระหว่างเซลล์สมอง จะเห็นได้จากยาคลายเครียดกลุ่มยา Benzodiazepine ช่วยรักษาโรควิตกกังวลได้หลายชนิด

รวมถึงโรคตื่นตระหนก โรคอารมณ์สองขั้ว โรควิตกกังวลทั่วไป และโรควิตกกังวลทางสังคม โดยมุ่งเน้นโรคทางจิตใจเป็นหลัก ซึ่งรักษาได้และดำเนินชีวิตได้ตามปกติ หากรู้สึกว่ายาที่ทาน ไม่ให้ผลลัพธ์ที่ต้องการหรือก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดใช้ยาเอง เพื่อความปลอดภัยในการทานยานั่นเอง นอกจากนี้ยาคลายเครียด ไม่จำเป็นจะต้องทานทุกคนเสมอไป แต่จะต้องดูที่อาการผิดปกติ และการวินิจฉัยของแพทย์ เหตุใดถึงต้องทานยาคลายเครียด เพื่อให้รักษาได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top