ยาลดน้ำมูก ภูมิแพ้ คัดจมูก ยาแก้แพ้ ใช้อย่างไร ให้ยาออกฤทธิ์ดีที่สุด

ยาลดน้ำมูก หรือ ยาแก้แพ้ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Antihistamine ออกฤทธิ์ลดการบวมอักเสบภายในโพรงจมูก ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกและยับยั้งการผลิตสารคัดหลั่งที่เรียกว่า “น้ำมูก” ซึ่งสาเหตุที่ร่างกายผลิตน้ำมูกปริมาณมาก เพราะร่างกายต้องการป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาทางโพรงจมูก โดยสมองสั่งการต่อมสร้างน้ำมูกผลิตสารคัดหลั่งดักจับเชื้อโรคต่าง ๆ ไม่ให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคไข้หวัด โรคไซนัส เป็นต้น จะมีอาการน้ำมูกร่วมด้วย หากผู้ป่วยมีอาการน้ำมูกไหลปริมาณมาก แพทย์จะทำการจ่ายยาลดน้ำมูกให้ควบคู่กับยาชนิดอื่น ๆ ตามอาการ 

สีน้ำมูกลักษณะไหน ไม่ควรใช้ยาลดน้ำมูก

เนื่องจากสีของสารคัดหลั่งที่เรียกว่า “น้ำมูก” มีหลายสี แต่ละสีบ่งบอกอาการเจ็บป่วยแตกต่างกัน โดยทั่วไปยาลดน้ำมูกแพทย์จะใช้รักษาอาการป่วยระบบทางเดินหายใจระดับความรุนแรงต่ำถึงปานกลาง ซึ่งสังเกตจากสีของน้ำมูก ถ้าเป็นสีใส สีขาว สีเหลือง สีเขียว ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาสุขภาพโพรงจมูกเกิดการอักเสบและติดเชื้อแบคทีเรียระยะเริ่มต้น สามารถใช้ยาลดน้ำมูกบรรเทาอาการได้ แต่ผู้ป่วยที่มีน้ำมูกสีเทา สีดำและสีแดง ควรพบแพทย์เท่านั้น เพราะสีของน้ำมูกลักษณะดังกล่าวบ่งบอกปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคริดสีดวงโพรงจมูก เส้นเลือดในโพรงจมูกแตกและติดเชื้อแบคทีเรียชนิดรุนแรง อาจต้องทานยาปฏิชีวนะ ไม่เหมาะสมกับการทานยาลดน้ำมูกชนิดทั่วไป 

ยาลดน้ำมูก ยาแก้แพ้ มีกี่ประเภท ออกฤทธิ์อย่างไร 

ยาลดน้ำมูก แต่ละประเภทเหมาะสมกับอาการป่วยแตกต่างกัน ตามการออกฤทธิ์ของตัวยา ซึ่งยาลดน้ำมูกแพทย์หรือเภสัชกรเป็นผู้วินิจฉัยอาการและสั่งจ่ายได้เท่านั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้ 

  1. ยาแก้แพ้ หรือ ยาแอนติฮีสตามีน ออกฤทธิ์ยับยั้งการจับตัวของสารอิสตามีนกับสารตัวรับอิสตามีน เมื่อสารทั้งสองชนิดไม่ทำปฏิกิริยาต่อกัน ทำให้ร่างกายจะไม่ผลิตน้ำมูก ช่วยบรรเทาอาการน้ำมูกและภูมิแพ้ ซึ่งยาแก้แพ้ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้ 
  • กลุ่มที่ 1 ยาแก้แพ้ ทานแล้วง่วงซึม เช่น chlorpheniramine, diphenhydramine, cyproheptadine, hydroxyzine เมื่อยาออกฤทธิ์จะมีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลให้ผู้ป่วยง่วงซึมตลอดระยะเวลาที่ฤทธิ์ยายังไม่หมด ส่วนใหญ่แพทย์สั่งจ่ายยาแก้แพ้ กลุ่มง่วงซึม ให้กับผู้ป่วยที่ต้องการการพักผ่อน ผู้ป่วยที่ได้รับยาลดน้ำมูกกลุ่มดังกล่าว แพทย์จะชี้แจงรายละเอียดการใช้ยาที่ถูกวิธีให้ผู้ป่วยทราบทุกครั้ง 
  • กลุ่มที่ 2 ยาแก้แพ้ ทานแล้วไม่ง่วงซึม เพราะยาออกฤทธิ์ต้านการอักเสบภายในเซลล์ ไม่มีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง ปัจจุบันยาแก้แพ้ ทานแล้วไม่ง่วงซึม มีรูปแบบการทานเวลาเดียวและทานสามเวลาหลังอาหาร เช่น loratadine, cetirizine และ  fexofenadine,  desloratadine, levocetirizine ส่วนใหญ่แพทย์สั่งจ่ายยาแก้แพ้ดังกล่าว สำหรับผู้ป่วยที่มีภารกิจต้องทำไม่สามารถนอนพักผ่อนได้ 
  1. ยาลดการคั่งของน้ำมูก ออกฤทธิ์ลดการจับตัวของสารคัดหลั่งหรือน้ำมูก ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถกำจัดน้ำมูกออกจากร่างกายได้ง่าย บรรเทาอาการคัดจมูก หายใจไม่สะดวก และอาการน้ำมูกคั่งภายในโพรงจมูก ฯลฯ ส่วนใหญ่แพทย์สั่งจ่ายยาให้กับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัดทุกชนิด ตัวอย่างชนิดยา pseudoephedrine 

วิธีทานยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก ให้ยาออกฤทธิ์ดีที่สุด 

การทานยาลดน้ำมูกให้ประสิทธิภาพช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก ลดน้ำมูก จาม ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ยา ต่อไปนี้ 

  1. เลือกประเภทยาลดน้ำมูกเหมาะสมกับอาการ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา เนื่องจากการใช้ยาแต่ละชนิด แพทย์ต้องคำนวณมวลร่างกาย อายุ เพื่อสั่งจ่ายยาให้ตรงกับความต้องการของร่างกายจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
  2. ไม่ทานยาลดน้ำมูกคู่กับน้ำผลไม้ตระกูลเดียวกับส้มโอ เนื่องจากสรรพคุณของผลไม้ตระกูลส้มโอมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเยอะมาก ซึ่งจะส่งผลกระต่อการออกฤทธิ์ของยา เพราะไปหยุดการทำงานของเอ็นไซม์ในร่างกาย ลดการออกฤทธิ์ของยาลดน้ำมูก
  3. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของนม ควบคู่กับการทานยาลดน้ำมูก เนื่องจากแคลเซียมจะขัดขวางการดูดซึมยาลดน้ำมูกเข้าสู่ร่างกาย ลดการออกฤทธิ์ของยาลดน้ำมูก ส่งผลให้ประสิทธิภาพทางการรักษาลดลง หากต้องการดื่มนม แนะนำให้ดื่มหลังจากทานยาแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไป 
  4. ทานยาตามที่แพทย์สั่งจ่ายทุกวันตามแผนการรักษา ไม่ควรลดหรือเพิ่มปริมาณยาลดน้ำมูก โดยไม่ปรึกษาแพทย์ เนื่องจากแผนการรักษาของผู้ป่วยแต่ละคน แพทย์วินิจฉัยและวางแผนการรักษาเป็นรายบุคคล หากไม่ทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ ส่งผลให้อาการป่วยรุนแรงขึ้นและอาจจะเกิดผลข้างเคียง ได้แก่  คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เป็นต้น 
  5. ไม่ทานยาลดน้ำมูกร่วมกับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์ออกฤทธิ์ระงับการทำงานของระบบประสาท ทำให้อาการข้างเคียงจากการใช้ยาลดน้ำมูกเพิ่มขึ้น 
  6. เวลาทาน ยาลดน้ำมูกควรทานหลังมื้ออาหาร ผู้ป่วยควรทานไม่เกิน 30 นาที หลังทานอาหาร ช่วยให้การดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกายมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ข้อควรระวังในการใช้ยาลดน้ำมูก 

ยาลดน้ำมูกเป็นยาที่ออกฤทธิ์เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลให้ผู้ป่วยควรระมัดระวังการใช้ยาลดน้ำมูก เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาลดน้ำมูกที่ผิดวิธี โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้

  1. ไม่ทานยาตามแพทย์แนะนำหรือซื้อยาทานเอง เนื่องจากปริมาณยาลดน้ำมูกไม่สมดุลกับมวลในร่างกายจะส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพร้ายแรง
  2. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบหมุนเวียนโลหิต ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาลดน้ำมูกทุกครั้ง เพื่อรับคำแนะนำวิธีใช้ยาถูกวิธี 
  3. หากทานยาแก้แพ้ชนิดง่วงซึมช่วยบรรเทาอาการน้ำมูก ไม่ควรขับรถหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ 
  4. หากทานยาลดน้ำมูกแล้วมีอาการไอรุนแรง ให้รีบหยุดยา และพบแพทย์ทันที เนื่องจากยาลดน้ำมูกบางชนิดทำให้เสมหะเหนียวหนืดขึ้นระดับหนึ่ง แต่ผู้ป่วยบางรายมีเสมหะเหนียวข้นรุนแรงจนเกิดการไอร่วมด้วย ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพแทรกซ้อนอื่น ๆ 
  5. ยาลดน้ำมูกหนึ่งชนิด ผู้ป่วยไม่สามารถทานได้ทุกเพศและทุกวัย เพราะยาลดน้ำมูกแต่ละประเภทเหมาะสมกับอาการป่วยที่แตกต่างกัน เช่น Hydroxyzine ออกฤทธิ์กดการทำงานของสมอง เด็กที่อายุต่ำกว่า  2 ปี ไม่สามารถทานได้ 
  6. หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาลดน้ำมูก 

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาลดน้ำมูกไม่ถูกวิธี

ยาลดน้ำมูกไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ ฤทธิ์ของยามีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งระบบประสาทส่วนกลางทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะทุกส่วนภายในร่างกาย หากผู้ป่วยไม่ระมัดระวังในการใช้ยาลดน้ำมูกอาจเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง ซึ่งผลข้างเคียงจากการใช้ยาลดน้ำมูกที่พบบ่อย แบ่งออกเป็น 2 ระดับความรุนแรง โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้ 

  1. ระดับความรุนแรงต่ำถึงปานกลาง 
  • วิงเวียนและปวดศีรษะ
  • หายใจไม่สะดวก ระคายเคืองภายในโพรงจมูก 
  • ปากแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำตลอดเวลา 
  • คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะติดขัด 
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย
  • มีผื่นแดงคันขึ้นตามร่างกาย 
  • นอนหลับไม่สนิท กึ่งหลับกึ่งตื่น 
  • ปัสสาวะติดขัด มีอาการหน่วงกระเพาะปัสสาวะ
  1. ระดับความรุนแรงมาก
  • เกิดภาพหลอนภายในสมอง 
  • เป็นลมหมดสติ 
  • มีรอยฟกช้ำตามร่างกาย 
  • อ่อนเพลียมากกว่าปกติ 
  • ไข้สูงมากกว่า 39 องศา 
  • ระดับความดันโลหิตสูง
  • อัตราการเต้นของหัวใจถี่เร็ว
  • วิตกกังวลจนมีปัญหาสุขภาพจิต

ดังนั้นการใช้ยาลดน้ำมูกทุกประเภท ควรรับคำแนะนำจากแพทย์และเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อสุขภาพและประสิทธิภาพการรักษาที่ดี 

สรุป

ยาลดน้ำมูก คือ ยาลดการบวมอักเสบภายในโพรงจมูก โดยมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งยาลดน้ำมูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ยาแก้แพ้และยาลดการคั่งของน้ำมูก แต่ละประเภทของตัวยาลดน้ำมูก ผู้ป่วยไม่สามารถซื้อยาทานเองได้ เนื่องจากยาลดน้ำมูกบางชนิดออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะในร่างกายทุกส่วน หากผู้ป่วยทานยาผิดวิธีผลข้างเคียงอันตรายต่อทุกระบบของร่างกาย ผู้ป่วยควรพบแพทย์หรือเภสัชกรรับคำแนะนำก่อนใช้ยาลดน้ำมูกทุกครั้ง

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top