ยาละลายเสมหะ (Mucolytics) เม็ดฟู่ แบบผง เลือกแบบไหนดี กินตอนไหนให้ได้ผล

ยาละลายเสมหะ กินตอนไหน เลือกแบบไหน เม็ดฟู่ แบบผง ยาพ่น ยาแบบไหนเหมาะกับเราที่สุด ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เจาะลึกทุกประเด็นของยา

เสมหะ คือ สารชนิดหนึ่งมีความเหนียวหนืด ซึ่งร่างกายผลิตออกมาเอง เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับระบบทางเดินหายใจ ทำให้กลไกการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เมื่อเกิดความผิดปกติ เช่น มีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในระบบทางเดินหายใจ ฯลฯ ร่างกายก็จะเร่งผลิตเสมหะออกมามากขึ้น เพื่อเป็นเกราะป้องกันอันตรายให้กับทางเดินหายใจ แต่การผลิตเสมหะมากเกินไปก็มีผลเสียจึงเป็นที่มาของยาละลายเสมหะ 

ยาละลายเสมหะ หรือ Mucolytics เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดความเหนียวหนืดของเสมหะ การทำงานหลัก ๆ สารในตัวยาจะไปทำปฏิกิริยากับเสมหะโดยตรง ส่งผลให้เสมหะที่ยึดเกาะเหนียวแน่น เกิดการแตกตัวลดความหนืดลง ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการเสมหะเยอะ จนกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ หายใจไม่สะดวก ก็จะขับเสมหะออกมาได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งตัวยาละลายเสมหะในท้องตลาดวางจำหน่ายอยู่หลายชนิดและหลายประเภท ถ้าเริ่มรู้สึกว่าเสมหะมีผลกระทบต่อร่างกาย ควรศึกษารายละเอียดของตัวยาก่อนรับประทานเสมอ เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้ยาผิดวิธีหรือแพ้ยา

ชนิดของยาละลายเสมหะ แต่ละประเภท 

ปัจจุบันยาละลายเสมหะมีหลายประเภท แต่ละประเภทถูกผลิตขึ้นมาให้เหมาะสมแต่ละบุคคลมากที่สุด แต่ตัวยาในท้องตลาดที่แพทย์และเภสัชกรแนะนำให้ใช้ได้ ปลอดภัยและผลข้างเคียงต่ำ มี 4 ชนิด ดังตารางต่อไปนี้ 

ชนิดยาลกลไกการออกฤทธิ์ของตัวยาละลายเสมกะ
อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine)คาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine)หลักการทำงาน คือ ยาดังกล่าวจะเข้าไปทำปฏิกิริยาคลายพันธะของไดซัลไฟด์ของเสมหะ ทำให้ความเหนียวและความหนืดลงน้อยลง ร่างกายขับออกมาได้ง่าย
แอมบรอกซอล (Ambroxol)บรอมเฮกซีน (Bromhexine)หลักการทำงาน คือ ยาดังกล่าวจะไปกระตุ้นระบบทางเดินหายใจ ให้หลั่งสารชนิดหนึ่งออกมา โดยสารนั้น จะช่วยลดความเหนียวหนืดของเสมหะได้ และในขณะเดียวกันก็จะกระตุ้นให้ขนที่อยู่ในรูจมูก หรือ Celia พัดโบกช่วยขับเสมหะได้ง่ายมากขึ้น

แล้วยาแต่ละชนิด ยังมีประเภทของตัวยาแยกออกมา 4 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน เพื่อช่วยให้รับประทานง่าย และเหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีอาการเสมหะระดับความรุนแรงแตกต่างกัน โดยมีรายละเอียด ดังตารางต่อไปนี้ 

ประเภทยาลรายละเอียดยาแต่ละประเภท
ยาน้ำละลายเสมหะรูปแบบยา คือ ยาน้ำ สามารถทานได้ง่าย จะนิยมใช้กับเด็กหรือผู้ที่มีอาการไอมีเสมหะร่วมด้วย 
เม็ดฟู่ละลายเสมหะ รูปแบบยา คือ ยาเม็ด แต่วิธีการทานต้องนำเม็ดยาละลายเสมหะใส่ลงในน้ำดื่มสะอาด รอจนยาละลายหมดจึงจะดื่มได้ จะนิยมใช้กับผู้ที่มีอาการไอร่วมกับเสมหะที่อยู่ในหลอดลม
ยาพ่นละลายเสมหะรูปแบบยา คือ ยาพ่น จะต้องมีเครื่องพ่นยา วิธีการใช้ยาประเภทนี้ ส่วนใหญ่ใช้ในสถานพยาบาล มีเจ้าหน้าที่เฉพาะทางดูแล เพราะต้องนำเครื่องพ่นครอบบริเวณปาก จมูก ให้ยาเข้าไปทางปากกับจมูกโดยตรง จะนิยมใช้กับเด็กเล็กและผู้สูงวัย
ยาสมุนไพรละลายเสมหะ รูปแบบยา คือ การนำสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยลดความเหนียวหนืดของเสมหะมารักษา ซึ่งไม่มีตำรับยาที่ชัดเจน และไม่นิยมทางแพทย์แผนปัจจุบัน 

โดยยาละลายเสมหะแต่ละชนิดมีกลไกการทำงานเชิงลึกแตกต่างกัน แต่ผลลัพธ์ที่ได้ คือ การลดความเหนียวของเสมหะ ให้ร่างกายกำจัดได้ง่าย สำหรับผู้ที่มีเสมหะเยอะ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทานยาทุกครั้ง เพื่อให้ได้ยาที่เหมาะสมกับอาการมากที่สุด

ประโยชน์ของยาละลายเสมหะ 

การทานยาละลายเสมหะมีประโยชน์ในการรักษาอาการเสมหะมากเกินไป ซึ่งในบทความได้สืบค้น และพบข้อมูลประโยชน์ยาละลายที่น่าสนใจอื่น ๆ ดังนี้ 

  1. ช่วยละลายเสมหะที่ติดอยู่ในระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้การหายใจสะดวก และยังช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองคอที่เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ไอเรื้อรังได้ 
  2. ยาถอนพิษพาราเซตามอล ซึ่งแพทย์จะใช้สำหรับบุคคลที่ทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด แต่การใช้ถอนพิษ จะต้องควบคุมโดยแพทย์เท่านั้น ทานเองไม่ได้
  3. การใช้ชีวิตง่ายขึ้น หมดปัญหารำคาญใจที่ต้องกระแอมให้รู้สึกโล่งที่ลำคอตลอดเวลา จนกลายเป็นคนที่บุคคลไม่สุภาพไปได้ สร้างความมั่นใจให้ตนเองด้วย

ยาละลายเสมหะ ทานตอนไหน ได้ผลดีที่สุด 

การรับประทานยาละลายเสมหะที่ถูกต้อง ควรอ่านสลากกำกับตัวยาทุกครั้ง ให้ดูที่วันหมดอายุและปริมาณการทาน หรือยึดตามที่แพทย์สั่งจ่ายยามาก็ได้ และช่วงเวลาทานที่ได้ผลลัพธ์ในการรักษาดีที่สุด ให้ทานหลังมื้ออาหารเช้า กลางวัน และเย็น ไม่เกิน 30 นาที เพราะยาบางชนิดมีผลเสียต่อกระเพาะอาหาร ไม่ควรทานตอนท้องว่าง และที่สำคัญการทานยาละลายเสมหะไม่ควรต่อเนื่องนานเกิน 14 วัน 

ข้อควรระวัง/คำเตือนในการทานยาละลายเสมหะ 

ยาละลายเสมหะ ขึ้นชื่อว่า “ยา” ทุกชนิด ถูกวิจัยและคิดค้นขึ้นมาเพื่อยับยั้งอาการผิดปกติของร่างกาย ซึ่งในการทดลองแค่ใช้กลุ่มคนตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้ใช้คนทั้งโลก จึงมีโอกาสที่เกิดการแพ้ได้ รวมไปถึงบางคนใช้ยาไม่ถูกต้องก็มีปัญหาสุขภาพใหม่ได้ ดังนั้นควรทราบ 7 ข้อควรระวังในการใช้ยา ดังนี้ 

  1. ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เคยมีประวัติเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ และหอบหืด 
  2. เด็กแต่ละช่วงวัย ผู้ปกครองไม่สามารถซื้อยามาให้เด็กทานเองได้ ต้องได้รับแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น 
  3. ชนิดยาแอมบรอกซอล (Ambroxol) จะใช้ได้กับเด็กอายุที่ต่ำกว่า 2 ปีก็ต่อเมื่อแพทย์สั่งจ่ายยามา
  4. เด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี ใช้ยาชนิดบรอมเฮกซีน (Bromhexine) ได้ก็ต่อเมื่อแพทย์สั่งจ่ายยามาเช่นกัน
  5. ยาคาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine) ไม่แนะนำให้ใช้กับเด็กที่ต่ำกว่า 15 ปี เพราะความปลอดภัยยังไม่มีหลักฐานหรืองานวิจัยชัดเจน
  6. หญิงให้นมบุตร และหญิงมีครรภ์ไม่ว่าจะอายุครรภ์กี่เท่าใดต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ   
  7. ไม่ควรทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลาเกิน 14 วัน 

ทานยาละลายเสมหะไปแล้ว อาการแย่ลงทำยังไง

เมื่อทานยาตามที่แพทย์หรือเภสัชกรจ่ายมาครบแล้ว แต่อาการทรงตัวไม่ดีขึ้น หรือบางรายแย่ลง แนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์และทำการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยที่มีเสมหะเยอะ แพทย์จะใช้เครื่องดูดเสมหะช่วยในการรักษา ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ตรงจุด ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที และเห็นผลลัพธ์ที่ดีทันที หลังเข้ารับการรักษา

ผลข้างเคียงจากยา

ถึงแม้ว่าตัวยาจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงอยู่สำหรับบางคนที่ใช้ยาไม่ถูกต้อง ใช้ยาเกินขนาด และแพ้ยา โดยมีผลข้างเคียงต่อไปนี้ 

  1. วิงเวียนและปวดศีรษะ 
  2. ง่วงซึมตลอดทุกวัน 
  3. มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย 
  4. หายใจไม่โล่ง ติดขัด 
  5. ใบหน้าและปากบวมผิดปกติ
  6. ปวดท้องรุนแรง 
  7. คลื่นไส้และอาเจียนบ่อย 

อาการแพ้ 

หากทานยาละลายเสมหะแล้ว ร่างกายเกิดการต่อต้านหรือที่เรียกว่า “แพ้ยา” สิ่งที่ร่างกายแสดงอาการออกมา คือ รู้สึกหายใจไม่สะดวก หายใจติดขัด ไม่โล่ง วิงเวียนศีรษะ ตลอดไปจนถึงใบหน้า ปาก ลิ้น ลำคอ บวมแดง สำหรับบุคคลที่ทานยาละลายเสมหะไปแล้ว และมีอาการข้างต้น ให้สันนิษฐานว่าตนเองแพ้ยาและนำตัวยารีบไปพบแพทย์ทันที จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที 

สรุปแล้ว 

เสมหะ หนึ่งในสารชนิดหนึ่งที่ร่างกายมนุษย์ผลิตขึ้นมาเอง เพื่อช่วยให้ความชุ่มชื่นแก่ระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้การทำงานของระบบดังกล่าวดีขึ้น เมื่อระบบทางเดินหายใจเกิดความผิดปกติ เช่น ฝุ่นเยอะ น้ำหอมฉุน ฯลฯ ทำให้ทางเดินหายใจผิดปกติ ร่างกายก็จะผลิตเสมหะออกมาเยอะขึ้น จนทำให้รู้สึกไม่สบาย ระคายเคืองคอ หายใจไม่สะดวกและไอในที่สุด วิธีการรักษาจะใช้นิยมใช้ยาละลายเสมหะ เพราะทำปฏิกิริยากับเสมหะโดยตรงและลดอาการไอด้วย แต่การทานต้องศึกษาข้อมูลแล้วได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น จึงจะปลอดภัยต่อตนเองและคนในครอบครัว

ที่มา

https://www.verywellhealth.com/mucolytics-overview-914793

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top