สูง 150 ควรหนักเท่าไหร่ จึงจะมีรูปร่างที่ดี ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป?

เคยสงสัยหรือไม่? บางคนมีน้ำหนักเพียง 50 กิโลกรัม แต่ทำไมถึงรู้สึกว่าตัวเองมีรูปร่างที่ดูใหญ่หรือดูอ้วนกว่าคนที่มีน้ำหนัก 55 กิโลกรัม หรือในกรณีคนที่มีน้ำหนัก 55 กิโลกรัม แต่กลับมีรูปร่างที่ดูผอมแห้งกว่าคนที่มีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม นั่นเป็นเพราะว่าส่วนสูงกับน้ำหนักเป็นสิ่งที่ควรสัมพันธ์กัน แล้วถ้าหาก สูง 150 ควรหนักเท่าไหร่ จึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเหมาะสมกับร่างกายของเรา ส่วนสูงเท่าไหร่ควรมีน้ำหนักอยู่ที่เท่าไหร่กันแน่ให้ไม่ดูอ้วนหรือผอมจนเกินไป ให้มีรูปร่างที่สมส่วนตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน สามารถทำการวิเคราะห์ประเมินน้ำหนักที่เหมาะสมกับส่วนสูงของตัวเองได้จากเกณฑ์วัดต่างๆ ต่อไปนี้

สูง 150 ควรหนักเท่าไหร่ ใช้เกณฑ์วัด BMI แม่นยำที่สุด

ค่า BMI (Body mass index) หรือการวัดค่าดัชนีมวลกาย คือสูตรในการคำนวณค่ามาตรฐานของน้ำหนักที่ได้รับความนิยมและได้รับการยอมรับอย่างมากในสากล การวัดค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI สามารถที่จะทำการวิเคราะห์ได้ว่าร่างกายของผู้ที่ทำการวิเคราะห์นั้น มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์อะไร น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอมเกินไป) น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานปกติ (สมส่วน) น้ำหนักเกินเกณฑ์ (อ้วน) ซึ่งการวัดค่าดัชนีมวลกายเป็นการวัดเบื้องต้นที่นอกจากจะสามารถทำให้ผู้ที่ทำการประเมินทราบถึงเกณฑ์น้ำหนักตัวแล้ว การวัดค่าดัชนีมวลกายยังสามารถทำให้รู้ถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคที่ส่งผลจากน้ำหนักตัวได้ โดยสูตรการวิเคราะห์ค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI นั้น จะใช้สูตร น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง ผู้ที่ต้องการทำการประเมินค่าดัชนีมวลกาย สามารถประเมินผ่านทางเครื่องมือหรืออุปกรณ์การวัดค่า BMI ได้

ตัวอย่าง ค่าดัชนีมวลกาย BMI ในผู้หญิงอายุ 26 ที่มีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม และมีส่วนสูง 150 เซนติเมตร
  • หากได้ผลลัพธ์ต่ำกว่า 18.5 อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อยหรือผอมเกินไป
  • หากได้ผลลัพธ์อยู่ที่ 18.5-22.90 น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มาตรฐานและสมส่วน
  • หากได้ผลลัพธ์อยู่ที่ 23-24.90 น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์หรือท้วม
  • หากได้ผลลัพธ์อยู่ที่ 25 ขึ้นไป น้ำหนักตัวจะอยู่ในเกณฑ์ที่อ้วน

การประเมินน้ำหนักและรูปร่าง ด้วยการใช้สายวัดตัว

สายวัดตัวเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้ประเมินน้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับส่วนสูงได้ โดยการใช้สายวัดตัวเพื่อประเมินรูปร่างสามารถที่จะทำการวัดได้ด้วยตัวเองเช่นเดียวกันกับการวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI แต่การเลือกใช้สายวัดตัวในการประเมินรูปร่างนั้น จะแตกต่างจากการประเมิน BMI ตรงที่การใช้สายวัดตัวนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องใช้น้ำหนักตัวมาวิเคราะห์ร่วมแต่จะใช้รอบเอวมาเป็นตัวเลขในการวิเคราะห์ การประเมินน้ำหนักที่เหมาะสมกับส่วนสูงด้วยการใช้สายวัดตัว มีรูปแบบการวัดด้วยกัน 2 รูปแบบดังต่อไปนี้

  1. ทำการประเมินด้วยตัวเลขรอบเอว
  2. ทำการประเมินด้วยอัตราส่วนเอวต่อสะโพก
วัดรอบเอว
รูปภาพจาก Freepik

รอบเอวควรอยู่ที่เท่าไหร่จึงเรียกว่ามีรูปร่างที่สมส่วน?

ในการประเมินรูปร่างด้วยการวัดรอบเอวเป็นวิธีการประเมินโดยการวัดหน้าท้อง ในการวัดรอบเอวผู้ที่ทำการวัดจะต้องมีลักษณะการยืนอยู่ในท่าทางตัวตรง วิธีการวัดรอบเอวคือการใช้สายวัดในบริเวณที่เหนือสะโพกขึ้นไป สายวัดจะต้องอยู่ในลักษณะที่ตึงพอดีไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป และในระหว่างที่ทำการวัดรอบเอวผู้ถูกวัดต้องไม่เกร็งหรือแขม่วหน้าท้องเพื่อให้ผลลัพธ์ตัวเลขในการวัดตรงกับสัดส่วนจริงและเป็นการวัดรอบเอวที่ถูกต้อง

  • สำหรับผู้หญิงตัวเลขในการวัดรอบเอวไม่ควรเกิน 35 นิ้ว
  • สำหรับผู้ชายตัวเลขในการวัดรอบเอวไม่ควรเกิน 40 นิ้ว

อัตราส่วนเอวต่อสะโพก สูง 150 ควรหนักเท่าไหร่ จึงเรียกว่าสมส่วน?

วิธีประเมินสัดส่วนด้วยการวัดอัตราส่วนเอวต่อสะโพกจะแตกต่างไปจากการวัดสัดส่วนด้วยรอบเอว การเลือกวัดอัตราส่วนต่อสะโพกจำเป็นที่จะต้องใช้สูตรในการคำนวณเพื่อนำเอามาประเมินรูปร่าง โดยสูตรการคำนวณนี้จะใช้สัดส่วนรอบเอว (เซนติเมตร) ÷ สัดส่วนรอบสะโพก (เซนติเมตร) แล้วจึงนำเอาตัวเลขผลลัพธ์ที่ได้มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์สัดส่วนดังต่อไปนี้

  • สำหรับผู้หญิงผลลัพธ์อัตราส่วนเอวต่อสะโพกไม่ควรเกิน 0.85
  • สำหรับผู้ชายผลลัพธ์อัตราส่วนเอวต่อสะโพกไม่ควรเกิน 0.90

วิธีการควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมกับส่วนสูงทำได้อย่างไร?

การควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมกับส่วนสูงในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่เฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือผู้ที่มีรูปร่างอ้วนเพียงเท่านั้น หากอยากมีรูปร่างที่ดีผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือผู้ที่มีรูปร่างผอมเอง ก็สามารถที่จะควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีเพิ่มน้ำหนักเพื่อให้มีสัดส่วนที่ดีได้เช่นเดียวกัน เพราะผลลัพธ์ของการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีนอกจากจะทำให้เรามีรูปร่างที่ดียิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับตัวเราเองได้ ไม่ว่าจะใส่เสื้อผ้ารูปแบบไหนก็รู้สึกมั่นใจ และที่สำคัญที่สุดการควบคุมน้ำหนักยังมีผลต่อสุขภาพอีกด้วย

  • วิธีการควบคุมน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ การเพิ่มน้ำหนักเพื่อสร้างสัดส่วนที่ดีสามารถใช้วิธีการเพิ่มปริมาณอาหารในแต่ละวันให้มากขึ้นได้ จะเลือกเพิ่มปริมาณในแต่ละมื้อหรือเลือกเพิ่มมื้ออาหารระหว่างวันให้มีจำนวนมากขึ้น ถี่ขึ้น ก็ได้เช่นเดียวกัน แต่การเลือกรับประทานอาหารที่มากขึ้นเพื่อเพิ่มน้ำหนักในที่นี้จะต้องเป็นการเลือกรับประทานเฉพาะอาหารที่มีประโยชน์และไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เพิ่มการออกกำลังกายอย่างการ Weight training เพื่อสร้างมวลกล้ามเนื้อให้มีรูปร่างที่ดีได้
  • วิธีการควบคุมน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ การลดน้ำหนักเพื่อสร้างสัดส่วนที่ดีสิ่งที่สำคัญคือการเลือกรับประทานอาหาร เช่นเดียวกันกับผู้ที่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก การเลือกรับประทานอาหารเพื่อควบคุมหรือลดน้ำหนักจะต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เช่นเดียวกัน แต่ควรที่จะเลือกรับประทานให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเท่านั้น ไม่ควรเพิ่มปริมาณอาหารหรือเพิ่มมื้ออาหารระหว่างวัน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง ส่วนวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์นอกจากการออกกำลังกายในรูปแบบของ Weight training แล้ว ควรเลือกออกกำลังกายในรูปแบบ Cardio เพื่อเพิ่มการเบิร์นไขมันควบคู่ไปกับการสร้างมวลกล้ามเนื้อ

สิ่งที่สำคัญในการควบคุมน้ำหนัก ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มหรือลดน้ำหนักเพื่อให้มีรูปร่างที่ดี การรับประทานอาหารถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก การควบคุมอาหารสำคัญ 80% การออกกำลังกายสำคัญ 20% ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มหรือการลดน้ำหนัก การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อร่างกายจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เห็นผลมากที่สุด

สรุป

สำหรับผู้ที่มีส่วนสูง 150 เซนติเมตร หรือผู้ที่ต้องการจะทราบน้ำหนักที่เหมาะสมกับส่วนสูงของตัวเอง ไม่ว่าจะมีส่วนสูงเท่าไหร่สามารถเลือกใช้การประเมินน้ำหนักและการประเมินรูปร่างด้วยวิธีต่างๆ เหล่านี้ได้ การประเมินน้ำหนักและส่วนสูงด้วยค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI และการประเมินรูปร่างที่เหมาะสมด้วยการใช้สายวัดตัว เป็นวิธีการประเมินวิเคราะห์เบื้องต้นง่ายๆ ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง น้ำหนักตัวเป็นสิ่งที่มีผลอย่างมากต่อร่างกาย น้ำหนักไม่ใช่เพียงแค่มีผลต่อรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น น้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์และน้ำหนักตัวที่สูงกว่าเกณฑ์ต่างมีผลต่อสุขภาพ

ผู้ที่มีรูปร่างผอมเกินไปและผู้ที่มีรูปร่างอ้วนเกินไปล้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นน้ำหนักจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญอย่างมากเลยทีเดียว การเพิ่มหรือลดน้ำหนักให้มีรูปร่างที่สมส่วนและมีรูปร่างที่ดีนอกจากจะเสริมสร้างความมั่นใจให้กับตัวคุณได้แล้ว ยังช่วยให้หลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ที่มีผลมาจากน้ำหนักได้อีกด้วย หากต้องการเพิ่มหรือลดน้ำหนักและต้องการที่จะควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานปกติ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมได้ การมีรูปร่างที่ดีสามารถเริ่มต้นได้จากการวิเคราะห์และประเมินน้ำหนักที่เหมาะสมกับร่างกาย คุณเองก็สามารถเริ่มต้นเปลี่ยนเป็นคนใหม่ เสริมสร้างความมั่นใจไปพร้อมๆ กับการมีสุขภาพที่ดีได้ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป

Scroll to Top