ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) คืออะไร ประโยชน์ โทษ และข้อควรระวังก่อนใช้!

ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) หรือ นิโคตินาไมด์ (Nicotinamide) เป็นวิตามินบี 3 รูปแบบหนึ่งที่โครงสร้างเกิดจากการร่วมตัวของวงแหวนไพรินดีน (Pyridine) และหมู่คาร์บอกซิล (Carboxyl) ที่เกิดจากธรรมชาติ และสูตรทางเคมี คือ C6H5O3N ส่งผลให้ไนอะซินาไมด์ละลายในน้ำ หากนำอะซินาไมด์เข้าสู่ร่างกายจะช่วยบำรุงผิวให้นุ่มชุ่มชื้น กระชับรูขุมขน และช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกินภายในร่างกาย บำรุงการทำงานของสมอง กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท และประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้ไนอะซินาไมด์เป็นวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย หากร่างกายขาดไนอะซินาไมด์ส่งผลให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ความอยากอาหารลดลง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ผิวแห้ง เป็นต้น 

ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง

ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) เป็นวิตามินบี 3 รูปแบบหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้ แต่ปริมาณวิตามินบี 3 ที่ร่างกายสังเคราะห์ได้ ไม่เพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกาย เพราะร่างกายต้องการวิตามินบี 3 ปริมาณ 20 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ร่างกายสังเคราะห์ไนอะซินาไมด์จากทริปโตเฟน (Tryptophan) หรือโปรตีนภายในลำไส้ใหญ่เพียง 1 มิลลิกรัมต่อทริปโตเฟน 60 มิลลิกรัมเท่านั้น ทำให้ร่างกายต้องการไนอะซินาไมด์จากภายนอกร่างกายปริมาณมาก ซึ่งการนำไนอะซินาไมด์เข้าสู่ร่างกายแบ่งเป็น 2 รูปแบบดังนี้

  1. ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีไนอะซินาไมด์เป็นส่วนประกอบ ใช้สำหรับชโลมลงบนผิวบริเวณต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูผิวแห้งเสีย เสริมสร้างเกราะป้องกันผิว ผิวนุ่มชุ่มชื้น ลดเลือนริ้วรอยต่าง ๆ และบรรเทาอาการอักเสบของผิวหนังได้ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีไนอะซินาไมด์เป็นส่วนประกอบหลัก ได้แก่ Olay Regenerist Micro-Sculpting Cream, Olay Luminous Light Perfecting Essence และ The Ordinary Niacinamide เป็นต้น 
  2. อาหารเสริมบำรุงร่างกาย คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีไนอะซินาไมด์เป็นส่วนประกอบ ใช้สำหรับทานเข้าสู่ร่างกาย เพื่อบำรุงการทำงานของสมองและระบบประสาท กระตุ้นการไหลเวียนเลือกภายในร่างกาย บรรเทาอาการปวดหัวจากไมเกรน และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยผลิตภัณฑ์ที่มีไนอะซินาไมด์เป็นส่วยประกอบหลัก ได้แก่ Mega We Care Nat B, VISTRA B-Complex Plus Mineral, Alinamin EX Plus เป็นต้น

ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) แต่ละรูปแบบออกฤทธิ์อย่างไร

ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) เป็นวิตามินที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้ แต่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้ไนอะซินาไมด์เป็นส่วนประกอบหลักผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณและอาหารเสริมบำรุงร่างกาย โดยการออกฤทธิ์ของไนอะซินาไมด์ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและอาหารเสริมบำรุงสมองแตกแต่งกัน มีรายละเอียดดังนี้ 

  1. การออกฤทธิ์ของไนอะซินาไมด์ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เช่น เซรั่ม โลชั่น โทนเนอร์ เป็นต้น เมื่อไนอะซินาไมด์ซึมเข้าสู่ผิวหนัง ไนอะซินาไมด์เปลี่ยนแปลงเป็นโมเลกุลขนาดเล็กชื่อว่า NADPH ทำหน้าที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพพร้อมกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ ส่งผลผิวพรรณแข็งแรง นุ่มชุ่มชื้น สีผิวเรียบเนียนสม่ำเสมอ ลดโอกาสเกิดปัญหาผิวได้ เช่น ฝ้า กระ จุดด่างดำ สิว เป็นต้น 
  2. การออกฤทธิ์ของไนอะซินาไมด์ในอาหารเสริมบำรุงร่างกาย เช่น  Cerebos แบรนด์ซุปไก่สกัดผสมวิตามินบีคอมเพล็กซ์ และธาตุเหล็ก, DHC Vitamin B-MIX, Blackmores Multi B เป็นต้น เมื่อไนอะซินาไมด์เข้าสู่ร่างกายจะช่วยกระตุ้นการออกฤทธิ์ของคุณประโยชน์ของสารบำรุงร่างกายชนิดอื่น ๆ เช่น Retinoids หรือวิตามินเอ ทำหน้าที่บำรุงกระจกตา เมื่อทานวิตามินเอร่วมกับไนอะซินาไมด์ส่งผลให้วิตามินเอ ออกฤทธิ์บำรุงดวงตามีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น 

ประโยชน์ ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide)

ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ จึงยกตัวอย่างประโยชน์สำคัญของไนอะซินาไมด์ 10 ข้อ ต่อไปนี้ 

  1. เสริมเกราะป้องกันผิว ปกป้องผิวจากสารอนุมูลอิสระต่าง ๆ 
  2. ช่วยลดเลือนจุดด่างดำ ฝ้า กระ และรอยดำรอยแดงจากสิว
  3. ลดเลือนริ้วรอยร่องลึกบริเวณต่าง ๆ บนใบหน้า 
  4. บรรเทาอาการอักเสบของผิวหนัง ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย P.acne (Propionibacterium acnes) ลดโอกาสการเกิดสิวใหม่อย่างอ่อนโยนมากกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิวและต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย P.acne ชนิดอื่น ๆ เช่น Benzoyl Peroxide, Retinoids เป็นต้น
  5. ยับยั้งการทำงานของต่อมไขมันบนใบหน้า อีกทั้งยังช่วยลดความมันบนใบหน้า กำจัดต้นตอการเกิดสิวอุดตัน
  6. กระชับรูขุมขน ช่วยเพิ่มความเรียบเนียนบนใบหน้า 
  7. เพิ่มความชุ่มชิ้นบนใบหน้า ปลอบประโลมผิวแห้งเสียและอักเสบได้อย่างอ่อนโยน 
  8. ป้องกันและซ่อมแซมเซลล์ผิวหนังที่ถูกรังสียูวีจากแสงแดดทำลาย ลดโอกาสการเกิดมะเร็งผิวหนัง
  9. ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาทให้แข็งแรง ลดโอกาสเกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท เช่น โรคความจำเสื่อม โรคหลอดเลือดในสมองอุดตัน เป็นต้น 
  10. ปรับสมดุลของฮอร์โมนภายในร่างกาย กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ต้านเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น โรคไข้หวัด โรคโลหิตจาง โรคเลือดแข็งตัวช้า เป็นต้น 

ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) ควรใช้กี่เปอร์เซ็นต์

การใช้ผลิตภัณฑ์และอาหารเสริมบำรุงร่างกายที่มีไนอะซินาไมด์เป็นส่วนประกอบ หากใช้ปริมาณมากกว่าความต้องการของร่างกาย จะส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรง เช่น ปวดข้อต่อกระดูก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังเกิดการอักเสบ เป็นต้น ดังนั้นการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณไม่ควรเกิน 5% ต่อวัน และการรับประทานอาหารเสริมที่มีไนอะซินาไมด์เป็นส่วนประกอบไม่ควรเกิน 20 มิลลิกรัมต่อวัน จะส่งผลให้ไนอะซินาไมด์ช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพผิวและสุขภาพร่างกายได้มีประสิทธิภาพที่สุด

วิธีการใช้ ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) ถูกวิธี

เนื่องจากไนอะซินาไมด์อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและอาหารเสริมบำรุงร่างกาย ส่งผลให้วิธีการใช้ไนอะซินาไมด์แบ่งตามรูปแบบได้ดังนี้ 

  1. วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีไนอะซินาไมด์ 
  • เลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีไนอะซินาไมด์ให้เหมาะสมกับปัญหาผิว 
  • อ่านสลากผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 
  • ไม่ควรใช้ไนอะซินาไมด์เกิน 5% ต่อวัน 
  • สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตรต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง 
  • หลังใช้ผลิตภัณฑ์ หากมีอาการระคายเคือง ผื่นแดง ผิวหนังอักเสบ ควรหยุดใช้ผลิตภัณฑ์และพบแพทย์ผิวหนัง 
  1. วิธีการใช้อาหารเสริมบำรุงร่างกายที่มีไนอะซินาไมด์
  • เลือกอาหารเสริมบำรุงร่างกายที่มีไนอะซินาไมด์ให้เหมาะสมกับร่างกาย 
  • อ่านสลากอาหารเสริมบำรุงร่างกายอย่างละเอียดและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด 
  • ปริมาณไนอะซินาไมด์ที่ทานในแต่ละวันไม่ควรเกิน 20 มิลลิกรัม 
  • หลังทานอาหารเสริม หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ และอาการผิดปกติของร่างกายอื่น ๆ ควรหยุดทานอาหารเสริมและพบแพทย์ทันที 

ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) ห้ามใช้ร่วมกับอะไร

การใช้ผลิตภัณฑ์และอาหารเสริมที่มีไนอะซินาไมด์ มีข้อควรระวังในการใช้ดังต่อไปนี้ 

  1. อาหารเสริมที่มีไนอะซินาไมด์ห้ามทานร่วมกับนม เนื่องจากนมมีปริมาณแคลเซียมสูง ซึ่งแคลเซียมจะไปยับยั้งการดูดซึมของไนอะซินาไมด์ หากต้องการดื่มนม ควรดื่มหลังจากทานอาหารเสริมอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไป 
  2. ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีไนอะซินาไมด์ห้ามทาร่วมกับวิตามินซี เนื่องจากไนอะซินาไมด์จะทำให้วิตามินซีเปลี่ยนสีและประสิทธิภาพลดลง และอาจเกิดการระคายเคืองผิวได้ง่าย หากต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินซีควรใช้วันที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีไนอะซินาไมด์

ผลข้างเคียง ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) ผิดวิธี

การใช้ผลิตภัณฑ์และอาหารเสริมที่มีไนอะซินาไมด์ผิดวิธี ส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงต่อผิวหนังและร่างกายได้ ยกตัวอย่างดังนี้ 

  1. ระคายเคืองผิว ผิวหนังอักเสบ 
  2. วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน 
  3. ปวดบริเวณข้อต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ 
  4. มีอาการจุดเสียดแน่นท้อง และท้องเสียเฉียบพลันรุนแรง  
  5. นอนหลับไม่สนิท ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย 
  6. ประสิทธิภาพการทำงานสมองและระบบประสาทลดลง 
  7. การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ แย่ลง เช่น แขนขาชา และ เกิดตะคริว เป็นต้น 

สรุป

ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) หรือ นิโคตินาไมด์ (Nicotinamide) เป็นวิตามินบี 3 รูปแบบหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้จากโปรตีนภายในลำไส้ใหญ่ แต่ปริมาณไนอะซินาไมด์ที่สังเคราะห์นั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้การนำไนอะซินาไมด์เข้าสู่ร่างกายด้วยรูปแบบผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสามารถช่วยแก้ไขปัญหาผิวหนังได้ เช่น ลดเลือดริ้วรอย เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว ลดโอกาสการเกิดสิว เป็นต้น และรูปแบบอาหารเสริมบำรุงร่างกาย เช่น กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ลดระดับคอเลสเตอรอล เผาพลาญพลังงาน เป็นต้น โดยการนำไนอะซินาไมด์เข้าสู่ร่างกายทุกรูปแบบควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด ป้องกันการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงผิวหนังระคายเคือง อักเสบ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสียเฉียบพลันได้

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top